โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

"หมอฟรัง" เตือนกินผิดชีวิตพัง! ไขความเข้าใจว่า "กินดี" เป็นแบบไหน

Amarin TV

เผยแพร่ 9 ชั่วโมงที่ผ่านมา
“หมอฟรัง” เตือนกินผิดชีวิตพัง! ไขความเข้าใจว่า “กินดี” เป็นแบบไหน

"หมอฟรัง" เตือนกินผิดชีวิตพัง! ไขความเข้าใจว่า "กินดี" เป็นแบบไหน พร้อมเผยความลับของอาหารที่หลายคนไม่รู้มาก่อน

หมอฟรัง พญ.นรีกุล เกตุประภากร แพทย์ทั่วไปและแพทย์ผู้ช่วยวิจัย โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยเรื่องราวการกินผ่านรายการ Glow On podcast with Grace เคยล้วงคอ นับแคลจนเครียด กว่าจะเข้าใจคำว่ากินดี หมอฟรังเล่าว่า มีอยู่ช่วงหนึ่งที่กินแล้วล้วงคอ เพราะรู้สึกว่าทำไมทุกคนผอมจัง รู้สึกไม่โอเคกับตัวเอง แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็น Eating disorder หรือ Anorexia (โรคคลั่งผอม) แต่ทำไปแล้วรู้ว่าอันตราย แสบคอ เพราะกรดจะกัดคอ และยังเพิ่มโอกาสความเสี่ยงเป็นมะเร็งด้วย และยังเคยมีช่วงนับแคล โปรตีนช่วงนี้นับกรัมอาจจะไม่ได้นับเป๊ะ ๆ แต่ว่าเหมือนเราแค่เอาให้มันถึงจนเกิดความเครียด จึงหันมาปรับพฤติกรรมใหม่ พยายามกินดีขึ้น จัด Work-Life Balance ให้เหมาะสม กินผักเยอะขึ้น กินโปรตีนให้ครบแบบ 1 กรัมต่อกิโล ใช้ชีวิตเหมือนเดิมแต่ว่าลงดีเทลลงไปในรายละเอียด เช่น จากข้าวขาวก็เปลี่ยนเป็นข้าวแบบไม่ขัดสี ทำสิ่งที่มันไม่ยากกับชีวิตเราจนเกินไปมากกว่า

การกินที่ดีคือ การกินที่ได้สารอาหารครบถ้วนหลากหลายและเข้ากับไลฟ์สไตล์เรา วันหนึ่งแคลเรากินได้จำกัด ซึ่งแคลอรี่ 1 แคลอรี่ หรือว่าแคลอรี่ที่กินเข้าไปมันควรเป็นแคลอรี่ที่มีประโยชน์ เป็นแคลอรี่ที่ได้สารอาหาร สารอาหารที่ดีคือการที่ได้อาหารที่ครบถ้วนในพลังงานที่เหมาะสมแล้วก็ตรงกับไลฟ์สไตล์เรา

นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่เข้าใจผิดมาตลอดคือ การทำ Fast (การอดอาหาร) ตนเคยได้ยินว่า Fast มันดี ก็เลยทำบ้าง บางทีก็เพราะไม่มีเวลาด้วย แต่เพิ่งไปฟัง Podcast ของ Dr. Stacy ที่เป็นหมอจาก Stanford เขาเรียนเรื่องผู้หญิงกับผู้ชาย เขาบอกว่าผู้ชายมีฮอร์โมนต่างกับผู้หญิง แต่ผู้หญิงมันจะไม่ดีถ้า Fast ตอนเช้า เพราะว่าตอนเช้ามี Cortisol ที่กำลังพีก แล้ว Fast มันคือการทำให้ร่างกาย Stress (เครียด) อยู่แล้ว พอเจอ Cortisol เยอะมันก็ยิ่งเครียดมากขึ้น ทำให้ร่างกายแย่ลง แล้วก็ออกกำลังกายได้ไม่เต็มประสิทธิภาพด้วย

ส่วนเรื่องจุลินทรีย์ในลำไส้ที่คนกำลังพูดถึงเรื่องนี้เยอะขึ้น ซึ่งถือว่าดี เพราะก่อนหน้านี้หลายคนอาจจะละเลย เช่น เรื่องการกินโยเกิร์ต หรืออาหารที่มีพรีไบโอติก โปรไบโอติก โพสต์ไบโอติก ซึ่งมันดีจริง ๆ หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ลำไส้เราเป็นเหมือนสมองที่สอง เพราะมันมีระบบที่เชื่อมกับสมอง เรียกว่า Gut-brain axis ถ้าใครอยากมีพลังงานดี อยากอารมณ์ดี ต้องดูแลลำไส้ให้ดี เพราะเรื่องการขับถ่ายสำคัญอย่ามองข้าม เรื่องผิวพรรณก็เกี่ยวข้องกันหมด

