โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

บาทแข็งโป๊กสวนทางเศรษฐกิจ ครึ่งแรกปี 68 แข็งค่าแล้ว 4.7%

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว

แม้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัว แต่การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทกลับอยู่ในทิศทาง “แข็งค่า” โดยผ่านมาครึ่งปี 2568 เงินบาทแข็งค่าแล้ว 4.7% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ (เทียบจาก 32.55 บาทต่อดอลลาร์กับสิ้นปีที่แล้วอยู่ที่ 34.10 บาทต่อดอลลาร์)

ทั้งนี้ปัจจัยที่กดดันให้เงินบาทแข็งค่ามาจาก 7 ปัจจัยหลักได้แก่

  • เงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่า ซึ่งล่าสุดอ่อนค่ากว่า 10%
  • ความเชื่อมโยงราคาทองคำโลกที่ปรับขึ้นลงส่งผลต่อทิศทางค่าเงินบาท
  • ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายภาษีของสหรัฐ
  • ปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์
  • เงินเฟ้อไทยอยู่ในระดับต่ำ
  • การเมืองในประเทศกดดันการใช้จ่าย
  • การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยล่าช้า

นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจว่า เงินบาทที่“แข็งค่า”ในปีนี้ มาจากหลายปัจจัย แต่หลักๆคือ เงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง ทำให้สกุลเงินหลักและสกุลเงินในภูมิภาคเอเซียแข็งค่าขึ้น แต่เงินบาทยังมีปัจจัยความเชื่อมโยงกับราคาทองคำโลกเข้ามาผสมโรงด้วย

นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ส่งผลให้การแข็งค่าของเงินบาทอยู่ในอันดับ 5 รองจากสกุลเงินวอนที่แข็งค่า 9.1% เยน 9.0% สิงคโปร์ดอลลาร์ 7.2% ริงกิต 6.1% และเงินบาท 4.5%(เทียบจากสิ้นปีที่แล้ว 34.10บาทต่อดอลลาร์ และณวันที่ 30มิ.ย.อยู่ที่ 32.55) เพราะขณะที่ราคาทองคำในตลาดโลกปรับขึ้นและถูกขายทำกำไร จึงกดดันเงินบาทให้อ่อนค่าลงในบางช่วง

นอกจากนั้น แนวโน้มเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวอ่อนแอ ประกอบกับผลกระทบมาตรการภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ซึ่งมีความไม่แน่นอน บวกปัจจัยการเมืองภายในประเทศที่มีนัยยะต่อการใช้จ่ายในประเทศ และจากสัญญาณเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า

ส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ปรับลดดอกเบี้ยในครึ่งแรกของปีนี้ ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ยังไม่ปรับทิศอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

ส่วนเงินบาทในช่วงครึ่งปีหลัง มีทิศทางการเคลื่อนไหวเป็น sideway โดยตลาดอาจรับรู้ปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทแล้ว แต่ยังคงขึ้นกับแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ซึ่งธนาคารกสิกรไทยประเมินว่า ปลายปีนี้เงินบาทจะกลับไปเคลื่อนไหวที่ 33.70 บาทต่อดอลลาร์ จากปัจจุบันอยู่ที่ 32.55 บาทต่อดอลลาร์

สำหรับในระยะใกล้ ค่าเงินบาทอาจยังแข็งค่าอีกเล็กน้อย ตามทิศทางเงินดอลลาร์ที่มีแนวโน้มจะอ่อนค่าจากปัจจัยกดดันอีกหลากหลาย โดยเฉพาะความไม่แน่นอนจากมาตรการภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ที่จะกดดันเศรษฐกิจของสหรัฐ กดดันดอลลลาร์หรือเฟดลดดอกเบี้ย

อย่างไรก็ตาม เมื่อปัจจัยเหล่านั้นเริ่มย่อยไปหมดแล้วช่วงท้ายปี ตลาดจะโฟกัสสัญญาณของเศรษฐกิจไทย หากเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวชัด อาจทำให้ค่าเงินบาทพลิกอ่อนค่าได้

นางสาวกาญจนากล่าวต่อว่า การแข็งค่าของเงินบาทในปีนี้ทำให้ต้นทุนในการป้องกันความเสี่ยงของผู้ประกอบการมีเพิ่มขึ้น เห็นได้จากผู้ส่งออกที่มีรายได้หรือรายรับในช่วง 50-200 ล้านบาทขายดอลลาร์ล่วงหน้าสัญญา 6 เดือน (Forword Point) ในช่วงครึ่งแรกปีนี้ ขยับเพิ่มเป็นติดลบ 0.47 สตางค์ จากเดิมเมื่อปลายปีที่แล้วค่าขายดอลลารล่วงหน้า ติดลบอยู่ที่ประมาณ 0.42สตางค์ สะท้อนต้นทุนในการทำฟอร์เวิร์ดที่เพิ่มขึ้น แต่ผู้ประกอบการควรทำ/ป้องกันความเสี่ยงท่ามกลางความผันผวน

