โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

กระทรวงวัฒนธรรมชี้แจง กัมพูชาเคลมวรรณกรรมไทยจริงไหม?

SpringNews

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กระทรวงวัฒนธรรมระบุว่า ตามที่เพจ 'ชมรม STRONG ต้านทุจริตประเทศไทย' มีการกล่าวอ้างเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2568 ซึ่งระบุ "รัฐมนตรีมัวแต่ชิงอำนาจกันอยู่" พร้อมแชร์โพสต์ที่ให้ข้อมูลว่า “นี่คือวรรณกรรมไทย ที่เขมรกัมพูชานำไปสอดไส้ขึ้นทะเบียนต่อ Unesco และได้รับการขึ้นทะเบียนไปเรียบร้อย เพราะรัฐบาลไทยปล่อยปละละเลยและไม่คัดค้านเลยแม้แต่นิดเดียว…”

กระทรวงวัฒนธรรม ขอขอบคุณท่านที่ห่วงใยต่อกรณีประเทศกัมพูชานำวรรณกรรมไทย จำนวน 22 รายการ นำไปขึ้นทะเบียนต่อยูเนสโก ในหัวข้อ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของกัมพูชา (Cultural heritage of Cambodia) เพื่อใช้ในการแสดง Royal Ballet of Cambodia ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้กับยูเนสโก ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว และขอชี้แจง ดังนี้

1. ข้อมูลที่อ้างว่ามีการขึ้นทะเบียน “วรรณกรรมไทย 22 รายการ” โดยกัมพูชา ไม่เป็นความจริง เนื่องจากกัมพูชาไม่ได้เสนอขอขึ้นทะเบียนวรรณกรรม จำนวน 22 เรื่อง ต่อองค์การยูเนสโก แต่กัมพูชาได้เสนอขึ้นทะเบียน The Royal Ballet of Cambodia ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงโบราณของกัมพูชา และยูเนสโกได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2546

ตามหนังสือที่อ้างถึงข้อมูลดังกล่าวในเพจ คือ หนังสือ Inventory of Intangible Cultural Heritage of Cambodia เป็นหนังสือที่รวบรวมรายการบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมระดับชาติของกัมพูชา (เช่นเดียวกับหนังสือบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมชาติของไทย) ในหนังสือดังกล่าวจะประกอบด้วยเนื้อหาในสาขาของรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม คือ สาขาศิลปะการแสดง ในหัวข้อ Royal Ballet of Cambodia ที่ปรากฏรายชื่อละครคลาสสิคหรือละครในราชสำนักของกัมพูชา เช่น ไกรทอง พระสมุทร พระสังข์ อุณรุท เป็นต้น ที่มีการนำกลับมาฟื้นฟูและใช้ในการแสดง Royal Ballet of Cambodia

หนังสือเล่มนี้ยังได้ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2548 เพื่อใช้ในโครงการอนุรักษ์การแสดง “The Royal Ballet of Cambodia” ภายใต้โครงการ The Proclamation of the Masterpieces of the Oral and Intangible Heritage of Humanity ของยูเนสโก ซึ่งเป็นโครงการที่ยูเนสโกจัดก่อนที่อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ.2543 ของยูเนสโกจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ

ทั้งนี้ หนังสือฉบับดังกล่าว จึงเป็นการรวบรวมข้อมูลและตีพิมพ์ หลังจากที่กัมพูชาได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนรายการ The Royal Ballet of Cambodia ในปี พ.ศ. 2546

2. ตามมาตรา 2 ของอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ.2543 ได้ให้นิยามคำว่า “มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้” จำนวน 5 ลักษณะ คือ

(1) ประเพณีมุขปาฐะและการแสดงออกทางวาจา รวมถึงภาษาในฐานะพาหนะของมรดก
ทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้)
(2) ศิลปะการแสดง (performing arts)
(3) แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเฉลิมฉลอง (social practices, rituals and festive events)
(4) ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล (knowledge and practices concerning nature and the universe)
(5) งานฝีมือแบบดั้งเดิม (traditional craftsmanship)
วรรณกรรม หรือ Literature จำนวน 22 เรื่อง ตามข้อมูลในหนังสือ ไม่ถือว่าเป็นสาขา oral traditions and expressions, including language as a vehicle of the intangible cultural heritage

ตามนิยามของยูเนสโก วรรณกรรมจึงไม่สามารถเสนอขอขึ้นทะเบียนต่อยูเนสโกได้

3. วรรณกรรม (Literature) ที่เป็นบทละครในการแสดง The Royal Ballet of Cambodia สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

