โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

แพทย์เตือน! "ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ" อย่าชะล่าใจ สัญญาณเสี่ยงโรคร้าย

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา
แพทย์เตือน!

รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ศัลยแพทย์ทรวงอกจากศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง โรงพยาบาลวชิรพยาบาล เตือน! ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ โดยเฉพาะบริเวณมือและเท้า อย่านิ่งนอนใจ อาจเป็นสัญญาณเกิดโรคร้ายได้

โรคเหงื่อมือ-เท้า อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักของคนไทยมากนัก โดยปกติในช่วงฤดูร้อน เมื่ออากาศร้อนร่างกายของเราจะขับเหงื่อออกมาเพื่อช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย แต่สำหรับบางคนการมีเหงื่อออกมากเกินความจำเป็นและเกิดขึ้นตลอดเวลาจะไม่ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของร่างกาย แต่เรามักเรียกว่า “ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ (Hyperhidrosis)” ซึ่งในหลายกรณีเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน

รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ศัลยแพทย์ทรวงอกจากศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กล่าวว่า ประเภทของภาวะเหงื่อออกมากผิดปกตินั้น ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติแบบปฐมภูมิ (Primary Focal Hyperhidrosis) จะมีลักษณะเหงื่อออกมากเฉพาะจุด เช่น ที่มือ รักแร้ และเท้า ภาวะนี้มักเกิดขึ้นเอง โดยไม่มีโรคอื่นเกี่ยวข้อง อีกประเภทหนึ่งคือ ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติแบบทุติยภูมิ (Secondary Hyperhidrosis) จะมีลักษณะเหงื่อออกมากร่วมกับภาวะทางสุขภาพอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง (Hypertension) หรือ ไทรอยด์เป็นพิษ( Hyperthyroidism)

ซึ่งใครที่มีความเสี่ยงต่อภาวะนี้ เช่น มีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติแบบปฐมภูมิ จะพบได้ประมาณ 1-3 % ของจำนวนประชากร และพบในเด็กชายและเด็กหญิงเท่า ๆ กัน อาการโดยรวมมักจะเริ่มแสดงในวัยเด็กหรือวัยรุ่น อาการของภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติแบบปฐมภูมินี้ มักจะมีเหงื่อออกมากอย่างต่อเนื่องในบริเวณที่ได้รับผลกระทบที่เหงื่อออกตลอดเวลา ยกเว้นตอนนอน และอาการจะแย่ลงเมื่ออยู่ในที่อากาศร้อนหรือเมื่อเด็กเครียด

ตำแหน่งที่พบมากสุด มือและเท้า โดยเด็กส่วนใหญ่มักสังเกตเห็นอาการครั้งแรกเมื่อเหงื่อออกที่มือเริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เขียนหนังสือลำบาก จับกระดาษหรือของใช้แล้วเปียกเหงื่อหรือใช้หน้าจอสัมผัสโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่น ๆ ยากขึ้น และเริ่มรู้สึกอายเมื่อต้องใช้มือหรือเท้า ร่วมทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ ซึ่งการรักษาภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ

สามารถรักษาได้ตั้งแต่เด็กโดยมีทางเลือกในการรักษาหลายวิธี ได้แก่

1.การใช้ยาทาภายนอก

2.การใช้ยารับประทาน

3.การฉีดโบท็อกซ์ (Botox)

4.การใช้กระแสไฟฟ้าต่ำเพื่อรักษา (Iontophoresis)

5.การผ่าตัด (Sympathectomy) เป็นการตัดเส้นประสาทที่ส่งสัญญาณไปยังต่อมเหงื่อ

แต่ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ (เป็นทางเดียวที่หายขาดได้)

6.การผ่าตัดในปัจจุบัน !! เราสามารถผ่าตัดผ่านกล้องเล็กเหลือแผลมีขนาด 2-3 มิลลิเมตรเท่านั้น ซึ่งแทบจะมองไม่เห็นแผลเป็น เพื่อทำให้ฟื้นตัวไวและกลับมาใช้ชีวิตใหม่ได้อีกครั้ง

ผู้ที่มีปัญหาภาวะเหงื่อออกมาผิดปกติ ปรึกษาได้ที่ เฟซบุ๊ก ผ่าตัดปอดโดยรองศาสตราจารย์นายแพทย์ศิระ เลาหทัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TNN ช่อง16

“จีโน่” พ่ายเพลย์ออฟ คิม คว้าแชมป์เมเจอร์แรก "เอวิยอง แชมเปี้ยนชิพ"

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ทีมวอลเลย์บอลชายไทย ผงาดคว้าแชมป์ SEA V League 2025

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

สูตรน้ำกระชายขาว สมุนไพรไทยช่วยลดท้องอืด ท้องเฟ้อ บำรุงกำลัง

PPTV HD 36

"ออฟฟิศซินโดรม" ระเบิดเวลาที่แฝงตัวอยู่ในทุกท่านั่งที่เราทำงาน

ฐานเศรษฐกิจ

อย่าชะล่าใจ! 1 สัญญาณเตือนมะเร็ง พบเฉพาะกลางคืน หลายคนมองข้าม

News In Thailand

ครั้งแรกในไทย นวัตกรรม AI สแกนอายุฟันจริง พร้อมแนวโน้มในอนาคต

ฐานเศรษฐกิจ

PM2.5 บุหรี่ไฟฟ้า ควันธูป อะไร "ร้ายที่สุด" ต่อปอดและระบบภูมิคุ้มกัน ?

Amarin TV

เตือน "ไข้ดิน" ช่วงน้ำท่วม เสียชีวิตแล้ว 72 ราย เปิด 5 จังหวัดป่วยสูงสุด

TNN ช่อง16

ข่าวและบทความยอดนิยม

ไทรอยด์ กับความเครียด ความสัมพันธ์ที่ไม่ควรมองข้าม

TNN ช่อง16

คนไทยป่วยความดันโลหิตสูง 7.4 ล้านคน น่ากลัวเพราะมักไม่มีอาการ

TNN ช่อง16

6 โรคผิวหนัง ที่มักเกิดในช่วงหน้าร้อน ป้องกันไว้ก่อนป่วย

TNN ช่อง16
ดูเพิ่ม
Loading...