โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เปิดหลักฐานความเหลื่อมล้ำ “คนจนเมือง”

เดลินิวส์

อัพเดต 14 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
ถอดรหัสครึ่งทศวรรษ “คนจนเมือง” งานเท่าหรือเทียมฯ แรงกระเพื่อมที่สร้างการมีส่วนร่วม ชวนตั้งคำถาม นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ทลายจักรวาลความจนซับซ้อน ขยายผลสู่การร่วมขับเคลื่อนผลักดันนโยบายแก้ไขเชิงโครงสร้าง

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือไทยพีบีเอส โดยศูนย์สื่อสารวาระทางสังคมและนโยบายสาธารณะ หรือ The Active ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) มูลนิธิเพื่อคนไทย และภาคีเครือข่าย จัดงาน "เท่าหรือเทียม: เส้นทางความเหลื่อมล้ำ คนจนเมือง" ระหว่างวันที่ 15 - 27 ก.ค. 2568 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) เพื่อสะท้อนเรื่องราวความจน ในโอกาสครึ่งทศวรรษ สารคดี คนจนเมือง สู่ข้อเสนอการแก้จนอย่างยั่งยืน โดยมีตัวแทนจากภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม องค์กรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาความจน และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมจำนวนมาก

ณาตยา แวววีรคุปต์ ผู้อำนวยการ ศูนย์สื่อสารวาระทางสังคมและนโยบายสาธารณะ (The Active) ไทยพีบีเอส กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดงานว่าต้องการนำเสนอและสื่อสารบทสรุปที่ค้นพบจากสารคดีคนจนเมืองในช่วงครึ่งทศวรรษที่ผ่านมา เพื่อใช้เป็นข้อมูลแก้ไขปัญหาความจนและความเหลื่อมล้ำ ซึ่งตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา The Active ได้ผลิตและเผยแพร่สารคดีชุด “คนจนเมือง” รวมถึงเนื้อหาอื่น ๆที่เกี่ยวข้องกับประเด็นความเหลื่อมล้ำ ความยากจน และความเปราะบางของชีวิต ผ่านช่องทางหลากหลาย ทั้งรูปแบบรายการโทรทัศน์และสื่อออนไลน์ของ The Active และ Policy Watch รวมถึงช่องทางอื่น ๆ ของ Thai PBS จนสามารถสร้างการรับรู้ และนำไปสู่ความเข้าใจ ว่าความจนไม่ได้เป็นปัญหาในระดับปัจเจกเท่านั้น

แต่มีปัญหาเชิงโครงสร้างที่กดทับอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเข้าถึงทรัพยากรที่ดินทำกิน ความมั่นคงในที่อยู่อาศัย สิทธิสวัสดิการในอาชีพการงาน การขาดโอกาสทางการศึกษา ตลอดจนการเข้าถึงบริการสุขภาพ ฯลฯ จนทำให้ผู้คนจำนวนมากไม่สามารถก้าวพ้นจากความยากจนได้ กิจกรรมครั้งนี้ เป็นการนำเสนอการสื่อสารในรูปแบบนิทรรศการ เพื่อสร้างประสบการณ์ตรงให้กับประชาชนเกิดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ ช่วยปรับทัศนคติและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคนจนและความเหลื่อมล้ำ นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดพื้นที่ความร่วมมือของพลเมืองและภาคีเครือข่ายในการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในระดับโครงสร้างและนโยบาย

หลักฐานความเหลื่อมล้ำตอนหนึ่งว่า สารคดี “คนจนเมือง” ที่ผลิตและเผยแพร่ต่อเนื่องยาวนานตลอด 5 ปี 5 ซีซัน 27 ตอน ถือเป็น “หลักฐานของความเหลื่อมล้ำ” ที่ซุกซ่อนอยู่ในทุกมิติของเมือง สารคดีชุดนี้มีจุดเริ่มที่ไม่ได้เพียงแค่เล่าเรื่องเพื่อให้ “รู้” เท่านั้น แต่ต้องการให้ “รู้สึก” และ “เข้าใจ” ว่าความจนไม่ได้เป็นปัญหาในระดับปัจเจกเท่านั้น แต่มีปัญหาเชิงโครงสร้างที่กดทับอยู่ นำไปสู่การตั้งคำถาม เพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยยึดหลัก Human Interest > Public Interest > Solution & Public Policy ตั้งแต่เล่าเรื่องชีวิตให้เข้าถึงใจผู้ชม ไปจนถึงการเชื่อมโยงไปสู่นโยบายสาธารณะ

ผอ.ศูนย์สื่อสารวาระทางสังคม สะท้อนอีกว่า “คนจนไม่ใช่เพราะขี้เกียจ” เป็นประโยคสำคัญที่สะท้อนผ่านเรื่องราวของ “ตาไหม” ที่ติดกับดักความจน และการพัฒนาที่มักจะ “มาจากข้างบน” ที่ทั้งล่าช้าและไม่ทั่วถึง จนนำไปสู่ “เมืองขนมชั้น” ที่เหลื่อมล้ำด้านสิทธิและโอกาส

เสียงตอบรับของสังคมต่อสารคดีชุดนี้สะท้อนผ่านยอดเข้าชมกว่า 11.64 ล้านวิว และความคิดเห็นจากผู้ชมกว่า 11,000 ข้อความ ซึ่งส่วนใหญ่ 56.65 %แสดงความชื่นชม ให้กำลังใจ 8.64 % ติติง มีความเห็นเชิงลบ ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ และกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น การมาใช้ทรัพยากร สวัสดิการของประเทศไทย หรือเห็นว่า คนจนไม่ควรมีลูก และ 5.42.% เรียกร้องให้รัฐเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ เช่น การจัดสรรที่อยู่อาศัย การดูแลผู้สูงอายุ การปรับค่าแรงขั้นต่ำ การจัดรัฐสวัสดิการ และเก็บภาษีคนรวย นอกจากนี้ ยังเกิดผลลัพธ์ในเชิงรูปธรรม เช่น ภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมร่วมกันพัฒนาระบบ case manager สนับสนุนทุนและทรัพยากรเพื่อเสริมกลไกรัฐ รวมถึงการหารือร่วมระหว่างหน่วยงานรัฐเพื่อผลักดันเข้าสู่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2566-2570)

ด้าน ทองคูณ โพสลิต หรือตาไหม เจ้าของเรื่องราวในสารคดีคนจนเมือง ซีซัน 1 ตอน ซอกหลืบเยาวราช ที่มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งสะท้อนบนเวที "Poverty Talk" : ถอดรหัสความจน ว่า คนจนไม่ได้ขี้เกียจ แต่คนจนไม่มีงานจะทำ ถ้ามีงานทำ เขาจะไม่จน อยากฝากถึงผู้มีอำนาจ หางานให้คนจนทำ ให้เงินมันสั้น หางานจะได้กินยาว ๆ มีเงินเช่าบ้านอยู่ได้ คนจนเมือง จึงจะไม่จนมุมขอแค่มีงานทำ และขอให้เพื่อนคนจนอย่าหมดศรัทธาในศักดิ์ศรีของตัวเอง

ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “คนจนเมืองที่เปลี่ยนไปในสังคมเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลง” กล่าวว่า สารคดีชุดนี้คือความพยายามสำคัญในการกระตุกสังคมไทยให้เห็นถึงกรอบความคิดและโครงสร้างอำนาจที่กดทับคนจนเมือง ไม่ว่าจะเป็นการจัดลำดับชนชั้น การผลักปัญหาให้เป็นเรื่องของปัจเจก หรือการมองความจนผ่านแว่นแห่งความสงสาร

แม้สังคมไทยจะเต็มใจช่วยเหลือกัน แต่กลับติดอยู่ในกรอบวัฒนธรรม ศาสนา และระบบเศรษฐกิจที่ฝังรากลึก ทำให้ไม่สามารถขยับสู่ความเข้าใจเชิงโครงสร้างได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะต่อชีวิตคนจนเมืองที่เผชิญทั้งความเปราะบางทางเศรษฐกิจ และโอกาสในชีวิต

ศ.ดร.อรรถจักร์ กล่าวย้ำว่า สารคดี “คนจนเมือง” ไม่ได้มีเป้าหมายแค่เล่าเรื่องเพื่อให้เห็นใจ แต่ต้องการเปิดพื้นที่ให้เกิด “Social Empathy” หรือความเข้าใจต่อโครงสร้างที่ไม่เท่าเทียม ดังนั้น การสื่อสารในอนาคตควรมุ่งเผยให้เห็นจักรวาลของความจน กลไกตลาด และความซับซ้อนของระบบ มากกว่าจะเล่าชีวิตเฉพาะรายบุคคล

ดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ประธานกรรมการนโยบาย ไทยพีบีเอส กล่าวว่า ปัญหาความจนเมืองคือ จักรวาลซับซ้อน ที่ต้องเปิดเผย ไม่ใช่เพียงความขาดแคลนแต่เป็นผลของโครงสร้างกดทับหลากหลายมิติ ซึ่งประกอบด้วย 5 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1.ความไม่มั่นคงด้านที่อยู่อาศัย 2.งานและรายได้ที่ไม่มั่นคง 3.การเข้าไม่ถึงบริการพื้นฐาน 4.ความไร้ตัวตนทางกฎหมาย 5. ความเสี่ยงจากภัยพิบัติและสิ่งแวดล้อม

