โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

กัมพูชาแทรกแซงไทยหรือไม่ ? กรณี “ฮุน เซน” ปล่อยข้อมูลลับ บั่นทอนเสถียรภาพไทย

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 16 ชั่วโมงที่ผ่านมา
แฉคลิปเสียงนายกฯ ไลฟ์สดโจมตีตระกูล “ชินวัตร” กล่าวหาไทยต้นตอสแกมเมอร์ออนไลน์ จนสั่นสะเทือนการเมืองไทย พฤติกรรม “ฮุน เซน” แทรกแซงกิจการภายในระหว่างรัฐหรือไม่

ยังคงเป็นเรื่องร้อนแรงที่สุด ณ ตอนนี้ ของสังคมไทย กับความขัดแย้งระหว่างไทย และกัมพูชา โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ “ฮุน เซน” อดีตนายกฯ กัมพูชา สร้างความสั่นสะเทือนให้กับการเมืองไทย

นับตั้งแต่การปล่อยคลิปบทสนทนาระหว่างแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่เป็นต้นตอทำให้นายกรัฐมนตรีไทยต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว

คำถามสำคัญของเรื่องนี้คือ การที่ฮุน เซน ทำเช่นนี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่ โดยเฉพาะเรื่องการแทรกแซงกิจการภายใน ร่วมวิเคราะห์ไปกับ ผศ.ดร. ธนภัทร ชาตินักรบ อาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศ และศูนย์กฎหมายแพ่ง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กฎหมายระหว่างประเทศคืออะไร ?

สถาบันอนุญาโตตุลาการ หรือ THAC ระบุไว้ว่า กฎหมายระหว่างประเทศ คือ ชุดของกฎเกณฑ์และหลักการที่ควบคุมความสัมพันธ์และการปฏิบัติระหว่างรัฐอธิปไตย องค์กรระหว่างประเทศ และบุคคล

กฎหมายนี้ครอบคลุมประเด็นสำคัญต่าง ๆ มากมาย โดยมีองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ เช่น สหประชาชาติ (UN), องค์การการค้าโลก (WTO) หรือ อาเซียน ทำหน้าที่กำกับดูแลประเด็นกฎหมายเหล่านี้

แบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่

1. กฎหมายระหว่างประเททแผนกคดีเมือง

2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา

ความสำคัญของกฎหมายระหว่างประเทศมีไว้ เพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคง ช่วยจัดการข้อพิพาทระหว่างรัฐ, ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ, ปกป้องสิทธิมนุษยชน และส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน

“ฮุน เซน” ละเมิดหลักการแทรกแซงหรือไม่ ?

หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในระหว่างรัฐ ถือเป็นหนึ่งในหลักการสำคัญของกฎหมายระหว่างประเทศ เปรียบเสมือนเป็นจารีตประเพณีระหว่างรัฐที่ต้องเคารพอธิปไตยต่อกัน

แล้วสิ่งที่ “ฮุน เซน” กระทำ หรือ แสดงออกต่อประเทศไทย ถือว่า เป็นพฤติกรรมที่เข้าข่ายละเมิดหลักการดังกล่าวหรือไม่

ผศ.ดร. ธนภัทร ชาตินักรบ อาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศ และศูนย์กฎหมายแพ่ง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้คำตอบประเด็นนี้ไว้ว่า การกระทำบางส่วนของ “ฮุน เซน” จะเป็นการสร้างแรงกดดันทางการเมือง แต่ถ้อยแถลงบางคำ ก็เข้าข่ายเป็นการแทรกแซงกิจการภายใน เพราะว่า ส่งผลกระทบต่อการเมืองภายในประเทศ

โดยเฉพาะเมื่อแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถูกสั่งให้ยุติการปฏิบัติหน้าที่ จากกรณีคลิปเสียงสนทนากับ “ฮุน เซน”

“เข้าใจว่าตอนนี้ มันก็เริ่มมีการดําเนินการเกิดขึ้น ซึ่งเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า เหตุผลหนึ่ง ที่เป็นเหตุผลสําคัญ ในการที่นายกฯ ของประเทศไทย ถูกยุติในการปฏิบัติหน้าที่ อย่างน้อยก็ชั่วคราว เป็นผลมาจากการปล่อยคลิปเสียง” ผศ.ดร. ธนภัทร กล่าว

“ผมเข้าใจว่า เนื้อหาที่มีการสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ มาจากการไปพูดคุยหารือ หรือ เหมือนทางเราไปแลกเปลี่ยนผลประโยชน์อะไรบางอย่างกับทางกัมพูชา จริง ๆ ก็ต้องบอกว่า สิ่งที่ปล่อยมาจากทางกัมพูชาก็มีผลอยู่พอสมควร และก็อาจจะนําไปสู่ของการละเมิดของหลักการแทรกแซงกิจการภายในได้เช่นเดียวกันครับ”

