โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ทนายความ สรุปให้ ที่ดินนิคมสร้างตนเอง คืออะไร? ใครมีสิทธิถือครองบ้าง

คมชัดลึกออนไลน์

อัพเดต 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

จากกรณี "จอนนี่ มือปราบ" สร้างรีสอร์ตในพื้นที่ "นิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย" อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี ต่อมาผู้รับมอบอำนาจจาก กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการฯ ได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์กับ บก.ปทส. ซึ่งเจ้าตัวได้แจ้งความกลับ 3 ข้าราชการ ได้แก่ อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ, นักวิชาการกรมฯ และ ผู้ปกครองนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย อำเภอสิรินธร
นอกจากนี้ "จอนนี่ มือปราบ" ยังได้ไปออกรายการโหนกระแส ระบุว่า ซื้อที่ดินจากชาวบ้าน มาตั้งแต่ปี 2564 ราคา 5.4 แสนบาท ยืนยันว่า ตรวจสอบไม่พบเอกสาร น.ค.1 และ น.ค.3 ซึ่งกรณีนี้ อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ อธิบายว่า เนื่องจากมีการพิสูจน์แล้ว ว่าที่ตรงนั้นสงวนไว้เป็นที่ป่า ถ้าราษฎรคนใดที่ไม่ใช่สมาชิกเข้าไปครอบครองทำกิน ทำประโยชน์อย่างไร ก็ไม่สามารถออก น.ค.1 และ น.ค.3 ให้ได้ พร้อมแนะข้อกฎหมาย เพื่อหาทางออกร่วมกัน นั้น

ขอบคุณภาพจาก : รายการโหนกระแส

8 ก.ค. 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า "นายสมปรารถน์ โกมินทรชาติ" ทนายความด้านสิ่งแวดล้อม และทนายความหุ้นส่วนบริษัท สยามกรีนลอว์ จำกัด เจ้าของงานวิจัยเรื่อง "การจัดการป่าไม้ของประเทศไทย (Forest Menagement)" ซึ่งเป็นวิจัยทางกฎหมายเล่มแรกของประเทศไทยที่ทำเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินและป่าไม้ของประเทศไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊ก สรุปข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของที่ดินแต่ละประเภท ไว้ดังนี้

  • 1.ประเภทที่ดินของเอกชนหรือที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ (ที่ดินที่ให้เอกชนครอบครองและสามารถทำประโยชน์ได้)
  • 2. ประเภทหนังสือรับรองการทำประโยชน์
  • 3. ประเภทที่ดินของรัฐที่อนุญาตให้ใช้ประโยชน์

ซึ่งประเภทที่ 3 มีการอธิบายเรื่อง "ที่ดินนิคมสร้างตนเอง (น.ค.3)" กรณี "จอนนี่ มือปราบ" ไว้ดังนี้

ที่ดินนิคมสร้างตนเอง (น.ค.3)เป็นที่ดินที่มีการออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ ซึ่งออกให้ในนิคมสร้างตนเองตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ซึ่งการได้สิทธิในที่ดินของสมาชิกนิคมสร้างตนเองเมื่อสมาชิกได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแล้ว
กล่าวคือจะต้องเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ต้องไม่มีหนี้สินที่เกี่ยวกับกิจการนิคม ชำระเงินค่าช่วยทุนรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว และได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ในที่ดินตามมาตรา 8 ตาม และตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511
ต่อมาเมื่อสมาชิกของนิคมได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่ได้รับอนุญาตเกินกว่า 5 ปีและได้ชำระเงินช่วยทุนที่รัฐบาลได้ลงไปแล้ว และชำระหนี้สินเกี่ยวกับกิจการนิคมให้ทางราชการแล้ว จะได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.3) เป็นหลักฐาน

วิเคราะห์กันว่าเคสกรณีดังกล่าวนั้นเป็นมาอย่างไร

เมื่อทราบระบบที่ดินและการใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐและเอกชนแล้ว เราสามารถแยกกลุ่มคนผู้ถือครองที่ดินในนิคมสร้างตนเอง (น.ค.3) ออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ คือ

กลุ่มที่ 1. ผู้อยู่อาศัยมาก่อนประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 สำหรับบุคคลใดที่อยู่มาก่อนในพื้นที่ดินกล่าวมาก่อนการประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดินนั้น มีสิทธิในการแจ้งเพื่อขอเข้าสู่ขั้นตอนกระบวนการสืบสิทฺธิในที่ดินเพื่อขอออกเป็นโฉนด ซึ่งขั้นตอนนี้จะเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานและยื่นคำร้องเพื่อขออกเป็นโฉนดในที่ดินแต่ต้องพิจารณาก่อนว่ามีประกาศของกรมที่ดินให้สามารถทำเรื่องขอออกโฉนดหรือไม่อย่างไรในพื้นที่ดังกล่าว
ทั้งนี้จะต้องพิจารณาว่าทาง "กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์" นั้นมีการทำเรื่องยกเลิกการทำที่นิคมสร้างตนเอง (น.ค.3) หรือไม่อย่างไร หากมีการทำเรื่องยกเลิกการทำนิคมแล้วที่ดินดังกล่าวอาจจะถูกส่งมอบให้หน่วยงานอื่นดูแลหรือสามารถขออกเป็นโฉนดที่ดินได้ในบางกรณีและต้องมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นกรณีๆ ไป
กลุ่มที่ 2. ผู้มีสิทธิเข้าอยู่และใช้ประโยชน์ในที่ดินตามระเบียบตามแบบที่ดิน (น.ค.3) หลังประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497
สำหรับบุคคลที่เข้าใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่ภายหลังการประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 นั้นจะต้องมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ซึ่งการได้สิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดินของสมาชิกนิคมสร้างตนเองดังกล่าวนี้สามารถใช้ยืนยันต่อหน่วยงานรัฐว่าได้ครอบครองและทำประโยชน์อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว และจะได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.3) เป็นหลักฐาน
กลุ่มที่ 3. บุคคลที่เข้าอยู่โดยไม่ชอบตามกลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 ตั้งแต่แรก กลุ่มนี้จะต้องพิจารณาการเข้าใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องแม้จะมีการเข้าทำประโยชน์อย่างต่อเนื่องและมีการเปลี่ยนมือการครอบครองมีมาหลายทอด แต่การเข้าทำและครอบครองพื้นที่ดังกล่าวนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่แรกย่อมถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายมาตั้งแต่แรกด้วยเช่นกัน
คำว่าที่ดินเปลี่ยนมือ คือ การที่ผู้เข้าทำประโยชน์มีการขายสิทธิ์การเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินซึ่งผู้ซื้อจะต้องเข้าใจก่อนว่าคนที่เข้าทำประโยชน์ในที่ดินนิคมสร้างตนเอง (น.ค.3) เขามีสิทธิ์อยู่อาศัยและถือครองมาก่อนหรือไม่อย่างไร ถ้าผู้ขายสิทธิ์นั้นไม่มีสิทธิ์ตามกฎหมายตั้งแต่แรกแล้ว การเข้าดำเนินการต่อย่อมถือว่าเป็นการบุกรุกที่ดินของรัฐอย่างต่อเนื่องนั่นเองและอาจถูกดำเนินคดีในข้อหาบุกรุกแผ้วถางป่าตามประมวลกฎหมายป่าไม้ 2484 (แก้ไขเพิ่มเติม 2562) ในมาตรา 54 และ/หรือฝ่าฝืนมาตรา 15 ตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ในกรณีนี้

การแสดงตนพิสูจน์การถือครองที่ดิน (น.ค.3) มีอะไรที่จะต้องพิจารณาบ้างในกรณีนี้

1. ต้องพิจารณาก่อนว่าผู้ที่เข้ามาทำกินตามหลักเกณฑ์ตามระเบียบการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 มีกี่ราย และอยู่ก่อนมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดินมาแล้วกี่ราย
ทั้งนี้สามารถตรวจสอบการขอขึ้นทะเบียนจาก สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ได้
2. การเข้าแสดงตนต่อเจ้าหน้าที่ ในฐานะผู้ครอบครองและการทำประโยชน์ในที่ดิน (น.ค.3) หากผู้ใดบริสุทธิ์ใจและสามารถยืนยันเอกสารและหลักฐานว่าเข้ามาอย่างถูกต้องแล้ว ทางเจ้าหน้าที่จะมีหนังสือแจ้งสิทธิ์ให้กับผู้นั้นว่าสามารถครอบครองและใช้ประโยชน์ต่อได้
หากไม่มาแสดงตนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ถือว่าสละสิทธิและในกรณีที่ดิน นิคมสร้างตนเอง (น.ค.3) นั้นเป็นที่ดินของรัฐจะไม่มีการขายสิทธิทำกินให้บุคคลอื่นแต่อย่างใด แต่หากผู้ใดไม่ประสงค์จะใช้ที่ดินดังกล่าวแล้วนั้นจะต้องทำหนังสือแจ้งคืนที่ดินนิคมสร้างตนเอง (น.ค.3) ต่อนายทะเบียนของ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) เท่านั้น

ประเด็นของ "จอนนี่ มือปราบ" จะต้องพิจารณาจากอะไรบ้าง

1. ในการถือครองที่ดินประเภท นิคมสร้างตนเอง (น.ค.3) เป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์และมีคุณสมบัติครบถ้วนแล้วหรือไม่
คำตอบในประเด็นนี้ คือ จะต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงว่าที่ดินประเภท นิคมสร้างตนเอง (น.ค.3) เป็นที่ดินที่มีวัตถุประสงค์ไว้สำหรับผู้ใด
ในกรณีนี้ที่ดินนิคมสร้างตนเอง (น.ค.3) มีไว้ใช้สำหรับผู้ที่เป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์ และไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง หรือมีแต่เพียงเล็กน้อยไม่พอแก่การครองชีพตามมาตรา 35 (1) ถึง (6)

ดังนั้น กรณีของ จอนนี่ มือปราบ เป็นข้าราชการมีอาชีพข้าราชการตำรวจมาก่อน และมีที่ดินทำกินอยู่ก่อนแล้วย่อมไม่ใช่ผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์เข้าใช้ประโยชน์ในที่ดิน นิคมสร้างตนเอง (น.ค.3) ตามระเบียบที่อธิบดีกรมสหกรณ์ที่ดินกำหนด จึงไม่มีคุณสมบัติถือครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวและการเข้าทำประโยชน์ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยนั่นเอง

2. ในการถือครองที่ดินประเภท นิคมสร้างตนเอง (น.ค.3) กำหนดไว้ให้สมาชิกเป็นผู้ถือครองเท่านั้น และไม่สามารถซื้อขาย หรือโอนให้บุคคลภายนอกได้ เว้นแต่ตกทอดสู่ทายาทโดยธรรมเท่านั้น
ในกรณีนี้เท่ากับว่า กรณี จอนนี่ มือปราบ ไม่ใช่ทั้งสมาชิกนิคมสหกรณ์และไม่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ตามประกาศกระทรวง จึงมีสถานะเป็นบุคคลภายนอกที่ทำการบุกรุกที่ดินนิคมตามาตรา 15 ตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 นั่นเอง

ขอบคุณข้อมูล : Sompard Komintarachat

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก คมชัดลึกออนไลน์

ด่วน! รถทัวร์โดยสาร "กรุงเทพฯ-ภูเก็ต" ตกข้างทาง บาดเจ็บ 30 ราย

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

"ไฮโซน้ำหวาน - นาวิน ต้าร์" แจงดราม่า รับไม่ได้ลูกๆเจอชาวเน็ตด่าแรง จ่อดำเนินคดี

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่นๆ

วิดีโอ

โฆษก ฮุน เซน โวยไทยจับ ก๊กอาน อ้างคนสนิทเป็นการปลุกปั่น ลั่นทำไมไม่ไปจับ ทักษิณ บ้าง

BRIGHTTV.CO.TH

สหราชอาณาจักรขู่ดำเนินคดีอิสราเอล หากข้อเสนอหยุดยิงกาซาไม่ประสบผลสำเร็จ

JS100

บุกจับคาผ้าเหลือง วัดดังปราจีนฯ พระ 3 รูป พร้อม 4 ลูกศิษย์วัด จัดตี้เสพยา

Khaosod

พูดกันมากแล้ว “ปฏิวัติการศึกษา” แต่ไม่มีใครคิด เรื่อง โรงเรียน “มัธยมปลายอุตสาหกรรมเฉพาะ”

ไทยพับลิก้า

วอนช่วยเหลือหนุ่มป่วยโรคอ้วน หนักเกือบ 200 กก.ลุกเดินไม่ได้

เดลินิวส์

UN เตือนการเลื่อนกำหนดภาษีของทรัมป์ทำให้ความไม่แน่นอนด้านการค้าทวีความรุนแรงมากขึ้น

JS100

สภาพอากาศวันนี้ -14 ก.ค.ไทยฝนฉ่ำ ฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นสูง 1-2 เมตร

ฐานเศรษฐกิจ

หนุ่มสุรินทร์ขับขี่รถจักรยานยนต์ พุ่งเข้ากลางลำรถเทรลเลอร์ เสียชีวิตกลางถนนเมืองใหม่ จ.ชลบุรี

สวพ.FM91

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...