DELTA โอกาสโตแรง JPMorgan ชี้โดดเด่น
หุ้นวิชั่น
อัพเดต 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา • HoonVision | หุ้นวิชั่น - หุ้น ข่าวหุ้น หุ้นไทยวันนี้ หุ้นวันนี้ หุ้นเด่น วิเคราะห์หุ้น ธุรกิจ การเงิน เศรษฐกิจ การลงทุน ดัชนีราคาหุ้นหุ้นวิชั่น - DELTA จ่อประกาศงบ 25 ก.ค.68 นี้ ด้าน JPMorgan มอง DELTA โดดเด่น ในฐานะผู้ผลิตอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดในไทย โอกาสเติบโตจาก รับเมกะเทรนด์ AI–EV หนุนรายได้โตต่อเนื่อง มองรายได้ปีนี้โต 9% คาดกำไรเฉลี่ยพุ่ง 23% ต่อปี ถึงปี 2570 ชูราคาป้าหมาย 154 บาท
บริษัทหลักทรัพย์ เจพีมอร์แกน (ประเทศไทย) จำกัด JPMorgan ได้เริ่มจัดอันดับหุ้นDelta Electronics Thailand PCL ด้วยคําแนะนํา "เพิ่มน้ำหนักการลงทุน" และกําหนดราคาเป้าหมายที่ 154.00 บาท ธนาคารเพื่อการลงทุนมองว่า Delta Electronics Thailand อยู่ในตําแหน่งที่ดีในการคว้าโอกาสการเติบโตเชิงโครงสร้าง ในฐานะผู้ผลิตอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดในไทยที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคอาเซียน และเป็นผู้ผลิตโซลูชันพลังงานชั้นนําสําหรับศูนย์ข้อมูลและยานยนต์ไฟฟ้า
JPMorgan คาดการณ์ว่ารายได้ของ Delta จะเติบโต 9% ในปีงบประมาณ 2568, 18% ในปีงบประมาณ 2569 และ 12% ในปีงบประมาณ 2570 โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการที่ยั่งยืนสําหรับโซลูชันพลังงานของบริษัท ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับ AI ที่แข็งแกร่งและการลงทุนอย่างต่อเนื่องจากผู้ให้บริการคลาวด์
คาดว่าการเติบโตนี้จะผลักดันให้เกิดอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีของกําไร (CAGR) ที่ 23% ในช่วงปีงบประมาณ 2568-2570 พร้อมกับการขยายตัวของอัตรากําไร เมื่อ Delta รับคําสั่งซื้อระบบทําความเย็นด้วยของเหลวในปี 2569 ตาม JPMorgan, พรีเมียมในการประเมินมูลค่าของ Delta มีความเหมาะสม สะท้อนถึงคุณค่าความหายากในฐานะตัวแทนโดยตรงเพียงรายเดียวในตลาดศูนย์ข้อมูลและเซิร์ฟเวอร์ AI ควบคู่ไปกับตําแหน่งหลักในดัชนีสําคัญของไทย—SET50 และ SET100
บริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย พลัส จำกัด คาด บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (DELTA) จะมีกําไรปกติในงวดไตรมาส 2/2568 ที่ 5.3 พันล้านบาท (+7% QoQ, -11% YoY) กําไรที่โต QoQ เกิดจากยอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์สําหรับ AI และ ดาต้า เซนเตอร์ ที่ยังเติบโตแรง ซึ่งมากพอที่จะชดเชยอัตรากําไรขั้นต้น (มาร์จิ้น) ที่ชะลอลง ส่วนกําไรที่ต่ำ YoY เป็นเพราะมาร์จิ้นถูกกดดันจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และการตั้งสํารองด้อยค่าสินค้าสําหรับรถยนต์ EV อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายขายและบริหารสูงขึ้น
อย่างไรก็ตามงวดไตรมาส 2/2568 นี้ บริษัทจะมีค่าใช้จ่ายพิเศษรวมราว 841 ล้านบาท (ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 341 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายจากการเจรจายุติคดีความ ที่คาดราว 500 ล้านบาท) จะฉุดให้กําไรสุทธิลดเหลือ 4.5 พันล้านบาท (-19% QoQ, -32% YoY)