สำหรับการเคลื่อนย้ายของเม็ดเงินลงทุนต่างชาติ (ฟันด์โฟลว์) ช่วงครึ่งแรกปีนี้ พบว่า เงินทุนไหลออกเฉพาะตลาดหุ้นไทย 78,808 ล้านบาท แต่ไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ 35,467 ล้านบาท สะท้อนภาพไม่หนักเท่ากับปีที่แล้วที่ฟันด์โฟลว์ไหลออกทั้งตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ 147,940 ล้านบาทและ 67,393 ล้านบาทตามลำดับ

ส่วนปี 2566 ฟันด์โฟลว์ไหลออกคู่ (ทั้งหุ้นและตราสารหนี้) 192,490 ล้านบาท และ 143,968 ล้านบาทตามลำดับ ส่วนทิศทางฟันด์ โฟลว์ในช่วงที่เหลือยังขึ้นกับภาวะ เศรษฐกิจไทย หากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยล่าช้า อาจทำให้ฟันด์โฟลว์ยังไม่กลับเข้ามาในไทย

สอดคล้องกับนายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทยกล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ผลจากเงินบาทที่แข็งค่านั้น เราเห็น Pain Point ของลูกค้าคือ ความผันผวน ยกตัวอย่างเดือนเม.ย. ตอนสหรัฐประกาศขึ้นภาษีนำเข้า/นโยบายการค้าแบบตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) ตอนนั้นเงินบาทเคลื่อนไหวจะไป 35 บาท/ดอลลาร์

ถัดมาวันเดียวเงินบาทเหลือ 34บาท/ดอลลาร์ หรือปรับตัวเกือบ 1 บาท หรือบางสัปดาห์ที่อ่อนค่าแล้วกลับมาแข็งค่า ซึ่งสะท้อนภาวะค่าความผันผวนที่สูงเฉลี่ยปีนี้ประมาณ 9.0% แต่ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา ค่าความผันผวนแค่ 5%นิดๆ เพราะฉะนั้นปีนี้ค่าความผันผวนสูงมาก สูงกว่าช่วงการระบาดของโควิด-19 อีก

ทั้งนี้ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน ดัชนีค่าเงินบาทแข็งค่า สอดคล้องกับสกุลเงินเพื่อนบ้านตามการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ แต่ถ้าเทียบ Real Effective Exchange Rate: REER อาจจะแข็งค่าไม่มาก เพราะอัตราเงินเฟ้อไทยค่อนข้างต่ำ อีกทั้งเมื่อราคาทองคำปรับขึ้น มีการขายทองคำทำกำไร ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าไม่มาก ประกอบกับฟันด์โฟลว์ที่ขายออกจากตลาดหุ้นไทย 78,000 ล้านบาท

“เราบอกลูกค้าว่า สิ่งที่น่ากังวลที่สุดปีนี้คือ ความผันผวน ดีที่สุดต้องมีกลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลายมากขึ้น เช่น ควรทำ Options มีรายรับเป็นสกุลเงินท้องถิ่นของประเทศคู่ค้า เช่น หยวนบาทปีนี้ความผันผวนเฉลี่ยอยู่ที่ 6.5% ซึ่งต่ำกว่าดอลลาร์บาท ถ้าความเสี่ยงสูงก็จะบริหารยาก จึงควรเลือกค่าเงินที่ผันผวนไม่สูง”

ส่วนช่วงที่เหลือทิศทางของเงินบาท หากนโยบายการค้าไม่รุนแรง ธปท.ปรับลดดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งจากการประชุมที่เหลืออีก 3 ครั้งในปีนี้และเป็นช่วงที่เหลือเฟด น่าจะปรับลดดอกเบี้ย ขณะที่ธนาคารกลางหลักๆจบการลดดอกเบี้ยแล้ว จังหวะนั้นมองว่า เงินดอลลาร์จะอ่อนค่าลงได้อีก ส่วนเงินบาทอาจจะแข็งค่าได้ไม่มาก เพราะปัจจัยพื้นฐานแย่ โดยคาดว่าค่าเงินบาทถึงสิ้นปีจะอยู่ที่ 32 บาทต่อดอลลาร์

