โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

“จาตุรนต์” ปลุกสส.รวมพลัง 9 ก.ค.ปลดล็อกกติกา หลือทำประชามติชั้นเดียว

THE ROOM 44 CHANNEL

เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“จาตุรนต์” ปลุกสส.รวมพลัง 9 ก.ค.ปลดล็อกกติกา เหลือทำประชามติชั้นเดียว ลุยแก้รัฐธรรมนูญ

วันที่ 7 ก.ค. 2568 นายจาตุรนต์ ฉายแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย(พท.) โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กว่า ประชุมสภาฯสัปดาห์นี้ (9ก.ค.) ขอให้ทุกท่านร่วมกันปลุกพลัง สส. เตรียมโหวตครั้งสำคัญในการปลดล็อกกติกาประชามติ เดินหน้าสู่การแก้รัฐธรรมนูญ

เปิดประชุมสภาฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้เสนอเรื่องด่วนให้สภาผู้แทนราษฎร นำร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติฯ ขึ้นมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง เพื่อลงมติยืนยันร่างที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้วตามมาตรา 138 (2) ของรัฐธรรมนูญ ในการปลดล็อกกติกาออกเสียงประชามติให้เป็น "ระบบเสียงข้างมากธรรมดา" (Simple Majority) หลังจากครบ 180 วันที่ร่างถูกยับยั้งไว้

จุดเริ่มต้นของ "ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ฉบับที่ … พ.ศ. …. (ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติฯ)"เกิดจากจากการเสนอญัตติของทั้งคณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ พรรคเพื่อไทย พรรคประชาชน และพรรคภูมิใจไทย

ในการพิจารณาของชั้นกรรมาธิการได้พิจารณาสาระสำคัญให้ใช้กติกาการออกเสียงประชามติด้วยระบบเสียงข้างมากธรรมดา (Simple Majority) ที่ระบุว่า “มาตรา13 การออกเสียงที่จะถือว่ามีข้อยุติในเรื่องที่จัดทำประชามติ ให้ใช้เสียงข้างมากของผู้มาออกเสียง โดยคะแนนเสียงข้างมากต้องสูงกว่าคะแนนเสียงไม่แสดงความเห็นในเรื่องที่จัดทำประชามตินั้น”

ข้อสรุปนี้ไม่ได้ทำให้การทำประชามติผ่านไปโดยง่ายเป็นพิเศษหรือไม่สง่างาม แต่กลับเป็นกติกาที่สร้างความชอบธรรมมากยิ่งขึ้น เพราะการทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ครั้งคือปี 2550 และปี 2560 กำหนดไว้ว่าให้ใช้เสียงข้างมากเป็นอันผ่านประชามติ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการร่างรัฐธรรมนูญจะต้องไปทำประชามติ โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดว่าจะต้องไปทำประชามติโดยมีเสียงข้างมากกี่ชั้น

เมื่อไม่ได้กำหนดเช่นนี้ ทำให้สิ่งที่ควรจะเป็นหลักการคือ “ต้องย้อนไปดูว่ารัฐธรรมนูญที่เป็นตัวแม่คือร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันปี 2560 ตอนทำประชามติใช้หลักเกณฑ์อย่างไร ก็ไม่ควรใช้หลักเกณฑ์ที่ต่างกัน” ทั้งไม่ควรทำให้ง่ายหรือยากขึ้น

หลักการที่เป็นเหตุเป็นผลและชอบธรรมนี้ทำให้ในวันที่ 21 สิงหาคม 2567 สภาผู้แทนราษฎรทั้งสภาเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ประชามติฯ ทั้ง 3 วาระโดยเสียงเอกฉันท์ สร้างความหวังว่าเรากำลังจะเดินหน้าสู่การแก้รัฐธรรมนูญได้โดยไม่ติดขัด แต่เมื่อร่างส่งไปในชั้นวุฒิสภากลับมีมติเสียงข้างมาก “พลิกกลับ” ยืนยันให้ใช้ระบบเสียงข้างมากสองชั้น ที่กำหนดว่าผู้มาใช้สิทธิ์ต้องเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์

กติกานี้มีผลเท่ากับว่าคนไม่มาออกเสียงและคนไม่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญกลายเป็นฝ่ายเดียวกัน ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญก็อาจไประดมคนให้นอนอยู่บ้านเพื่อได้คะแนนไปรวมกับผู้ไม่ออกเสียง จนอาจทำให้การทำประชามติเพื่อแก้รัฐธรรมนูญครั้งนั้นมีผู้มาออกเสียงน้อยมาก และท้ายที่สุดแม้การลงประชามติเห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญจะมีคะแนนเสียงท้วมท้น แต่ก็ต้องตกไปเพราะกติกาที่มีปัญหานี้

แน่นอนว่าเสียงส่วนใหญ่ของสภาผู้แทนราษฎร “ไม่เห็นชอบ” กับร่างดังกล่าวของสว. นำไปสู่การตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันระหว่างสองสภาเพื่อพิจารณากฎหมายนี้อีกครั้ง แต่กรรมาธิการเสียงข้างมากได้ยืนยันเนื้อหาตามที่ สว. ได้แก้ไขไว้ และได้ส่งร่างกลับมาให้แต่ละสภาพิจารณาอีกครั้ง

แม้วุฒิสภาจะมีมติเห็นชอบร่างดังกล่าว แต่สภาผู้แทนราษฎรเรายังคงยืนยันในหลักการอีกครั้งโดยที่ไม่กลัวว่าการแก้รัฐธรรมนูญจะล่าช้า เพราะถ้าหากว่าเห็นชอบตามวุฒิสภาไปอาจจะทำให้การทำประชามติเกิดขึ้นเร็ว แต่นั่นคือการปิดประตูตอกฝาโลงการแก้รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นเรื่องที่จะเป็นปัญหาใหญ่หลวงมากสำหรับประเทศไทย

ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติฯ จะกลับมาพิจารณาอีกครั้งในการประชุมสภาฯสัปดาห์นี้ (9ก.ค.2568) ขอให้ทุกท่านติดตามเพื่อสนับสนุนให้สภาผู้แทนราษฎรยืนยันกติกาออกเสียงประชามติที่เป็นธรรม เปิดทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เกิดขึ้นให้ได้ครับ

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก THE ROOM 44 CHANNEL

อุปทูตฯด้านปราบปรามยาเสพติดสหรัฐฯเข้าพบ แม่ทัพภาคที่ 2

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

พร้อมสู้จนตัวตาย! "จอนนี่ มือปราบ" โพสต์บินด่วนวันพรุ่งนี้ จัดการ 4 ภารกิจ

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความยอดนิยม