โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

บันเทิง

Superman แบกหนังตัวเองไหวไหม? สรุปรายได้และความโดดเด่นของซูเปอร์แมนแต่ละยุค

The MATTER

อัพเดต 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Entertainment

หลังถูก Disney ไล่ออก เจมส์ กันน์ (James Gunn) ผู้กำกับ Guardian of the Galaxy ทั้งสามภาคก็ได้โอกาสมารับหน้าที่เป็นหัวเรือใหญ่พา DC Universe (DCU) ไปท้าชนกับ Marvel Cinematic Universe (MCU) ให้สมน้ำสมเนื้อ เพราะที่ผ่านมา แม้หนังซูเปอร์ฮีโร่ของ DC จะมีคนรอดูอยู่เสมอ แต่กลับเทียบไม่ได้เมื่อวัดกับ Marvel ที่ครองตลาดหนังซูเปอร์ฮีโร่มาพักใหญ่

และการเปิดศักราชใหม่ของจักรวาล DC จะเป็นเรื่องไหนไปไม่ได้นอกจาก Superman (ซูเปอร์แมน) มองจากดาวคริปตอนก็รู้เลยว่า งานนี้เจมส์ กันน์เจอศึกหนักแน่ โดยเฉพาะแรงกดดันมหาศาลจากความคาดหวังของแฟนๆ

ซูเปอร์แมนเริ่มเข้าสู่โลกภาพยนตร์จริงจังในปี 1978 ตลอด 47 ปีที่ผ่านมา ซูเปอร์ผ่านมือผู้กำกับมาแล้วหลายคนหลายยุค ซูเปอร์แมนในแต่ละยุคจึงมีตัวตน ลักษณะนิสัย และการเป็นภาพแทนของแนวความคิดที่แตกต่างกันไป เริ่มตั้งแต่ซูเปอร์แมนยุค คริสโตเฟอร์ รีฟ (Christopher Reeve) ที่สืบทอดสโลแกนวิถีแบบอเมริกัน ซูเปอร์แมนยุค แซ็ก สไนเดอร์ (Zack Snyder) ที่มีบทบาทคล้ายพระเจ้า จนมาถึงในปี 2025 ที่ เจมส์ กันน์ เลือกนำเสนอซูเปอร์แมนที่ความเป็นมนุษย์มากขึ้น

นอกจากจะเป็นผู้นำทีมซูเปอร์ฮีโร่พิทักษ์โลก Justice League ต้องเอาชนะเหล่าร้ายและกู้โลกให้ได้ อีกหน้าที่หนึ่งของซูเปอร์แมนคือการเป็นหนังที่มาเพื่อกอบกู้จักรวาล DC การมีหนังซูเปอร์แมนภาคใหม่นัยหนึ่งคือการรีเซ็ตจักรวาล ความสำเร็จของหนังซูเปอร์แมนคือตัวกำหนดว่าหนังของ DC เรื่องต่อไปจะรอดหรือร่วง ตัวละครที่ตามมาจะออกมาในแนวไหน

The MATTER มาเปรียบเทียบหนังซูเปอร์แมนในแง่รายได้ และความโดดเด่นของซูเปอร์แมนในแต่ละยุค ดูซิว่าการที่ช่วยคนอื่นได้ตั้งมากมาย สุดท้ายจะแบกหนังตัวเองไหวไหม

ทุนสร้างและรายได้ (box office) ของซูเปอร์แมนแต่ละภาค
Superman (1978): ทุนสร้าง 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, รายได้ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (5.45 เท่า ของทุนสร้าง) Superman II (1980): ทุนสร้าง 54 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, รายได้ 190.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (3.52 เท่า ของทุนสร้าง) Superman III (1983): ทุนสร้าง 39 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, รายได้ 80.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2.05 เท่า ของทุนสร้าง) Superman IV: The Quest for Peace (1987): ทุนสร้าง 17 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, รายได้ 36.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2.15 เท่า ของทุนสร้าง) Superman Returns (2006): ทุนสร้าง 232 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, รายได้ 391 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (รายได้ 1.68 เท่า ของทุนสร้าง) Man of Steel (2013): ทุนสร้าง 225 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, รายได้ 668 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (รายได้ 2.97 เท่า ของทุนสร้าง) Batman v Superman: Dawn of Justice (2016): ทุนสร้าง 263 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, รายได้ 874.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (3.32 เท่า ของทุนสร้าง) Justice League (2017): ทุนสร้าง 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, รายได้ 661.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2.2 เท่า ของทุนสร้าง) Superman (2025): ทุนสร้าง 225 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, รายได้ 232.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (1.03 เท่า ของทุนสร้าง) *อ้างอิงข้อมูลจาก the-numbers เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2025*

จริงอยู่ที่ว่า ถ้าดูจากตัวเลขทุนสร้างและงบดูเหมือนว่าหนังซูเปอร์แมนทุกเรื่องจะมีรายได้ box office มากกว่าทุนสร้าง แต่ต้องไม่ลืมว่าตัวเลขรายได้กว่า 40-50% มักจะถูกโรงหนังหักออกไป และบางครั้งตัวเลขทุนสร้างอาจไม่รวมค่าใช้จ่ายสำหรับการทำการตลาดให้ตัวหนัง ดังนั้น หากหักลบกันอีกที Superman III และ Superman IV: The Quest for Peace อาจจะมีรายได้ที่ค่อนข้างปริ่มน้ำเกือบขาดทุน

สำหรับ Justice League (2017) มองจากตัวเลขที่เห็นคงนับได้ว่าขาดทุน แต่ถ้าดูจากการปล่อยเวอร์ชั่น Snyder Cut (2021) และหนัง DC อีกหลายเรื่องที่ตามมา โดยภาพก็อาจจะสรุปได้ว่าไม่เลวร้ายไปซะทีเดียว

แต่ที่หนักที่สุดคงเป็น Superman Returns (2006) ที่ไม่ได้เป็นการคืนจอ (รีเทิร์น) ของซูเปอร์แมนตามชื่อเรื่อง ข้อพิสูจน์คงเป็นการที่ตัวหนังเป็นเหมือนหนังภาคเดี่ยว และไม่มีหนังซูเปอร์แมนจากผู้กำกับหรือนักแสดงคนเดียวกันตามมาอีกเลย

ยุคสมัยของซูเปอร์แมนในภาพยนตร์

1. ซูเปอร์แมน ยุคคริสโตเฟอร์ รีฟ (1978-1987)

คริสโตเฟอร์ รีฟ คือนักแสดงที่รับเป็นซูเปอร์แมน แต่หนังทั้งสี่ภาคมีการสลับสับเปลี่ยนผู้กำกับไปมา ซูเปอร์เวอร์ชั่นรีฟคือฮีโร่ที่มองโลกในแง่ดี เปี่ยมไปด้วยความหวัง มีคุณธรรมสูงส่ง และมีความความดีงามที่ฝังแน่อยู่กับตัว ตัวละครมีความแตกต่างชัดเจนระหว่างบุคลิกของ ‘คลาร์ก เคนต์’ ที่ซุ่มซ่าม กับซูเปอร์แมนที่มีความมั่นใจและทรงพลัง สีของชุดและผ้าคลุมเป็นสีน้ำเงินและแดงที่สดใส ความน่าสนใจของซูเปอร์แมนเวอร์ชั่นนี้คือการยึดถือคติประจำตัวว่า "ความจริง ความยุติธรรม และวิถีแบบอเมริกัน" (“Truth, Justice & the American Way”) ซึ่งเริ่มใช้ครั้งแรกในปี 1942 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่อาจมองได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการปลุกสำนึกรักชาติในช่วงสงคราม

2. ซูเปอร์แมน ของไบรอัน ซิงเงอร์ (2006)

ซูเปอร์แมนเวอร์ชั่นนี้แสดงโดย แบรนดอน เราธ์ (Brandon Routh) และกำกับโดย ไบรอัน ซิงเงอร์ (Bryan Singer) ตัวละครซูเปอร์แมนเป็นการสืบทอดโดยเคารพต้นแบบที่ คริสโตเฟอร์ รีฟ ได้ทำเอาไว้ แต่มีความหม่นและมีเริ่มเห็นนัยทางศาสนาที่ชัดเจนขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเนื้อเรื่องเป็นเหตุการณ์หลังซูเปอร์แมนจากโลกไปกว่าห้าปี เขากลับมาโลกอีกครั้งในฐานะผู้กอบกู้และต้องเผชิญหน้ากับผลกระทบของการเป็นซูเปอร์ฮีโร่

3. ซูเปอร์แมน ยุคแซ็ก สไนเดอร์ (2013–2017)

นี่น่าจะเป็นซูเปอร์แมนเวอร์ชั่นดาร์กที่สุดในโลกภาพยนตร์ บทบาทซูเปอร์แมนนำแสดงโดย เฮนรี แควิลล์ (Henry Cavill) และกำกับโดย แซ็ก สไนเดอร์ ภาพลักษณ์ของซูเปอร์แมนเวอร์ชั่นนี้คือ ความเคร่งขรึม ทรงพลัง สมจริง ดูห่างเหิน และที่สำคัญที่สุดคือถูกนำเสนอให้เป็นเหมือนพระเจ้า รวมถึงเข้าใจถึงความเป็นมนุษย์ต่างดาว (ความเป็นอื่น) ของตัวเองเป็นอย่างดี

ซูเปอร์แมนของสไนเดอร์คือสิ่งมีชีวิตที่มนุษย์หวั่งเกรงและกังขา เขาต่อสู้ด้วยความดุดัน หนักแน่น น้อยครั้งที่คนดูจะได้เห็นเขาในบท คลาร์ก เคนต์ สีของชุดเป็นสีแดงน้ำเงินหม่นๆ และมันเงา ไม่มีการพูดถึงคติประจำตัวของซูเปอร์แมน แม้จะเป็นซูเปอร์แมนที่มืดมนเอามากๆ แต่ซูเปอร์เวอร์ชั่นนี้ก็มีแฟนคลับเหนียวแน่นและอยากให้ เฮนรี แควิลล์ กลับมารับบทอีกครั้ง