สำหรับปัจจัยบวกตลาดบอนด์ช่วงที่เหลือนั้น ขึ้นอยู่กับทิศทางของเศรษฐกิจไทยและทิศทางของดอกเบี้ยนโยบาย คือ เมื่อสัญญาณเศรษฐกิจไทยชะลอโอกาสปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมของธปท.ยังมีอยู่ โดยตลาดมองธปท. มีโอกาสจะลดดอกเบี้ยลงเหลือเกือบ 1% และแนวโน้มที่รัฐบาลจะกู้เงินก็ไม่ได้มีอะไรมาก จึงไม่มีความกังวลต่อปริมาณการออกบอนด์หรือไม่เห็นภาพความเสี่ยงที่จะลดอันดับเครดิต ขณะที่ปัจจัยลบไม่มาก

"ตอนนี้ตลาดมองแบงก์ชาติมีโอกาสลดดอกเบี้ยเหลือเกือบ 1.0% เมื่อเขาเห็นสัญญาณเศรษฐกิจไทยชะลอลง เริ่มเห็นแบงก์ชาติลดดอกเบี้ย กลยุทธ์ที่ดีเวลาดอกเบี้ยขาลงมักจะเน้นถือบอนด์ระยะยาว แม้การซื้อสุทธิไม่เยอะในครึ่งหลังของปี"

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มน่าจะมีทยอยเข้าซื้อและขายทำกำไรสลับกันถ้าแบงก์ชาติลดดอกเบี้ยตามคาด ที่ผ่านมาในเวลา 5เดือน ไม่ถึงปีนักลงทุนในบอนด์ได้รับผลตอบแทนรวมประมาณ 12%คือ เป็นกำไรจากราคาเกือบ 7%และการแข็งค่าของเงินบาทด้วย

ด้านราคาสินทรัพย์ช่วงที่เหลือยังผันผวน หลักใหญ่คือ ปัจจัยสงครามทางการค้า ตราบใดที่ยังไม่เห็นข้อตกลงทางการค้าซึ่งไม่สามารถปฎิเสธได้ว่า ยังมีความเสี่ยงเรื่องการปรับขึ้นภาษีนำเข้าแบบตอบโต้ของสหรัฐอยู่ เพราะอย่างน้อยอาจจะเท่าสถานการณ์ปัจจุบันหรือครึ่งหนึ่งของ Reciprocal Tariffs ที่ประกาศไว้

หน้า 1 หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 4,110 วันที่ 3 - 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

EA มั่นใจย่นระยะจ่ายนี้เหลือ 5 ปี ผู้ถือหุ้นกู้พอใจ ปลดเครื่องหมาย DNP-CB ทันที

34 นาทีที่แล้ว

ซีพีผนึกพันธมิตร ฉลอง 50 ปีมิตรภาพไทย-จีน จัดมหาอุปรากรงิ๋วแต้จิ๋วระดับโลก 7 วันเต็ม ไม่ซ้ำ

38 นาทีที่แล้ว

Whoscall ปล่อยฟีเจอร์“SOS ช่วยเหยื่อถูกหลอกโอนเงินช่วงวิกฤต

49 นาทีที่แล้ว

เที่ยวไทยคนละครึ่ง 2568 รมว.สรวงศ์ ชี้ททท.ประเมินจะปิดระบบลงทะเบียนชั่วคราวหรือไม่

59 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่นๆ

ทำไม “กูลิโกะ” เลือกไม่ไปต่อในตลาดไอศกรีมไทย

การเงินธนาคาร

ผู้โดยสารภาครัฐและองค์กรสะสมเหรียญ Fun Coin กับเวียตเจ็ทไทยแลนด์ได้แล้ววันนี้ตั๋วเริ่มต้นเพียง 1,680 บาท

สยามรัฐ

ภัยไซเบอร์ลด แต่มูลค่าเสียหายพุ่ง พบมิจฯ ล็อกเป้าลวงเงิน สูญทรัพย์อื้อ

อีจัน

Microsoft หั่นต่อ! จ่อปลดพนักงานอีก 9,000 คน แม้รายได้-กำไรดี

Amarin TV

เปิดแล้ว! ทล.3395 สระแก้ว 4 เลนใหม่ เชื่อมอีสาน-ตะวันออก

อีจัน

TFMAMA บวก 1.56% ผนึก Flash–อนันดา ทุ่ม 142 ลบ. ลงทุน CHAGEE ไทย

TNN ช่อง16

'คลัง'รายได้ 8 เดือน วูบ 1.2 หมื่นล้าน ภาษีรถยนต์,นิติบุคคล,นำเข้า ต่ำเป้า

TNN ช่อง16

ดร.รุ่ง พร้อมประสานนโยบาย “ธปท.-คลัง” ลดขัดแย้ง

การเงินธนาคาร

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...