โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

สีกา-กากี-สีกากี ศัพท์ 3 คำ ที่คล้ายกันนี้มาจากไหน เกี่ยวข้องกันหรือไม่

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 17 ชั่วโมงที่ผ่านมา
(ภาพประกอบ จาก https://www.matichon.co.th)

สีกา, กากี และสีกากี ศัพท์ 3 คำ ที่ลักษณะคล้ายกัน, ใช้คำชุดเดียวกัน, ออกเสียงใกล้เคียงกัน แล้วคำทั้ง 3 มีที่มาจากไหน มีความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกันหรือไม่

สีกา

ศัพท์คำนี้ ใน “พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์” ของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) อธิบายว่า คำที่พระภิกษุใช้เรียกผู้หญิงอย่างไม่เป็นทางการ เลือนมาจาก อุบาสิกา บัดนี้ได้ยินใช้น้อย”

“อุบาสิกา” นั้น ท่านอธิบายไว้ว่า “หญิงผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย, คนใกล้ชิดพระศาสนาที่เป็นผู้หญิง, คฤหัสถ์ผู้หญิงที่แสดงตนเป็นคนนับถือพระพุทธศาสนา โดยประกาศถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ”

ขณะที่คำว่า “ประสก” ซึ่งพระสงฆ์ใช้เรียกผู้ชาย มาจากคำว่า “อุบาสก” เช่นกัน

ส่วน “โยม” ที่ดูเป็นคำกลางๆ ใช้ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่ก็มี “วัยวุฒิ” เป็นเงื่อนไข ด้วยพระสงฆ์ใช้เรียก “บิดามารดา” ของท่าน หรือผู้ใหญ่ที่อยู่ในวัยเดียวกับบิดามารดา ส่วน “โยมอุปัฏฐาก” คือ ผู้ศรัทธาแสดงตนเป็นผู้อุปการะพระสงฆ์ โดยเจาะจงว่าเป็นรูปใด

กากี

ศัพท์คำเดียวนี้มาจาก 3 ที่มา และมีถึง 3 ความหมายด้วยกัน คือ

1. กากี มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต แปลว่า “นางกา, กาตัวเมีย” คู่กับ “กาก” ที่แปลว่า “นกกา, กาเพศผู้”

2. กากี มาจากวรรณคดีไทยเรื่องกากี ซึ่งปรากฏอยู่หลายฉบับทั้งกากีคำฉันท์, บทเห่เรื่องกากี พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ และกากีคำกลอน บทนิพนธ์ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) หมายถึง “หญิงมากชู้หลายผัว, หญิงแพศยา”

3. กากี คำนี้เรียกในอินเดียว่า “คากี” มาจากศัพท์เปอร์เซีย คาก-Khak แปลว่า “ฝุ่นหรือดิน” เดิมเรียก “สีคากี” แล้วมาเพี้ยนเป็น “สีกากี” แปลว่า “สีน้ำตาลปนเหลือง, สีสนิมเหล็ก”

สรุปว่า ศัพท์ทั้ง 3 คำดังกล่าว ไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลย

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 35 กุมภาพันธ์ 2564.

รศ.ดร. ศานติ ภักดีคำ. “ ‘กากี’ คำนี้มที่มาอย่างไร” ใน, ศิลปวัฒนธรรม กันยายน 2546

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 17 กรกฎาคม 2568

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : สีกา-กากี-สีกากี ศัพท์ 3 คำ ที่คล้ายกันนี้มาจากไหน เกี่ยวข้องกันหรือไม่

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ศิลปวัฒนธรรม

ความแตกต่างระหว่างจีนกวางตุ้ง-ไหหลำ-แต้จิ๋ว-แคะ-ฮกเกี้ยน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สรรพลี้หวน...วรรณกรรมคำผวนที่เป็นมากกว่าเรื่องล้อเลียนของสงวน!

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

พระเจดีย์ทรงระฆัง วัดประยุรวงศาวาส การเมืองในงานช่างสมัยรัชกาลที่ 3

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

หมอบรัดเลย์ ชวนคุยเรื่องนรกสวรรค์ สาวชาวบ้านว่า “ต้องตกลงกับสามีก่อน...”

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

iQIYI ปล่อยภาพเบื้องหลัง “The Love Never Sets ฉากนั้น…ยังเป็นเธอ” เตรียมเสิร์ฟโมเมนต์ ‘จา-เต้’ กันยายนนี้!

Insight Daily

ซีรีส์ทางโทรทัศน์ HBO ออริจินัล “Harry Potter” เริ่มต้นการถ่ายทำแล้ว

Insight Daily

ความแตกต่างระหว่างจีนกวางตุ้ง-ไหหลำ-แต้จิ๋ว-แคะ-ฮกเกี้ยน

ศิลปวัฒนธรรม

สรรพลี้หวน...วรรณกรรมคำผวนที่เป็นมากกว่าเรื่องล้อเลียนของสงวน!

ศิลปวัฒนธรรม

พระเจดีย์ทรงระฆัง วัดประยุรวงศาวาส การเมืองในงานช่างสมัยรัชกาลที่ 3

ศิลปวัฒนธรรม

หมอบรัดเลย์ ชวนคุยเรื่องนรกสวรรค์ สาวชาวบ้านว่า “ต้องตกลงกับสามีก่อน...”

ศิลปวัฒนธรรม

บอลวันนี้ ดูบอลสด ถ่ายทอดสด โปรแกรมฟุตบอล วันศุกร์ที่ 18 ก.ค. 68

PostToday

พาส่อง 9 กล้องสุดร้อนแรงเปิดตัวใหม่กระแสแรงในปี 2024

Ladyissue Magazine

ข่าวและบทความยอดนิยม

ชนพื้นเมืองอเมริกัน (อินเดียนแดง) มาจากไหน ? ตามรอยมนุษย์โบราณ 40,000 ปี

ศิลปวัฒนธรรม

“พระเซเลบ” รสนิยมมวลชนชาวพุทธไทย ที่มาจากการเสื่อมศรัทธาข่าวฉาวพระดัง?

ศิลปวัฒนธรรม

สีกา-กากี-สีกากี ศัพท์ 3 คำ ที่คล้ายกันนี้มาจากไหน เกี่ยวข้องกันหรือไม่

ศิลปวัฒนธรรม
ดูเพิ่ม
Loading...