4. ซูเปอร์แมนยุค เจมส์ กันน์ (2025-)

ซูเปอร์แมนของ เจมส์ กันน์ นับว่าเป็นพลิกภาพลักษณ์จากเวอร์ชั่นแซ็ก สไนเดอร์ แบบหน้ามือเป็นหลังมือ ประหนึ่งย้อนกลับไปสู่ซูเปอร์แมนยุครีฟแต่เพิ่มความสดใหม่เข้าไป โดยได้ เดวิด คอเรนสเว็ต (David Corenswet) มารับบทเป็นซูเปอร์แมนที่อบอุ่นปนขี้เล่น มองโลกในแง่ดี อ่อนโยน มีศีลธรรม และมีความเป็นมนุษย์ ชุดและผ้าคลุมกลับมาเป็นสีสันที่สดใสอีกครั้ง

ในปี 2021 ก่อนจะมีหนังซูเปอร์แมนเวอร์ชั่นนี้ DC ได้เปลี่ยนคติประจำตัวของซูเปอร์แมนให้เปิดกว้างมากขึ้นคือ "ความจริง ความยุติธรรม และวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า” (“Truth, Justice and a Better Tomorrow!”) แต่ทางฟิเกอร์หนังซูเปอร์แมนปี 2025 กลับใช้อีกแบบหนึ่งคือ "ความจริง ความยุติธรรม และวิถีแบบมนุษย์” (“Truth, Justice and the Human Way”)

แม้ก่อนหน้านี้หนังซูเปอร์ฮีโร่ของ DC จะยังไม่ลงตัว จนมีออกมาหลายเวอร์ชั่น แต่ในแง่หนึ่งคนดูก็ได้เห็นตัวละครเดียวกันจากหลายมุมมอง เห็นตัวละครตัวเดิมมีการพัฒนาขึ้นตามยุคสมัยและบริบทสังคม ซูเปอร์แมนคือหนึ่งในตัวอย่างนั้น

อ้างอิงจาก

comicbook.com

smithsonianmag.com

the-numbers

Graphic Designer: Manita Boonyong
Editorial Staff: Paranee Srikham

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก The MATTER

เพราะเส้นชัยคือไป Formula 1 คุยกับ ‘เติ้น ทัศนพล’ ถึงชีวิตหลังพวงมาลัย ใต้หมวกกันน็อก

10 ชั่วโมงที่ผ่านมา

รู้จัก 8 ครีเอเตอร์ไทย จากจักรวาลคาแร็กเตอร์งาน Character Fest Thailand 2025

12 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความบันเทิงอื่น ๆ

“หลิง-ออม” เปิดใจ กว่าจะมาเป็น “ไอดอลสาว กับ บอดี้การ์ด” ใน “เพียงเธอ Special”

daradaily

“มดดำ” แจงแทน! “ไฮโซเมย์” ถูกโยงตัวแทน 30 บริษัท แจ้งความเบี้ยวค่าจ้างงาน Rolling Loud 2024 เผยสาเหตุเจ๊ง 100 ล้าน

Manager Online

จ๊ะโอ๋งามพริ้ง ลั่นให้รู้ไว้ตรงนี้เลย เงินที่ชดใช้ที่เป็นข่าว พี่เขาช่วยออกคนละครึ่ง ไม่ได้รับผิดชอบคนเดียว

tvpoolonline.com

ธีร์ Only Monday ขอโทษกลางเวที กรณีดราม่านอกใจ

TeeNee.com

ชาวเน็ตแห่กดไลก์ ดาราสาว โพสต์ภาพคู่ นาย ณภัทร หลังเอาของขวัญมาให้

TeeNee.com

“ต่าย อรทัย” ยันยังโสด รับมีคุยแต่ไม่คลิก ส่วนใหญ่มีครอบครัวแล้ว

Manager Online

วาสนาดี๊ดี! ’เลดี้ปราง‘ ยก ’โอบ’ เป็นที่สุดของใจ ดูแลทุกอย่างฟีลพ่อบ้านพ่อเรือน

เดลินิวส์

นาตาลี เดวิส ใจสลายไม่คิดว่าชีวิตนี้จะต้องเอาคนเข้าคุก

TeeNee.com

ข่าวและบทความยอดนิยม

จากนักแสดงไร้ชื่อ สู่ปรากฏการณ์แห่งฮอลลีวูด ‘เปโดร ปาสคาล’ กับเส้นทางชีวิตที่มีแต่คำว่าพยายาม

The MATTER

‘Slow TV’ เมื่อคอนเทนต์ในปัจจุบันรวดเร็วเกินไป หนีไปพักกาย พักใจ กับความเนิบช้ากันดีไหม?

The MATTER

ฉันก็เป็นมนุษย์เหมือนกับทุกคน? สำรวจศรัทธาและภาพสะท้อนของพระผู้เป็นเจ้าใน Superman

The MATTER
ดูเพิ่ม
Loading...