นักวิจัยสร้าง ใบหน้าชาวเบลเยียม เมื่อ 10,500 ปีก่อนให้ฟื้นกลับมาอีกครั้ง
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกนท์ (Ghent University) ร่วมมือกับศิลปิน ทำการสร้างใบหน้าของผู้หญิงที่เคยอาศัยอยู่ในเบลเยียมเมื่อ 10,500 ปีก่อนขึ้นมาใหม่ เผยให้เห็นว่าความหลากหลายของสีผิวมนุษย์มีอยู่ตั้งแต่ยุคหิน
นักวิจัยค้นพบโครงกระดูกมนุษย์เกือบสมบูรณ์ในปี 1988 ณ ถ้ำ Margaux ใกล้เมือง Dinant ประเทศเบลเยียม หลังจากนั้นอีก 20 ปีต่อมา โครงการ ROAM ซึ่งเป็นทีมสหวิทยาการที่ประกอบด้วยนักโบราณคดี นักมานุษยวิทยาชีวภาพ นักพันธุศาสตร์ และศิลปิน ได้ร่วมมือกันทำให้โครงกระดูกดังกล่าวกลับมามีชีวิตอีกครั้ง
ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเกนท์ ได้ทำการจับมือกับศิลปิน Kennis & Kennis และ Ulco Gimmerveen ทำการปั้นรูปใบหน้าของผู้หญิงจากโครงกระดูกดังกล่าวขึ้นมาใหม่ ด้วยการสแกนกะโหลกศีรษะของเธอ และสร้างแบบจำลองด้วยการพิมพ์ 3 มิติ แล้วจึงให้ศิลปินใช้แบบจำลองดังกล่าวสร้างกล้ามเนื้อและผิวหนัง จากข้อมูลกายวิภาค พันธุกรรม และโบราณคดีที่รวบรวมมาได้
ข้อมูลแรกมาจาก DNA ที่ได้จากกะโหลกศีรษะ ซึ่งเผยให้เห็นว่าร่าง ๆ นี้เป็นของผู้หญิงชาวมาร์โกซ์ ที่มีตาสีฟ้า ผิวสีเข้ม ผมสีเข้ม พวกเขาเชื่อว่าเธอมีอายุระหว่าง 35 - 60 ปีตอนที่เธอเสียชีวิต
ข้อมูลที่สองมาจากซากโบราณวัตถุที่พวกเขาพบจากสถานที่ที่พบโครงกระดูกดังกล่าว ทั้งกระดูก เปลือกหอย เม็ดสี ซากเครื่องมือที่ยังหลงเหลือ และไม้ที่ถูกเผา แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงดังกล่าวเป็นคนยุโรปตะวันตกที่มีชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์ และเก็บของป่าในช่วงเวลากลางวัน
นักวิจัยยังมองเห็นไปถึงยังเทคนิคการล่าสัตว์ของมนุษย์กลุ่มนี้ วิธีที่พวกเขาใช้งานเรือแคนู ไปจนถึงพืชและสัตว์ที่ที่เกี่ยวข้อง
ประเด็นที่น่าสนใจของการจำลองใบหน้าในครั้งนี้ อยู่ที่เรื่องของ “สีผิว” เนื่องจากความเชื่อกี่ยวกับรูปลักษณ์ของชาวยุโรปตะวันตกมักมองว่าบรรพบุรุษของพวกเขา เป็นมนุษย์ที่มีผิวสีเดียวกันท่านั้น การจำลองใบหน้า และสีผิวของผู้หญิงชาวเบลเยียมที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 10,500 ปีก่อน อาจบอกได้ว่ามนุษย์ในโลกฝั่งนี้เอง ก็มีความหลากหลายในเรื่องรูปลักษณ์ภายนอกมานานแล้ว
ผิวของมนุษย์ยุคหินไม่เพียงแต่มีสีเข้มกว่าในพื้นที่เหล่านี้ของยุโรปเท่านั้น แต่ผู้หญิงชาวมาร์โกซ์คนนี้ ยังแสดงให้เห็นว่า สีผิวอาจแตกต่างกันไปในมนุษย์ที่ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ และเก็บของป่าในยุโรปตะวันตกตั้งแต่ยุคหินกลาง
เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่ามนุษย์ทุกคนสืบเชื้อสายมาจากชาวแอฟริกา เชื่อกันว่าความแตกต่างของสีผิวเกิดจากการปรับตัวของมนุษย์หลังการอพยพไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ที่มีระดับรังสี UV ไม่เท่ากัน
อย่างไรก็ตาม แม้มุนษย์และชิมแปนซีมีบรรพบุรุษร่วมกัน แต่สีผิวของมนุษย์ในยุคต้นมีแนวโน้มจะอ่อนลง ก่อนจะเข้มขึ้นในภายหลังเมื่อสูญเสียขนและต้องปรับตัวต่อแสงแดดและเข้มขึ้นเมื่อเราเริ่มผลัดขนเพื่อปกป้องร่างกายจากรังสีที่เป็นอันตรายจากดวงอาทิตย์
แต่ชาวแอฟริกันมีสีผิวที่หลากหลายมาก การศึกษาหนึ่งในปี 2017 เกี่ยวกับสีผิวของชาวแอฟริกันเผยให้เห็นว่า ผิว ดวงตา และผมที่อ่อนกว่าชาวยุโรป เกิดขึ้นแค่ในแอฟริกาเท่านั้น ซึ่งพบเห็นได้ในชาวซานที่มีผิวอ่อน
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีหลักฐานทางกายภาพ นักวิทยาศาสตร์จึงไม่ทราบว่ามนุษย์โบราญในยุโรปตะวันตก มีสีผิวเดียวกันหรือไม่ แบบจำลองของผู้หญิงชาวมาร์โกซ์ จึงแสดงให้เห็นว่า มนุษย์ในยุโรปตะวันตกนั้นมีสีผิวที่แตกต่างกัน
ข้อมูล interestingengineering.com
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- “ยุง มนุษย์ สุนัข” สัตว์อันตรายสุดในโลก สังหารคนมหาศาลทุกปี
- พลังงานนิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้ากับอาวุธนิวเคลียร์ มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
- เลื่อนปล่อยภารกิจ Ax-4 หลังพบการรั่วของออกซิเจนเหลว (LOx) ขณะตรวจสอบระบบ
- เช็กรุ่น iPhone รุ่นไหนรองรับ iOS 26 พร้อมอัปเดตดีไซน์ Liquid Glass สุดล้ำ
- เปิดตัว visionOS 26 พร้อมฟีเจอร์ใหม่ยกระดับ Apple Vision Pro