โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

"เท้ง" นำทัพ "ปชน." ยื่นร่างแก้รัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ มุ่งสร้างศาลรัฐธรรมนูญ-องค์กรอิสระ ที่ไม่เป็นอิสระจากประชาชน

THE ROOM 44 CHANNEL

เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

"เท้ง" นำทัพ "ปชน." ยื่นร่างแก้รัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ มุ่งสร้างศาลรัฐธรรมนูญ-องค์กรอิสระ ที่ไม่เป็นอิสระจากประชาชน บอก ถึงเวลา ‘ปลดชนวนระเบิดเวลา’ ที่ผูกไว้กับอำนาจไม่ยึดโยงประชาชน ด้าน "พริษฐ์" เผย ยังไม่คุย "ภูมิใจไทย" ชี้ ให้เวลาพิสูจน์จุดยืน

วันที่ 7 ก.ค. 68 ที่รัฐสภา นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรค ประชาชน พร้อม สส.พรรคประชาชน แถลงข่าวการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ว่า หลายเหตุการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา เช่น การยุบพรรคตัดสิทธินักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ความล้มเหลวในการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน คำถามต่อการตรวจสอบคดีการโกงการเลือก สว. หรือการขาดความรับผิดรับชอบจากกรณีตึก สตง. ถล่ม ล้วนมีต้นตอมาจากการออกแบบศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระที่ถูกขยายขอบเขตอำนาจในการตรวจสอบสถาบันทางการเมืองอื่น แต่กลับมีที่มาที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน รวมถึงขาดกลไกที่จะถูกประชาชนตรวจสอบได้โดยตรง ซึ่งการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับจะต้องมีการหารือร่วมกันทุกฝ่ายใน ส.ส.ร. แต่พรรคประชาชนเห็นว่ารัฐสภาเดินหน้าแก้ไขได้บาง มาตรา โดยเป็นการแก้ไขแบบคู่ขนานกันไป

ขณะที่นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคประชาชน กล่าวว่า สำหรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เรายื่นในวันนี้ มุ่งสู่การสร้างศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระที่ไม่เป็นอิสระจากประชาชนโดยแบ่งออกเป็น 3 ร่าง

ร่างที่ 1 เป็นการ “เปลี่ยนระบบ” ที่ครอบคลุม 3 ประเด็นหลัก

(1) ที่มาหลากหลาย - ทำให้เรามีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ที่มีความหลากหลายทางความคิด วิชาชีพ และประสบการณ์ โดยการเพิ่มช่องทางในการสรรหา-เสนอชื่อ จากเดิมที่เป็นการเสนอชื่อผ่านคณะกรรมการสรรหาช่องทางเดียว มาเป็นการเสนอชื่อหลายสายจากหลากหลายช่องทาง เช่น ศาล, สส. รัฐบาล, สส. ฝ่ายค้าน, สว.

(2) ไม่ผูกขาดโดย สว. - ทำให้เรามีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระที่ยึดโยงกับประชาชนและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย โดยจะใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภาแทน

(3) ประชาชนตรวจสอบได้ - ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ไม่อยู่เหนือการตรวจสอบ โดยการคืนสิทธิให้ผู้แทนราษฎร และประชาชน 20,000 คน ในการเข้าชื่อเพื่อถอดถอน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ที่ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ผ่านกลไกขององค์คณะพิจารณาถอดถอนที่มีตัวแทนจากหลายฝ่าย

นายพริษฐ์ ยังกล่าวว่า ร่างที่ 2 และร่างที่ 3 เป็นการ ปรับเฉพาะจุดโดยเป็นร่างไม่ผูกขาดกับสว.และประชาชนสามารถเข้าชื่อถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระได้ ซึ่งเป็นการแยกจากร่างที่ 1 ออกมา ซึ่งทั้ง 3 ร่างมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน

" และหวังว่าสมาชิกรัฐสภาทุกคนจะเห็นตรงกันว่าศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระไม่ควรเป็นอิสระจากประชาชน แต่ควรเป็นอิสระจากการถูกครอบงำโดยกลุ่มก้อนทางการเมืองเพียงกลุ่มเดียว และพรรคประชาชนหวังว่าทุกพรรคการเมืองและสมาชิกรัฐสภาทุกคนจะเห็นตรงกันว่าการแก้ไขปัญหาดังกล่าวไม่ใช่ เรื่องเล็ก แต่เป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ ที่เราควรร่วมกันปลดชนวน โดยการบรรจุและผลักดันร่างดังกล่าวในรัฐสภาโดยเร็ว " นายพริษฐ์กล่าว

เมื่อถามว่า การแก้แบบรายมาตราสามารถนำมาทดแทนการแก้ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้หรือไม่ นายพริษฐ์ กล่าวว่า ไม่ได้มาทดแทนการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับแต่เป็นการดำเนินการแบบคู่ขนาน

ส่วนการแก้รายมาตราในเรื่ององค์กรอิสระเป็นเรื่องใหญ่สมาชิกรัฐสภาจะเห็นด้วยกับเรื่องนี้หรือไม่ นายพริษฐ์ ระบุว่า จะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หรือไม่อยู่ที่มุมมอง เพราะร่างที่ 2 และ 3 เป็นการแก้ไขเฉพาะจุดหวังว่าสมาชิกรัฐสภาน่าจะเห็นชอบร่วมกันได้ ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องใช้เสียงสว. 1 ใน 3 คือ 60 เสียงในการผ่านร่าง

เมื่อถามว่าร่างทั้ง 3 ฉบับจากสถานการณ์การเมืองขณะนี้จะพิจารณาทันสมัยการประชุมนี้หรือไม่ นายพริษฐ์ กล่าวว่า สภาชุดนี้จะอยู่นานเท่าไหร่ตนไม่ทราบ แต่ถ้าสภายังคงทำงานอยู่ฝ่ายค้านก็ยังคงทำงานเหมือนเดิม แต่ความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาลคงไม่ทำให้เราทำงานน้อยลง และตอบไม่ได้ว่ารัฐบาลจะอยู่นานเท่าไหร่ แต่หากสภาทำงาน เราก็ยังทำงานอยู่

ส่วนมีการไปคุยกับพรรคภูมิใจไทยแล้วหรือไม่เพราะก่อนหน้านี้ก็ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน นายพริษฐ์ กล่าวว่า การเสนอร่างวันนี้มี สส.พรรคประชาชนร้อยกว่าคนลงนาม แต่หลังจากนี้จะนำร่างไปพูดคุยกับสส.ซีกฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลด้วย ส่วนพรรคภูมิใจไทยก็ต้องใช้เวลาพิสูจน์จุดยืน ต้องดูจากการกระทำ จากผลการลงมติเป็นเครื่องพิสูจน์

สำหรับการปรับแก้กระบวนการสรรหาขององค์กรอิสระมีการปรับเปลี่ยนไปจากเดิมมากน้อยเพียงแค่ไหนนั้น นายพริษฐ์ กล่าวว่า ขั้นตอนการสรรหาจากเดิมเป็นการเสนอชื่อซึ่งเป็นเพียงแค่ช่องทางเดียว โดยมีการตั้งคณะกรรมการสรรหาหนึ่งชุด ประกอบไปด้วยตัวแทนจากหลายฝ่าย ส่วนข้อเสนอของพรรคเปลี่ยนจากการเสนอชื่อให้คณะกรรมการสรรหา เป็นการเสนอชื่อจากหลายช่องทาง เช่น การเสนอชื่อผ่านที่ประชุม การเสนอชื่อจากฝั่ง สส. รัฐบาล และการเสนอชื่อจากสอสอฝ่ายค้าน และการเสนอชื่อจากฝั่งสว.

โดยคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระนั้น นายพริษฐ์ กล่าวว่า ในการออกแบบการปฏิรูปและการออกแบบศาลรัฐธรรมนูญ ในองค์กรอิสระเป็นโจทย์ใหญ่ที่พรรคมองว่า ถ้าจะเป็นการแก้ไขทุกประเด็น ต้องแก้ไขใน ส.ร.ร. ส่วนในเรื่องของคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระไม่มีการปรับมากนัก โดยยกตัวอย่างคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาต(ป.ป.ช.) ที่กำหนดไว้ต้องมีกรรมการ 9 คน ซึ่งมีการปรับในรายละเอียดว่าจะต้องมีบุคคลที่มีประสบการณ์ด้านไหน เท่าไหร่เพื่อให้มีผู้ประกอบวิชาชีพรวมอยู่ในนั้นด้วย แต่ในด้านภาพรวมนั้นไม่มีการปรับ

ขณะที่กฎหมายได้กำหนดไว้ว่าไม่ให้ฝ่ายการเมืองเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการแต่งตั้งองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ ทางพรรคมีการประเมินสถานการณ์นี้อย่างไรบ้าง นายพริษฐ์ กล่าวว่า ตนไม่แน่ใจว่ารัฐธรรมนูญปี 2560 ได้เขียนบทบัญญัติที่ไม่ให้องค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองหรือไม่ เพราะ คนที่คัดเลือกองค์กรอิสระเข้ามาคือสว. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ทำให้เป็นที่ถกเถียงและเกิดคำถามว่าถูกครอบงำจากกลุ่มก้อนทางการเมือง ซึ่งตนอยากให้ตั้งหลักจุดตรงนี้ก่อน เพราะเวลานี้กติกาถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองใดการเมืองหนึ่งหรือไม่

"แต่เป้าหมายของพรรคประชาชน คือการทำให้องค์กรอิสระเป็นอิสระจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ไม่ได้เป็นอิสระจากประชาชน ซึ่งถ้าหากเรามองว่าบุคคลที่จะ เข้าไปดำรงตำแหน่งเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย ซึ่งจะเป็นหลักประกันให้เรามั่นใจว่าคนที่ดำรงตำแหน่งนั้นจะปฎิบัติกับทุกฝ่ายตามกฎหมายบังคับใช้ และสามารถตรวจสอบทุกฝ่ายอย่างทัดเทียมกัน " นายพริษฐ์กล่าว

ขณะที่นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา กล่าวถึงขั้นตอนหลังการรับร่างไปแล้วว่า สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจะตรวจสอบรายชื่อ หากทุกอย่างครบถ้วนสมบูรณ์จะมีการนัดประชุมวิปทั้ง 3 ฝ่าย คือ วิปสว. , วิปฝ่ายค้าน และ วิปรัฐบาล เพื่อตกลงกันว่าจะให้บรรจุระเบียบวาระได้เมื่อไหร่ และเพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอนการบรรจุระเบียบวาระของการประชุมรัฐสภา

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก THE ROOM 44 CHANNEL

“จาตุรนต์” ปลุกสส.รวมพลัง 9 ก.ค.ปลดล็อกกติกา หลือทำประชามติชั้นเดียว

24 นาทีที่แล้ว

อุปทูตฯด้านปราบปรามยาเสพติดสหรัฐฯเข้าพบ แม่ทัพภาคที่ 2

34 นาทีที่แล้ว

พร้อมสู้จนตัวตาย! "จอนนี่ มือปราบ" โพสต์บินด่วนวันพรุ่งนี้ จัดการ 4 ภารกิจ

47 นาทีที่แล้ว
วิดีโอ

น.ส.พรรณิการ์ วานิช - ดับฝันรัฐบาลแห่งชาติ ปิดประตูรัฐประหาร | Interview Room

55 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม