โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สังคม

สภาพัฒน์ ชำแหละ “ภาษีทรัมป์” กระทบ 4 ช่องทางสะเทือนเศรษฐกิจไทย

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 15 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประเมินผลกระทบเกี่ยวกับการดำเนินมาตรการกีดกันทางภาษีของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะช่องทางการส่งผ่านผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวต่อเศรษฐกิจไทย โดยระบุว่า ปัจจุบัน สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทยตลอดช่วง 6 ปีที่ผ่านมา (ปี 2562 - 2567) รองลงมาคือ จีน

ขณะที่การลงทุนโดยตรงของสหรัฐฯ ในไทย ถือเป็นอันดับ 3 ของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทย สะท้อนให้เห็นบทบาทที่สำคัญของสหรัฐฯ ทั้งต่อการส่งออกและการลงทุนในไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ดังนั้น การปรับเปลี่ยนนโยบายการค้าและการลงทุนของสหรัฐฯ (นโยบาย America First) ย่อมส่งกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาข้อมูลอัตราภาษีนำเข้าใหม่ (รวมภาษีตอบโต้และอัตราภาษีที่แท้จริงเดิม) ภายหลังจากการที่สหรัฐฯ ได้ประกาศบังคับใช้มาตรการภาษีเฉพาะสินค้าสำหรับสินค้าที่มีความสำคัญต่อห่วงโซ่การผลิตของสหรัฐฯ

รวมถึงมาตรการภาษีตอบโต้ทางการค้า (Reciprocal Tariff) ต่อประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และอัตราการพึ่งพิงสหรัฐฯ พบว่า ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการส่งออกสินค้า เนื่องจากการมีอัตราพึ่งพิงการค้ากับสหรัฐฯ สูง และยังได้รับผลกระทบจากการถูกจัดเก็บภาษีตอบโต้ทางการค้าในระดับสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น (อัตราภาษี 36%)

ทั้งนี้ ในการประเมินช่องทางการส่งผ่านผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางภาษีของสหรัฐฯ ต่อการค้าระหว่างประเทศของไทยในเบื้องต้น คาดว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะถูกส่งผ่านมายังเศรษฐกิจไทยผ่าน 4 ช่องทางสำคัญ ได้แก่

  • การลดลงของการส่งออกไทยไปสหรัฐฯที่เกิดจากการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากไทยโดยตรง
  • การลดลงของการส่งออกไทยไปจีนจากการเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การผลิตให้กับสินค้าจีน
  • การเพิ่มขึ้นของสินค้านำเข้าจากจีนจากการระบายสินค้าส่งออก
  • การเสียส่วนแบ่งตลาดในการส่งออกไปตลาด ASEAN

โดยมีรายละเอียดการส่งผ่านผลกระทบของแต่ละช่องทาง ดังนี้

1. การลดลงของการส่งออกไทยไปสหรัฐฯ ที่เกิดจากการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากไทยโดยตรง

หลังจากการเก็บอัตราภาษีพื้นฐาน (Universal Tariff) ในอัตรา 10% กับสินค้านำเข้าจากไทยทุกรายการ รวมถึงกลุ่มสินค้าส่งออกหลักที่สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้าแบบเฉพาะเจาะจง (Sectoral Tariff) เพิ่มเติมไปก่อนหน้า เช่น กลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน และกลุ่มผลิตภัณฑ์เหล็กและอะลูมิเนียม ที่เก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 25%

ขณะที่ในระยะต่อไปยังต้องติดตามสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ที่ข้อมูลในปี 2567 พบว่า ไทยส่งออกสินค้ากลุ่มดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วน 4.4% ของสินค้าส่งออกรวมไปสหรัฐฯ ซึ่งอยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลักษณะการทุ่มตลาดและการอุดหนุนของสหรัฐฯ ในเดือนมิถุนายน 2568

เมื่อพิจารณาข้อมูลในปี 2567 พบว่า กลุ่มสินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ประกอบด้วยกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า กลุ่มเครื่องจักร อุปกรณ์และส่วนประกอบ กลุ่มสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นสำคัญ

โดยหากพิจารณาเป็นรายสินค้า จะพบว่า หน่วยเก็บเครื่องประมวลผลข้อมูล (สัดส่วนการส่งออกของไทยไปสหรัฐ 8.7% ของการส่งออกไปสหรัฐฯ รวมของไทย) เครื่องจักรสำหรับควบคุมเสียงและภาพ (สัดส่วน 8.7%) ยางรถยนต์นั่ง (สัดส่วน 3.7%) โทรศัพท์ อุปกรณ์และชิ้นส่วน (สัดส่วน 3.6%) เครื่องจักร อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (สัดส่วน 2.7%) และยางรถบัสหรือรถบรรทุก (สัดส่วน 2.3%)

