โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

รู้ก่อนเลือก! น้ำมันพืชแบบไหน? ดีต่อหัวใจและลดคอเลสเตอรอล

PPTV HD 36

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา
การเลือกใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันดีอย่างพอเหมาะ ช่วยลดคอเลสเตอรอล เสริมวิตามิน และลดความเสี่ยงโรคหัวใจและมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กรดไขมันบางชนิดเป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างได้ ขณะที่บางชนิดก็มีส่วนทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้ ซึ่งเรามักถูกสอนมาให้เข้าใจว่า ไม่ควรรับประทานน้ำมันเยอะ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ หากทานน้ำมันบางชนิดแต่พอดี สามารถดูแลสุขภาพโดยรวมได้ เพราะมีน้ำมันพืชบางชนิดสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอล เพิ่มวิตามินให้กับร่างกาย และลดการเกิดอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และมะเร็งได้

อาหารต้านมะเร็งสำหรับผู้หญิง เส้นใยธรรมชาติ อุดมสารต้านอนุมูลอิสระ

“สะตอ” ผักพื้นบ้านกลิ่นแรง ช่วยลดความดัน น้ำตาลในเลือด

"ต้นหอม" ผักโรยหน้า อุดมไปด้วยประโยชน์ และสรรพคุณแน่น!

ส่วนประกอบน้ำมันที่ควรสังเกตก่อนซื้อ

  • ประเภทของกรดไขมัน
  • สารอาหารและวิตามินในน้ำมันพืช
  • ประเภทของกรดไขมันในน้ำมันพืช

กรดไขมันสำคัญอย่างไร?

กรดไขมันจะทำให้คุณสมบัติของน้ำมันต่างกัน และส่งผลต่อสุขภาพแตกต่างกันไป จากการวิจัยของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญพบว่า

  • กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated Fatty Acid :SFA) จะ เพิ่ม ระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated Fatty Acid :PUFA ) จะ ลด ระดับคอเลสเตอรอลทุกชนิดในเลือดรวมทั่งคอเลสเตอรอลที่ดีด้วย
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดียว (Monounsaturated Fatty Acid : MUFA ) จะ ลด ระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีเท่านั้น

ความจริงคือ กรดไขมันที่ดีสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลได้ แต่เราก็ไม่ควรรับประทานโดยหวังว่าจะได้ไปลดโคเลสเตอรอลที่สูงอยู่ได้ เพราะน้ำมันพืชทุกชนิด มีพลังงาน 9 กิโลแคลอรี่ต่อน้ำหนัก 1 กรัม หรือ 1 ช้อนชาให้พลังงานถึง 45 กิโลแคลอรี่เลยทีเดียว

สารอาหารและวิตามิน ในน้ำมันพืช

นอกจากกรดไขมันแล้ว ในน้ำมันพืชยังมีวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระ

  • วิตามินอี (VITAMIN E) กลุ่มโทโคฟีรอล และกลุ่มโทโคไตรอีนอล ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็ง และช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้อีกด้วย
  • โอรีซานอล (ORYZANOL) ซึ่งสถาบันวิจัยบรานสวิคส์ แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยและพบว่า มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าวิตามินอีถึง 6 เท่าในสภาวะที่อยู่ในน้ำ
  • ไฟโตสเตอรอล (PHYTOSTEROL) ช่วยลดโคเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL-C )

เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ องค์การอนามัยโลก(WHO) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(FAO) และสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา จึงได้แนะนำสัดส่วนของกรดไขมันที่ควรบริโภคประจำวัน คือ SFA: MUFA:PUFA เท่ากับ <10:10-15:<10 ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน

ตารางปริมาณกรดไขมันแต่ละประเภทในน้ำมันพืชต่างๆ (หน่วย:ร้อยละ)

  • น้ำมันรำข้าว

  • SFA 14 MUFA 77 PUFA 9

  • น้ำมันมะกอก

  • SFA 18 MUFA 45 PUFA 37

  • น้ำมันข้าวโพด

  • SFA 13 SFA 20 PUFA 62

  • น้ำมันถั่วเหลือง

  • SFA 16 SFA 24 PUFA 60

  • น้ำมันเมล็ดทานตะวัน

  • SFA 12 SFA 21 PUFA 67

  • น้ำมันปาล์ม

  • SFA 50 SFA 39 PUFA 10

ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจเลือกซื้อน้ำมันพืชครั้งต่อไป ควรใช้เวลาศึกษาข้อมูลโภชนาการที่ฉลากก่อนตัดสินใจซื้อ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้น้ำมันพืชเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริง

ใช้น้ำมันอย่างไร? ให้ถูกประเภทและถูกวิธี

น้ำมันที่ใช้ปรุงอาหารให้ดีกับสุขภาพนั้น ควรเป็นน้ำมันที่มีสัดส่วนของกรดไขมันอิ่มตัวต่ำ เนื่องจากไขมันชนิดนี้ทำให้ร่างกายสร้างโคเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดชนิดเลว (LDL-C) ส่วนน้ำมันที่ใช้ในการผัดหรือทอด ควรเป็นน้ำมันที่มีจุดเกิดควัน (smoke point) สูงเนื่องจากน้ำมันที่มีจุดเกิดควันต่ำไม่ทนความร้อน ทำให้เสี่ยงที่จะเกิดสารก่อมะเร็งได้มากกว่าน้ำมันที่มีจุดเกิดควันสูง

กลุ่มที่ใช้ไฟแรงได้ จุดเกิดควัน : องศาเซลเซียส

  • น้ำมันรำข้าว 254
  • น้ำมันเมล็ดชา 252
  • น้ำมันเมล็ดทานตะวัน 238

กลุ่มที่ใช้ไฟปานกลาง จุดเกิดควัน:องศาเซลเซียส

  • น้ำมันดอกคำฝอย 232
  • น้ำมันคาโนลา 218
  • น้ำมันวอลนัท 204
  • น้ำมันถั่วเหลือง 182
  • น้ำมันถั่วลิสง 177
  • น้ำมันงา 177
  • น้ำมันมะพร้าว 177
  • น้ำมันหมู 183-205 (ไม่แนะนำ เนืองจากมีไขมันอิ่มตัวสูง)

กลุ่มที่ใช้ไฟอ่อน จุดเกิดควัน:องศาเซลเซียส

  • น้ำมันมะกอก 163
  • น้ำมันข้าวโพด 160

กลุ่มที่ไม่ควรใช้ผัด จุดเกิดควัน:องศาเซลเซียสA

  • น้ำมันแฟลกซ์สิด 107

ข้อมูลดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจเพื่อสุขภาพที่ดี ที่สำคัญควรรับประทานน้ำมันแต่พอดี และอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ สลับกันการกินอาหารที่ผ่านความร้อนจากวิธีอื่น เช่น การต้ม การนึ่ง ก็จะช่วยให้สุขภาพของคุณดีขึ้นได้แน่นอนค่ะ รู้อย่างนี้ครั้งหน้าก่อนเลือกซื้อน้ำมันอย่าลืมสังเกตฉลากและชนิดที่ดีต่อสุขภาพและเหมาะกับประเภทอาหารด้วยนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 3

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก PPTV HD 36

โฆษก ทบ. ขอสื่อเลี่ยงเรียกนายพลว่า "บิ๊ก" เหตุไม่เหมาะกับยุคสมัย

40 นาทีที่แล้ว

ราคาทองวันศุกร์ที่ 18 ก.ค. 2568 ปิดการซื้อขายบวก 100 บาท

42 นาทีที่แล้ว

ฮือฮา! โซเชียลแห่แชร์ "ผู้กองมายด์" นางฟ้าตำรวจจราจรสวยตรงปกไม่จกตา

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ศาลอาญานักการเมือง เรียก “วิษณุ เครืองาม” เข้าไต่สวน 30 ก.ค.นี้

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

บุหรี่ซอมบี้ ภัยร้ายพันธุ์ใหม่ผสมยานำสลบ "เอโทมิเดต" อันตรายถึงชีวิต

Amarin TV

เรื่องใหม่ คุณแม่ต้องรู้ เพิ่มวันลาคลอด- ปรับเกณฑ์น้ำหนัก

กรุงเทพธุรกิจ

เตือนหน้าฝน! ระวังโรคไข้ดิน 2568 ป่วยแล้ว 308 ราย คร่าชีวิต 7 ราย

PPTV HD 36

ภาวะเลือดหนืด อาจนำไปสู่โรคร้ายแรง

สยามรัฐวาไรตี้

ฝันถึงแฟนเก่า ไม่ใช่เพราะคิดถึง แต่สมองกำลังเคลียร์ความจำ

TNN ช่อง16

แพทย์เตือน! น้ำผลไม้ 1 ชนิด ไม่ผ่านการรับรองอันตรายถึงชีวิต

News In Thailand

ไอเดียปรับ “อาหารนอกบ้าน” ให้คลีนได้! เพิ่มใยอาหาร โปรตีนคุณภาพ

PPTV HD 36

"สมศักดิ์" ลุยใต้ จัด 11 คลินิกเชิงรุกบริการทุกช่วงวัยฯ

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

ผลวอลเลย์บอลชายไทย ชนะ กัมพูชา 3-1 เซต ศึก ซี วี ลีก 2025 สนาม 2

PPTV HD 36

อดีตเจ้าอาวาสวัดใหญ่จอมปราสาทสึกแล้วปม "สีกากอล์ฟ" ยันยังไม่ปาราชิก

PPTV HD 36

สมัครงาน 2568 : การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รับสมัครพนักงาน 33 อัตรา

PPTV HD 36
ดูเพิ่ม
Loading...