3.1 วรรณกรรมที่เป็นวัฒนธรรมร่วม ที่ได้รับอิทธิพลและมีการเผยแพร่ร่วมกันในประเทศแถบภูมิภาคเอเชียตะวันอกเฉียงใต้ หรืออาเซียนมาอย่างช้านานในหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ไทย เมียนมา ลาว กัมพูชา เวียดนาม เป็นต้น ได้แก่ รามเกียรติ์ ไกรทอง มหาเวสสันดรชาดก อิเหนา สังข์ทอง ลักษณวงศ์ ศรีธนญชัย กากี จันทโครพ ซึ่งวรรณกรรมร่วมเหล่านี้ ได้ถูกนำไปใช้เป็นบทการแสดง ไม่เพียงแต่นำไปประกอบการแสดงนาฏศิลป์ของกัมพูชาเท่านั้น แต่ยังนำไปใช้ประกอบการแสดงในหลายประเทศในอาเซียน

3.2 วรรณกรรมประเภทที่เป็นผู้ประพันธ์คนไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้แก่
ไกรทอง (พระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลที่ 2 และนิทานพื้นบ้าน) พระสมุทร (พระนิพนธ์ของกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ) อุณรุท (พระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลที่ 1 มาจากบทละครในเรื่องอุณรุทสมัยอยุธยาตอนปลาย) พระสังข์ (พระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลที่ 2 บทละครนอก) จันทโครพ (สุนทรภู่) พระเวสสันดร (เจ้าพระยาพระคลัง (หน)) อิเหนา (พระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลทีี่ 2 บทละครรำ) อนิรุทธกินรี (พระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลที่ 1 มาจากบทละครเรื่องอุณรุทสมัยอยุธยาตอนปลาย) ศุภลักษณ์ (มาจากตอนศุภลักษณ์อุ้มสม เรื่องอุณรุท พระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลที่ 1) รามเกียรติ์ (พระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2) พระสุธน-มโนราห์ (บทละครสมัยอยุธยา มาจากพระสุธนชาดก แต่งเป็นคำฉันท์ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระยาอิศรานุภาพ) กากี (คำกลอนวรรณคดี เจ้าพระยาพระคลัง (หน) บทเห่กล่อมพระบรรทม แต่งโดยสุนทรภู่) สีดาลุยเพลิง (จากรามเกียรติ์ตอนสีดาลุยไฟ พระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลที่ 1) จองถนน (จากรามเกียรติ์ตอนจองถนน พระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลที่ 1) ทิพสังวาล (หนังสืออ่านเล่นในสมัยรัชกาลที่ 5) ลักษณวงศ์ (สุนทรภู่)

3. ตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003
Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage of Humanity 2003) ของยูเนสโก

มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเป็นการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไม่ให้สูญหาย และสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและความสำคัญในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ เพื่อให้เกิดความชื่นชมร่วมกัน มิใช่แสดงถึงความเป็นเจ้าของ เนื่องจากมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมนั้น อาจมีปรากฏอยู่ในหลายประเทศ ซึ่งประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญาฯ สามารถเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมรายการนั้นได้ ดังกรณีของประเทศเมียนมาที่ได้ยื่นเสนอขอขึ้นทะเบียน “ประเพณีติงยัน Myanmar traditional New Year Atā Thingyan festival” (ประเพณีปีใหม่พม่าที่มีการจัดกิจกรรมเช่นเดียวกับสงกรานต์ของไทยในกลางเดือนเมษายน) เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก และยูเนสโกได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2567

ปี พ.ศ. 2564 กระทรวงวัฒนธรรม ได้ยื่นเสนอขอขึ้นทะเบียน “สงกรานต์ ปีใหม่ไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New year festival) และยูเนสโกได้ประกาศขึ้นทะเบียน “สงกรานต์ ปีใหม่ไทย” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2566

4. กัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. ๒๐๐๓ เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ และมีรายการมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนในระดับนานาชาติ จำนวนทั้งสิ้น ๗ รายการ ประกอบด้วย

4.1 รายการมรดกวัฒนธรรมที่ต้องได้รับการสงวนรักษาอย่างเร่งด่วน ๒ รายการ ได้แก่ ลคอน โขล Lkhon Khol Wat Svay Andet การแสดงละครโขนวัดสวายอันเด็ต (ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ.25) ชาเปย์ ดังเวง
Chapei Dang Veng (ขึ้นทะเบียนปี 2559) เป็นต้น

