ฟิลลิป แนะปรับกลยุทธ์ลงทุน รับผู้ว่าธปท.คนใหม่
หุ้นวิชั่น
อัพเดต 22 กรกฎาคม 2568 เวลา 20.16 น. • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • HoonVision | หุ้นวิชั่น - หุ้น ข่าวหุ้น หุ้นไทยวันนี้ หุ้นวันนี้ หุ้นเด่น วิเคราะห์หุ้น ธุรกิจ การเงิน เศรษฐกิจ การลงทุน ดัชนีราคาหุ้นหุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.ฟิลลิปฯ ระบุ คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ ว่าที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่ คือ นายวิทัย รัตนากร ซึ่งเป็นผู้มีผลงานสำคัญในการขับเคลื่อนธนาคารออมสิน ในฐานะ ผู้อำนวยการ ธนาคาร โดยเน้นการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอัตราต่ำ และ ผลักดันความช่วยเหลือธุรธุรกิจ SMEs ในระบบมากขึ้น
"ธนาคารแห่งประเทศไทย ต้องเป็นอิสระ แต่ไม่โดดเดี่ยว" คือ วิสัยทัศน์ที่คุณวิทัย แสดงซึ่งบทบาทจะเปลี่ยนไปจากในอดีตที่เน้นความเป็นอิสระเพื่อให้มีความเป็นกลางในการดำเนินนโยบายการเงิน อย่างไรก็ดีธปท. ยังต้องดำรงไว้ซึ่งเป้าหมายในระยะยาว และ มุ่งมั่นแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างที่ไม่สามารถแก้ไขด้วยนโยบายทางการเงินเพียง อย่างเดียว โดยเน้นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ กระทรวงการคลัง BOI กระทรวงพาณิชย์ และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
มุมมองต่อท่าทีในอนาคตของธปท.
อิสระที่ไม่โดดเดี่ยว กลายเป็นโจทย์ใหม่ที่น่าสนใจ เนื่องจากธปท.โดยปกติแล้วมีหน้าที่ หลัก คือ รักษาเสถียรภาพทางการเงิน กำกับดูแลสถาบันการเงิน รักษาเสถียรภาพ อัตราแลกเปลี่ยน และ เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน/คลังให้รัฐบาล ซึ่งการประกาศความต้องการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานต่างๆ เป็นหนึ่งใน Big Move สวนทางกับท่าที ของ ธปท.ในอดีต เนื่องจากโดยปกติ นโยบายการเงิน และ การคลังมักมีไทม์ไลน์ที่ต่างกัน โดยนโยบายการเงินจะเน้นเสถียรภาพในระยะยาวเป็นหลัก ขณะที่นโยบายการ คลังจะเน้นสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจใบระยะสั้น และ กลาง ควบคู่กับการวางแผน ระยะยาว การมองไทม์ไลน์ให้สอดคล้องกันมากขึ้นนับเป็นมิติใหม่ของทิศทางการ ว่าที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ขับเคลื่อนนโยบายการเงิน
ทางฝ่ายมองการส่งสัญญาณว่าธปท.จะดำเนินงานร่วนร่วมกับกระกรวงการคลัง เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะทำให้เห็นภาพนโยบายการเงินในเชิงผ่อนคลายมากขึ้น เนื่องจากโจทย์ใหญ่ของกระกรวงการคลังในปัจจุบัน คือ เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวที่ช้าหลัง COVID-19 โดยถูกซ้ำเติมจากประเด็นกำแพงภาษี และ การท่องเกี่ยวชะลอตัว ทำให้อาจเห็นนโยบายแบบสอดคล้องมากขึ้น คือ สองแรงแข็งขันช่วยกันผลักดันเศรษฐกิจ ทั้งการเงิน/การคลัง ทำให้อาจคาดหวังการเบนทิศทางนโยบายการเงินไปในเชิงผ่อนคลาย เนื่องจากหากต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดการะให้ระบบเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่รมต.กระทรวงการคลังเรียกร้องมาโดยตลอด จึงเป็นไปได้ที่อาจเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยถึง 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ทำให้ดอกเบี้ยปลายปีอาจลดลงไปที่ระดับ 1.25%
กลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดรับประโยชน์
1) กลุ่มการเงิน: หนึ่งในหุ้นที่รับประโยชน์โดยตรงหากดอกเบี้ยปรับตัวลง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนเงินทุนที่ยืนมาปล่อยกู้ เป็นบวกต่อกำไรสุทธิของบริษัท ทางฝ่ายมอง MTC และ KTC เป็น Top Pick
2) กลุ่มอสังหา: อีกอุตสาหกรรมที่รับประโยชน์จากการที่ต้นทุนการกู้ยืมเพื่ออสังหา ซึ่งมีแนวโน้มปรับลดลดลงตามทิศทาง ดอกเบี้ยนโยบาย ช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้อสังหาริมทรัพย์มองหุ้น Top Pick เป็น AP SPALI และ SIRI
3) กลุ่มที่มีหนี้สูง: การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจะช่วยลดต้นทุนให้บริษัทที่มีปริมาณหนี้สูง ผ่านการลดลงของดอกเบี้ย Floating Debt และ เปิดโอกาสในการทำ Refinancing ของบริษัท ปัจจุบันหุ้นที่มีหนี้สูง ได้แก่BTS BEM CRC BGRIM GULF และ TRUE
4) หุ้นบาทอ่อน/ส่งออกสินค้าและบริการ: ทิศทางดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับลดลง จะลดผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนในประเทศนั้นๆ และมีโอกาสกดดันค่าเงินบาทให้อ่อนค่าลง เปิดโอกาสให้หุ้นที่พึ่งพิงการส่งออกจะได้รับประโยชน์จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่า ทางฝ่ายมอง HANA DELTA KCE AOT CENTEL และ MINT
5) นิคมอุตสาหกรรม : ดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มลดลง จะช่วยลดต้นทุนการเงินของภาคธุรกิจ เป็นบวกต่อภาพการลงทุนในระยะถัดไป ทางฝ้ายมอง WHA AMATA และ WHAIR เป็น Top Pick