นอกจากนี้ คนทั่วไปยังหลายคนยังไม่ค่อยรู้ เช่น ผลไม้ มักจะคิดว่าผลไม้คือ Healthy เช่น กินลำไยเป็นพวง ซึ่งจริง ๆ แล้วมันก็ยังคือน้ำตาลอยู่ดี เพราะแม้จะเป็นน้ำตาลจากธรรมชาติ แต่ก็ทำให้ Insulin Spike เบาหวาน หรือมีผลกับระดับน้ำตาลในเลือดได้ รวมถึงข้าวเหนียว หลายคนไม่รู้ว่าข้าวเหนียวน้ำตาลสูงกว่าข้าวปกติ อย่างข้าวขาวแนะนำให้เปลี่ยนมากินข้าวกล้องแทน อีกอย่างที่เจอบ่อยคือเรื่องปลาน้ำจืดดิบ โดยเฉพาะในภาคอีสาน พวกปลาร้า ปลาส้ม หรือปลาดิบที่ไม่ผ่านการปรุงสุก มันเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งเป็นโรคที่เจอบ่อยในอีสาน เพราะมาจากอาหารพวกนี้เลย หลายคนอาจยังไม่มีทราบตรงนี้มากพอ

หมอฟรังยังแนะแนววิธีการกินเพื่อให้ประโยชน์ต่อร่างกาย นั่นคือแนว  Mediterranean Diet อาหารเมดิเตอร์เรเนียน เน้นอาหารแบบ Whole Food (อาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูปหรือผ่านกระบวนการให้น้อยที่สุด) อย่างถั่วหลากหลายสี อาหารทะเล ซึ่งได้รับพิสูจน์แล้วว่าดี ทั้งช่วยเรื่องโรคหัวใจด้วย แล้วก็ผักเยอะใน 1 จาน คนไทยกินผักไม่พอ ซึ่งจริง ๆ แล้วควรทานผักให้ได้ประมาณ  5 portion ต่อวัน  โดย 1 portion คือประมาณ 1 กำมือ

นอกจากนี้ การนอน คือพื้นฐาน อยากให้เน้นทำสิ่งที่เป็นพื้นฐานให้ดีที่สุดก่อน เช่น พยายามนอนให้ได้อย่างน้อย 6 ชั่วโมงขึ้นไป การนอนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งหลายคนมองข้าม โดยเฉพาะสำหรับคนที่ทำงานหนัก ๆ แล้วโดยรวมมันก็อยู่ในหลัก 6 เสาหลักของสุขภาพเลย คือ การนอน, การกิน, การออกกำลังกาย, หลีกเลี่ยงสารอันตราย, การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และการจัดการความเครียด เป็นสิ่งสำคัญ

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Amarin TV

งามไส้ จับครูเสพยาบ้ามาราธอน 20 ปี ติดงอมแงมวันละ 3 เม็ด

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

แขมร์ไทมส์โพสต์รัว ๆ ‘ฮุน มาเนต’ สับสนหนัก ชี้ไทยไม่ชัดเจนปมชายแดน

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ศาลรธน.ให้15วันหน่วยงานยื่นหลักฐานส่งตัว"แสจิ้นเจียง"เจ้าของบ่อนไปจีน

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

(1 ก.ค.) หุ้นไทยพุ่ง20.45จุด ปิดที่1,110.01จุด หลังการเมืองชัดเจนขึ้น

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

DPU-ขงจื่อฯ ร่วมฉลอง! 50 ปีมิตรภาพไทย-จีน 'ปีทอง' แห่งความสัมพันธ์

กรุงเทพธุรกิจ

สธ. พร้อมหนุน WHO ด้านสาธารณสุขระหว่างปท. 1 ล้านเหรียญสหรัฐ/ปี

ฐานเศรษฐกิจ

สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ HIV ในไทยสะสม 5.4 แสนราย พบรายใหม่ 1.3 หมื่นราย!

PPTV HD 36

ตะลึง ทั่วโลกกว่า 970 ล้านคนป่วยสุขภาพจิต รุนแรงขึ้นหลังโควิด

ฐานเศรษฐกิจ

8 สัญญาณโรคเบาหวาน คอแห้ง หิวบ่อย ชาปลายมือปลายเท้า ต้องระวัง!

PPTV HD 36

เปิด (ร่าง)กฎกระทรวงใหม่ เกณฑ์อนุญาต ‘ร้านขายช่อดอกกัญชา’

กรุงเทพธุรกิจ

อาหารป้องกันเบาหวาน ลดน้ำหนัก คุมน้ำตาล หยุดโรคเรื้อรังในอนาคต

PPTV HD 36

กลุ่มผู้ป่วยโรค NF1 ขอให้สิทธิบัตรทอง ครอบคลุมการรักษา

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

ดูเพิ่ม
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...