4.2 รายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ๕ รายการ ได้แก่ (1) การปฏิบัติและการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับผ้าครามา Cultural practices and expressions linked to Krama, a traditional woven textile in Cambodia (ขึ้นทะเบียนปี 2567) (2) พิธีกรรมชักเย่อและเกม (ขึ้นทะเบียนปี 2558) (3) กุน ลโบ๊กกาตอร์ Kun Lbokator, traditional martial arts in Cambodia ศิลปะการต่อสู้พื้นบ้านของกัมพูชา (ขึ้นทะเบียนปี 2565) (4) Royal ballet of Cambodia บัลเลต์หลวงแห่งกัมพูชา (ขึ้นทะเบียนปี 2551) และ (5) Sbek Thom, Khmer shadow theatre สเบก ธม โรงละครเงาเขมร (ขึ้นทะเบียนปี 2551)

4.3 มีรายการที่รอการพิจารณาในรอบปี พ.ศ. ๒๕๖๙ จำนวน ๑ รายการ ได้แก่ Traditional Khmer wedding (การแต่งงานของกัมพูชา)

อนึ่ง การที่กัมพูชาเสนอขอขึ้นทะเบียนรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมนั้น ถือเป็นสิทธิ
ที่สามารถดำเนินการได้ในฐานะสมาชิกตามอนุสัญญาฯ ซึ่งในการขอขึ้นทะเบียนจะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติและ
การแสดงออกของประเพณีภายใต้อาณาเขตของประเทศกัมพูชา

5. ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ และมีรายการมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนในระดับนานาชาติ จำนวน ๖ รายการ เป็นรายการประเภทตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติทั้งหมด ได้แก่ โขน (ปี พ.ศ. ๒๕๖๑) นวดไทย
(ปี พ.ศ. ๒๕๖๒) โนรา (ปี พ.ศ. ๒๕๖๔) สงกรานต์ (ปี พ.ศ. ๒๕๖๖) ต้มยำกุ้ง (ปี พ.ศ. ๒๕๖๗) และเคบายา (ปี พ.ศ. ๒๕๖๗) และมีรายการที่รอเข้ารับการพิจารณา ๔ รายการ คือ ๑) ชุดไทย ๒) มวยไทย ๓) ผ้าขาวม้า และ ๔) ลอยกระทง โดยรายการชุดไทยจะเข้ารับการพิจารณาในปี พ.ศ. ๒๕๖๙

ในการนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้มีการติดตามความเคลื่อนไหวของประเทศต่าง ๆ มาโดยตลอด และมีการประสานความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและ
ความเข้าใจร่วมกัน พร้อมทั้งมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และขอขอบคุณท่านที่ให้ความสนใจและห่วงใยต่อการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก SpringNews

5 เหตุผลต้องมาวิ่ง บุรีรัมย์ มาราธอน 2026 งานระดับโลกที่ คนรักการวิ่ง ต้องมาลองสักครั้ง

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ชวนทำความรู้จัก World Coin คืออะไร วิธียืนยันตัว แลกเงินเหรียญ WLD

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

‘หนุ่มเวียดนาม’ พลาดถูกไฟช็อต ‘สาวพีอาร์’ เข้าช่วยดับสลดคู่ เหตุจากฝนตกน้ำท่วมป้ายไฟ-หน้าร้านนวด

เดลินิวส์

ญี่ปุ่นตั้งทีมรับมือปัญหาต่างชาติทะลัก หวังกู้คะแนนเสียงก่อนเลือกตั้งสภาสูง

Manager Online

มีเด่นขีดแดง! เลขเด็ด “ปู่ซุ่มเงียบ” ลุ้นงวด 16 ก.ค.68

TOJO NEWS
วิดีโอ

เดชอิศม์ เตรียมไล่เช็ก เดินหน้าคืนที่ดินเป็นของการรถไฟฯยึดตามกฎหมายคดีค้างมานาน พิพากษาแล้วยังไม่คืน

BRIGHTTV.CO.TH

จีดีพีไตรมาส 2 จีนขยายตัวเกินคาด นักวิเคราะห์เตือนครึ่งปีหลังน่าห่วง

Manager Online

ชาวอัฟกันหลายพันคนถูกย้ายไปยังสหราชอาณาจักรภายใต้โครงการลับ

JS100

EIC เจาะ Import influx trap…กับดักเศรษฐกิจไทยในยุคพึ่งพานำเข้าสูง

ไทยพับลิก้า

มาแล้ว! เลขเด็ด “อ.วิ” ลุ้นงวด 16 ก.ค.68

TOJO NEWS

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...