ล้วนเป็นสินค้าที่ไทยพึ่งพาตลาดส่งออกไปสหรัฐฯ ในระดับสูง โดยเฉพาะหน่วยเก็บเครื่องประมวลผลข้อมูล ยางรถยนต์นั่ง และยางรถบัสหรือบรรทุก ที่ไทยมีสัดส่วนการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ สูงถึง 46.48% 52.78% และ 45.98% ของตลาดทั้งหมด ตามลำดับ

ขณะที่สินค้าในกลุ่มดังกล่าวอยู่ภายใต้มาตรการทางกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ตามมาตรา 232 ในกลุ่มสินค้าเฉพาะ (Automobiles and Automobile Parts Tariff) จึงเป็นกลุ่มสินค้าที่จะได้รับผลกระทบจากมาตรการทางการค้าของสหรัฐฯ ต่อไทยในระดับสูง

อย่างไรก็ดี พบว่า ไทยยังมีตลาดส่งออกอื่นที่เป็นทางเลือกสำหรับการส่งออกสินค้า อาทิ เครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติและชิ้นส่วน ที่มีตลาดจีน ฮ่องกง และสิงคโปร์ เป็นตลาดที่มีความสำคัญรองลงมา ยางรถยนต์นั่ง ที่มีตลาดเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และมาเลเซีย เป็นตลาดที่มีความสำคัญรองลงมา และยางรถยนต์รถบัสหรือรถบรรทุก ที่มีตลาดออสเตรเลีย รัสเซีย และเวียดนาม เป็นตลาดที่มีความสำคัญรองลงมาเป็นทางเลือกในตลาดส่งออก

2. การลดลงของการส่งออกไทยไปจีนจากการเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การผลิตให้กับสินค้าจีน

การลดลงของการส่งออกไทยจากการเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การผลิตของประเทศที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการส่งออกสินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางของไทยไปยังจีน เพื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปและส่งออกไปยังสหรัฐฯ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบหากสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้ากับจีนในอัตรา 30% ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2568

ขณะเดียวกันจีนถูกดำเนินมาตรการเรียกเก็บภาษีในกลุ่มสินค้าสำคัญ เช่น ยานยนต์และชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์เหล็กและอะลูมิเนียมเช่นเดียวกับไทย

จากการพิจารณา พบว่า สินค้าขั้นกลางสำคัญที่ไทยส่งออกไปจีน ประกอบด้วย กลุ่มสินค้ายานยนต์ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า กลุ่มเครื่องจักรและก่อสร้าง และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค โดยเมื่อจีนมีการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ลดลง จะส่งผลให้ไทยส่งออกไปยังจีนลดลงด้วย

ทำให้ในระยะถัดไปหากสหรัฐฯ และจีนมีการดำเนินมาตรการทางการค้าระหว่างกันที่รุนแรงมากขึ้น สินค้ากลุ่มดังกล่าวนี้มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย โดยเฉพาะยางรถยนต์นั่ง ซึ่งไทยมีสัดส่วนการส่งออกไปจีน 2.4% และเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ (เงิน) ซึ่งไทยมีสัดส่วนการส่งออกไปจีนร้อยละ 1.8 เป็นต้น

3. การเพิ่มขึ้นของสินค้านำเข้าจากจีนจากการระบายสินค้าส่งออก

โดยเฉพาะสินค้าจีนที่จะเข้ามาในกลุ่มอาเซียนมากขึ้น โดยไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีโอกาสจะได้รับผลกระทบมากขึ้น เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา กลุ่มสินค้านำเข้าสำคัญ ๆ จากจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มสินค้า สอดคล้องกับราคาสินค้านำเข้าที่ปรับตัวลดลง

โดยในปี 2567 กลุ่มสินค้าที่มีสัญญาณการนำเข้าจากจีนเร่งตัวขึ้น ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนการนำเข้าจากจีนในระดับสูง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าวัตถุดิบ และสินค้าอุปโภคบริโภคที่สินค้ามีสัญญาณการเข้ามาของสินค้านำเข้าจากจีนมีสัดส่วนสูงถึง 69.7% และ 63.3% ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้าในกลุ่มสินค้า พบว่า กลุ่มที่การนำเข้าเร่งตัวขึ้นในหมวดสินค้าวัตถุดิบ ได้แก่ ชิ้นส่วนทำด้วยเหล็กชิ้นส่วนที่ทำจากพลาสติก เหล็กแผ่นรีด และสิ่งก่อสร้างและส่วนประกอบ ล้วนเป็นสินค้าที่มีปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นระดับสูง 33.5% 46.6% 36.8% และ 109.4% ตามลำดับ

ขณะที่ราคานำเข้าลดลง 2.7% 17.5% 21.0% และ 19.3% ตามลำดับ ซึ่งในกรณีสินค้านำเข้ากลุ่มเหล็กและผลิตภัณฑ์จะอยู่ภายใต้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ( Anti-Dumping: AD) อยู่แล้ว

ขณะเดียวกัน กลุ่มที่มีสัญญาณการนำเข้าจากจีนเร่งตัวในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะชิ้นส่วนทำจากพลาสติก และอาหารปรุงแต่งที่มีปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นระดับสูง

โดยหลังจากที่สหรัฐฯ มีการประกาศขึ้นภาษีทุกสินค้าจากจีน 30% (ลดลงจาก 145% เป็นเวลา 90 วัน) เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2568 อาจจะทำให้สินค้าที่มีสัญญาณการทุ่มตลาดมีความรุนแรงยิ่งขึ้น และจะส่งกระทบต่อผู้ประกอบการไทยในประเทศ จึงควรเฝ้าและระวังและติดตามสินค้าในกลุ่มดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

4. การเสียส่วนแบ่งตลาดในการส่งออกไปตลาด ASEAN

การเสียส่วนแบ่งตลาดในการส่งออกไปตลาด ASEAN (สัดส่วน 23.3% ของตลาดส่งออกรวมของไทย ในปี 2567) โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่ไทยพึ่งพาตลาดส่งออกไปอาเซียน 9 ประเทศ เมื่อจำแนกออกเป็นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าขั้นกลางและวัตถุดิบ และสินค้าทุน ในปี 2567 พบว่า สินค้าหลายรายการที่การส่งออกของไทยไปอาเซียนปรับตัวลดลงแต่การส่งออกโดยจีนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น หากมาตรการกีดกันทางการค้ายังมีความยืดเยื้อและรุนแรงมากขึ้น อาจส่งให้ไทยเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับสินค้าจากจีน

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

ซัมซุง อวดโฉม Galaxy Z Flip7 สมาร์ทโฟนจอพับ FlexWindow แบบไร้ขอบ

29 นาทีที่แล้ว

ซัมซุง เปิด Galaxy Z Fold7 สมาร์ทโฟนจอพับบางเบาสุดในประวัติศาสตร์

44 นาทีที่แล้ว

"ทักษิณ" อ่านการเมือง ยังไม่ถึงทางตัน มั่นใจ "อุ๊งอิ๊งค์" รอดคดีคลิปเสียง

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“ทักษิณ” วางเป้ากู้เศรษฐกิจ บี้ตั้ง AMC แก้หนี้ประชาชน ดันศก.ใต้ดิน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสังคมอื่นๆ

“ทักษิณ” วางเป้ากู้เศรษฐกิจ บี้ตั้ง AMC แก้หนี้ประชาชน ดันศก.ใต้ดิน

ฐานเศรษฐกิจ

“ทักษิณ” ลั่นไทยไม่เทหมดหน้าตักเจรจา “ภาษีทรัมป์” ขอสหรัฐฯ แฟร์ ๆ

ฐานเศรษฐกิจ

นารีพิฆาต "สีกากอล์ฟ" กับจักรวาลพระ พบคลิปลับ 8 หมื่นไฟล์ ฉาววงการผ้าเหลือง

THE ROOM 44 CHANNEL

นี่แหละความรักของแม่ ลูกชายมาเฝ้าไข้คุณแม่ แต่แม่กลับทำในสิ่งที่ทำชาวเน็ตน้ำตาซึม

สยามนิวส์

เปิดประวัติ พระเทพพัชราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดชูจิตธรรมาราม

สยามนิวส์

รฟม. ลงพื้นที่ตรวจความปลอดภัยการก่อสร้างช่วงเวลากลางวัน (Day Audit) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

สวพ.FM91

พิชัย เตรียมมาตรการรับภาษีสหรัฐ สั่งเอกชนเช็คผลกระทบผู้ส่งออก

ฐานเศรษฐกิจ

เพจดัง สรุปไทม์ไลน์ “พระชั้นผู้ใหญ่สึกแล้ว 5 รูป” ปมคดีฉาวสีกา ก.

ข่าวเวิร์คพอยท์ 23

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...