“การนำเสนอของสื่อควรคิดให้พ้นจากกรอบ “เวทนานิยม” และเล่าความจนให้เห็นในฐานะปัญหาเชิงโครงสร้าง โดยไม่ลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของคนจนเมือง ดังนั้น ต้องกล้าเล่า ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการใช้ชีวิตในเมือง ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบแผนของชนชั้นกลาง แต่มีสิทธิ์เลือกชีวิตของตนเอง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ ต้องเริ่มจากการเปลี่ยนวิธีคิดของสังคม สื่อจึงมีบทบาทสำคัญในการเปิดพื้นที่ใหม่ ๆ ที่นำไปสู่ความเข้าใจและการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง” ดร.นพ.โกมาตร ทิ้งท้าย

สำหรับงาน "เท่าหรือเทียม: เส้นทางความเหลื่อมล้ำ คนจนเมือง" ซึ่งเปิดพื้นที่ความร่วมมือของพลเมืองและภาคีเครือข่ายในการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในระดับโครงสร้างและนโยบาย โดยกิจกรรมตลอดเกือบ 2 สัปดาห์ ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่ 1. Exhibition “เส้นทางความเหลื่อมล้ำ” นิทรรศการแบบมีส่วนร่วมผ่านห้องจำลองชีวิต “เกิด – เรียน – งาน – เจ็บ – แก่ – ตาย” 2. Photo Gallery “หน้าตาความจน” ภาพถ่ายบุคคลต้นเรื่อง และบริบทสะท้อนความจนและความเหลื่อมล้ำ ในซีรีส์สารคดี “คนจนเมือง” ของ The Active เพื่อให้ผู้ชมเกิดความ “รู้สึก” ว่า คนเหล่านี้ก็คือเพื่อนที่อยู่ร่วมสังคมเดียวกันกับเรา 3. Data Wall “นโยบายแก้จน” เส้นทางนโยบายเพื่อแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา 4. Mini Forum ชมนิทรรศการและเปิดพื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยน การทำงาน ข้อเสนอการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจนร่วมกับองค์กรภาคี 5. ตลาดแก้จน รวมหลากหลายบูธจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาความยากจน และ 6. Policy Forum คนจนเมือง เส้นทางหลุดพ้นความเหลื่อมล้ำ พื้นที่ที่จะมาร่วมกันหา “ทางออก และ ไปต่อ” อย่างเป็นรูปธรรม

สามารถรับชมเนื้อหาจักรวาลความเหลื่อมล้ำ โดย The Active ได้ที่ https://theactive.thaipbs.or.th/topic/inequality

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

‘ออม กรณ์นภัส’ ถูกแขวนในกระทู้ดัง ตั้งคำถามแรง สวยพอเป็นนางเอกแล้วจริงเหรอ?

23 นาทีที่แล้ว

“เทวดาขมังเวทย์”เกจิดังวัย102ปี ลุยแจกเชี่ยนหมากลูกปืนสร้างขวัญกำลังใจแนวชายแดน

27 นาทีที่แล้ว

นักวิชาการ จี้ต่อมสำนึก สว.หยุดตั้งองค์กรอิสระ ระวัง เข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

29 นาทีที่แล้ว

ชาวบ้านพุเข็ม แห่ให้กำลังใจ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

39 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

อุทยานฯ เผยราคาขาย พ่อแม่พันธุ์ตัวเงินตัวทอง ชี้ตอบโจทย์ตลาดต่างประเทศมาก

News In Thailand

เร่งดึงนักท่องเที่ยว ‘แดนภารตะ’ เที่ยวไทย ชดเชยตลาดที่ชะลอตัว!

SpringNews

Naoris Protocol เตือน “ภัยควอนตัมใกล้จู่โจมบิทคอยน์” อาจเปลี่ยนบล็อกเชนโดยไม่ทันตั้งตัว

Manager Online

“พาณิชย์”โต้รองโฆษก ปชน. ยันมังคุดโลละ 100 มีจริง หลังลุยมาตรการเชิงรุก

Manager Online

กฟผ. รับมือพายุวิภา เข้มดูแลระบบไฟฟ้า-ปรับระบายน้ำเขื่อนสิริกิติ์ ลดผลกระทบประชาชน

สยามรัฐ

พาณิชย์ โต้ รองโฆษกปชน. มังคุด โลละ 100 จริง ชี้ ราคาจะต่ำกว่านี้ หากไม่ใช้มาตรการเชิงรุก

MATICHON ONLINE

ราคาน้ำมันวันที่ 24 ก.ค. 68 เบนซิน-แก๊สโซฮอล์ ลดลง 40 สตางค์ต่อลิตร

sanook.com

จีนระบายสินค้าใส่ไทย ปีเดียวนำเข้ากว่า 50% มากสุดใน 12 ปี | คุยกับบัญชา | 21 ก.ค. 68

BTimes

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...