ผศ.ดร. ธนภัทร กล่าวด้วยว่า อีกประเด็นหนึ่งที่เริ่มเข้าข่ายการแทรกแซง คือ การบอกว่า “รู้ตัวว่านายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนต่อไปเป็นใคร” ซึ่งคนไทยยังไม่รู้เลยว่า คนต่อไปเป็นใคร แต่กัมพูชาสามารถรู้ได้อย่างไร ซึ่งส่วนตัวมองว่า การกระทำนี้อาจจะเริ่มเข้าข่ายหลักการแทรกแซงกิจการภายใน

ทางด้าน นิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงว่า การแสดงความเห็นของผู้นำกัมพูชาในสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการกล่าวในลักษณะเรียกร้องและต้องการเห็นการเปลี่ยนผู้นำของรัฐบาลไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568

รัฐบาลไทยเห็นว่า เรื่องดังกล่าวเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของไทย ซึ่งขัดต่อกฎบัตรอาเซียน กฎบัตรสหประชาชาติ และกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง พร้อมขอเรียกร้องให้ผู้นำกัมพูชายุติการกระทำในลักษณะดังกล่าวโดยทันที เพราะทำให้มีผลเสียต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศอย่างร้ายแรง และขอให้กัมพูชาหันมาแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีระหว่างสองประเทศโดยเร็ว

หากละเมิดหลักการแทรกแซง ไทยจะต้องทำอย่างไร ?

คำถามต่อมา แล้วถ้าหาก “ฮุน เซน” กระทำสิ่งที่เข้าข่ายละเมิดหลักการแทรกแซงกิจการภายใน จะมีข้อกฎหมายระหว่างประเทศใดบ้าง ที่จะสามารถจัดการเรื่องนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุคล้ายกันกับประเทศอื่น

ผศ.ดร. ธนภัทร ได้ให้ความเห็นถึงประเด็นนี้ไว้ว่า ไทยสามารถทำได้อยู่ 2-3 ช่องทาง ซึ่งในด้านทางการทูต ไทยถือว่าทำได้ดี เพราะหลังจากมีการปล่อยคลิปเสียง วันต่อมา ทางกระทรวงการต่างประเทศก็ออกแถลงการณ์สู่สาธารณะ และยื่นหนังสือประท้วงต่อเอกอัครราชทูตกัมพูชา ประจำประเทศไทย แสดงถึงจุดยืนความไม่เห็นด้วยต่อสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน

“ถ้าเราจะพูดถึงด้านกฎหมาย เราอาจจะดูกรอบเล็กก่อน สมมติเราพูดถึงกรอบอาเซียน ในปัจจุบันมีหลักว่า ‘คุณห้ามแทรกแซงรัฐอื่นนะครับ’ แต่ว่าในส่วนของบทลงโทษ มันไม่ได้มีบทโดยตรงว่า ถ้าแทรกแซงรัฐอื่นจะมีผลในทางกฎหมายระหว่างประเทศอย่างไร”

“อาเซียนจะมีกลไกการระงับข้อพิพาทอันหนึ่ง เรียกว่า ASEAN Dispute Settlement Mechanism คือ กลไกการระงับข้อพิพาทของอาเซียน ซึ่งโดยหลักจะเน้นเรื่องการปรึกษาหารือ และการเจรจาระหว่างกันนะครับ ซึ่งก็อาจจะเป็นการเจรจาระหว่าง 2 รัฐว่า โอเค มีการกระทําแบบนี้เกิดขึ้น คุณจะมีการดําเนินการยังไงจะเยียวยายังไง หรือถ้าคุยกันไม่รู้เรื่อง ก็อาจจะขยับใหญ่ขึ้นมา เช่น คุยทวิภาคี แล้วไม่ได้ผล ก็ต้องขยับขึ้นไปเป็นกลไกระดับอาเซียน” ผศ.ดร. ธนภัทร กล่าว

ผศ.ดร. ธนภัทร กล่าวต่อไปว่า กลไกระดับอาเซียน อาจจะสามารถออกแนวปฏิบัติร่วมกัน เพื่อจัดการข้อขัดแย้งระหว่างชาติที่อยู่ในภูมิภาค ซึ่งจะช่วยส่งเสริมเรื่องการสื่อสารระหว่าง 2 ชาติ และป้องกันสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยช่วงหลัง ๆ คือ เรื่อง “สงครามข้อมูล” จากทางกัมพูชาที่ออกมาค่อนข้างมาก

“กัมพูชา” ปฏิเสธไม่ได้แทรกแซงกิจการภายในไทย

ถึงจะมีบางส่วนตั้งข้อสงสัยว่า สิ่งที่กัมพูชากระทำต่อไทย จนสร้างแรงกระเพื่อม และสั่นคลอนความมั่นคงของชาติ เป็นการแทรกแซงกิจการภายใน แต่ทางกัมพูชาออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว

ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ออกมาย้ำว่า กัมพูชาไม่เคยคิดแทรกแซงกิจการภายในของรัฐใด ๆ และชี้ว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น จะต้องได้รับการแก้ไขจากประชาชนภายในประเทศนั้น ๆ แทน หยุดกล่าวโทษกัมพูชา เพราะไม่เช่นนั้น ทางกัมพูชาจะถูกบังคับให้ต้องทำการตอบโต้

แม้ผู้นำกัมพูชาจะย้ำถึงการแก้ปัญหาโดยสันติ แต่กลับปฏิเสธการแก้ปัญหาด้วยกลไกทวิภาคี ซึ่งรวมถึงการประชุม JBC สมัยพิเศษที่จะเกิดขึ้นในเดือนกันยายนนี้ โดยมีไทยเป็นเจ้าภาพ

พร้อมย้ำว่าจะไม่มีการเจรจาใด ๆ จนกว่าไทยจะกลับมาเปิดด่านชายแดนตามปกติ ซึ่งเรื่องนี้ต้องติดตามกันต่อไป บนความตึงเครียดระหว่าง 2 ชาติที่เพิ่มขึ้น และดุเดือดพอ ๆ กับการเมืองไทย ณ ขณะนี้

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:

https://thac.or.th/th/posts/what-is-international-law

https://www.khmertimeskh.com/501710465/pm-cambodia-does-not-interfere-in-other-countries-internal-affairs/

https://www.khmertimeskh.com/501710217/no-border-talks-until-thailand-fully-reopens-checkpoints-says-pm/

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TNN ช่อง16

ส่องทิศทาง "ทองคำ" ครึ่งปีหลัง มีโอกาสทะลุ 56,000 บาทหรือไม่

25 นาทีที่แล้ว

ทองคำเริ่มฟื้น หลังดอลล่าร์อ่อนค่า ตลาดรอลุ้นภาษีสหรัฐฯ

33 นาทีที่แล้ว

"เพื่อนสนิท" กลับมาแล้ว “ดา เอ็นโดรฟิน” เผยลุคสุดจึ้งในโปสเตอร์คอนเสิร์ตใหญ่ครบรอบ 20 ปี

37 นาทีที่แล้ว

โลกร้อนเขย่ายอดเขาสูง! มงบล็องเสี่ยงแผ่นดินไหวพุ่ง 10,000 เท่า นักวิจัยชี้ภัยเงียบจากน้ำแข็งละลาย

53 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

"กูลิโกะ" ประกาศยุติจำหน่ายไอศกรีมในไทย ปิดตำนานความเย็นฉ่ำสิ้นปี 68

สยามรัฐ

กลาโหมสหรัฐชี้โครงการนิวเคลียร์อิหร่านถดถอยไป 2 ปี

สำนักข่าวไทย Online

สายกินเศร้า "กูลิโกะ" ประกาศยุติจำหน่าย "ไอศกรีม" ในประเทศไทย

TNews

ราคาทองคำวันนี้ 3 ก.ค. 68 เปิดตลาดครั้งที่ 1 ปรับร่วงอีก

TNews

เขย่า 3จุดรัวๆ 7 โมงเศษเช้าวันนี้ เมียนมา-เกาะสุมาตรา อินโดฯ และเกาะฟูจิ ญี่ปุ่นแรงสุด 5.6 ริกเตอร์

สยามรัฐ

อีก1กม.จะถึงบ้าน เก๋งแหกโค้ง ฟาดเสาไฟฟ้าพลิกตะแคงติดคาเสา

Khaosod

“คิดว่าได้งานรายได้ดี”สุดท้ายโดนขัง–ซ้อม–ใช้เป็นบัญชีม้า” เรื่องจริงหรือนี่ที่โดนหลอก

เดลินิวส์

ทักษิณขึ้นศาลคดีหมิ่นสถาบันฯ ทนายชี้ลูกความเป็นเหยื่อการเมือง ยืนยันไม่หนักใจคดี

THE STANDARD

ข่าวและบทความยอดนิยม

กระทรวงการต่างประเทศชี้ การแสดงความคิดเห็นของผู้นำกัมพูชา แทรกแซงกิจการภายในของไทย

TNN ช่อง16

นายกฯ สั่งการผ่อนผันแรงงานกัมพูชาอยู่ไทยได้นานขึ้น

TNN ช่อง16

นายกฯ สั่งด่วน ปราบสินค้าเกษตรเถื่อนทะลักชายแดน ผ่อนปรนแรงงานกัมพูชาอยู่ไทย

TNN ช่อง16
ดูเพิ่ม
Loading...