แนวโน้มกําไรปกติในไตรมาส 3/2568 คาดโตขึ้นได้ทั้ง QoQ และ YoY เนื่องจากคาดยอดขายจะได้ผลบวกจากฤดูกาล ที่โดยปกติแล้วไตรมาส 3 ของทุกปี จะเป็นช่วง High season ของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนฯ ขณะที่ภาษีตอบโต้จากสหรัฐได้เลื่อนการบังคับใช้จากเดิมต้น ก.ค. 2568 เป็น ส.ค. 2568 จึงเชื่อว่าลูกค้าเป้าหมายในสหรัฐของ DELTA จะเร่งสั่งซื้อสินค้า ในระหว่างที่ยังไม่ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้ โดยสินค้าหลักของ DELTA คือ สินค้าเพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสินค้าที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญ และส่วนใหญ่จะเป็นสัญญาระยะยาวกับลูกค้า โดยเฉพาะสินค้าสําหรับดาต้าเซ็นเตอร์ซึ่งยังมีแนวโน้มในการเติบโตสูง ส่วนค่าเงินบาทน่าจะไม่ได้ผันผวนมากนักจากไตรมาส 2/2568 และความเสี่ยงที่จะมีค่าใช้จ่ายทางคดีความกับคู่กรณีในสหรัฐได้หมดไปแล้ว หลังเจรจายุติกับคู่กรณีได้ตั้งแต่ไตรมาส 2/2568
คงคําแนะนํา “Underperform” โดยประเด็นภาษีตอบโต้จากสหรัฐ เป็นประเด็นที่ต้องติดตาม
หากกําไรปกติงวด ไตรมาส 2/2568 ออกมาอย่างคาด จะทําให้กําไรสุทธิช่วง 1H68 มีสัดส่วน 48% ของคาดการณ์ กําไรทั้งปี 2568 ซึ่งอยู่ที่ 2 หมื่นล้านบาท (-3% YoY) แต่ยังเชื่อว่ากําไรของ DELTA ในช่วง 2H68 จะฟื้นตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในงวดไตรมาส 3/2568 จะดีขึ้น และเป็นจุดสูงสุดของปี จึงยังคงประมาณการและราคาเป้าหมายสําหรับปี 2568 ไว้ตามเดิมที่ 87 บาท (อิง PER 52.1 เท่า, -1.0 S.D)
ทั้งนี้ราคาเป้าหมายมี upside หากประเด็นเรื่องภาษีตอบโต้จากสหรัฐมีความชัดเจนและออกมาเป็นไปในเชิงบวก เมื่อเทียบกับคู่แข่ง จึงมีโอกาสที่จะปรับเพิ่ม PER ขึ้นจากเดิม -1.0 S.D โดยหากปรับเป็น-0.5S.D ถึง+0.5 S.D ซึ่งจะทําให้ราคาเหมาะสมปรับขึ้นได้อยู่ในช่วง 98 - 119บาท
บริษัทหลักทรัพย์ กสิรไทย จำกัด (มหาชน) คาดแนวโน้มกำไรปกติของ DELTA ในไตรมาส 2/2568 จะอยู่ที่ 5.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.8% QoQ ตามการเร่งตัวของยอดขายอุปกรณ์ศูนย์ข้อมูลและพาวเวอร์ซัพพลาย AI ไปยังสหรัฐฯ และลดลง 6.9% YoY จากอัตราแลกเปลี่ยน (FX) ที่แข็งค่าขึ้น
ทั้งนี้เชื่อว่ายอดขายชิ้นส่วนและแหล่งจ่ายไฟสําหรับศูนย์ข้อมูล (Data Center) และ AI จะเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่องในช่วงปี 2568–2570 และงบลงทุน (capex) ของผู้ให้บริการ hyperscaler คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 31% ในปี 2568 ขณะที่มีโอกาสที่ capex อาจเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจาก 1Q68 มีการเติบโตสูงถึง 43-104%, ผู้ให้บริการ Hyperscaler และบริษัทเทคโนโลยีทั่วโลกยังคงมีเป้าหมายทางธุรกิจที่เป็นบวก โดยได้รับแรงหนุนจากบริการคลาวด์และ AI
ปัญหาด้านคดีความจบลแล้ว คดีความทั้งหมด ระหว่าง DELTA Group และ Vicor Corporation ได้ยุติลงแล้ว โดยศาลในมลรัฐเดลาแวร์และเขตตะวันออกของมลรัฐเท็กซัส ได้ยกฟ้องไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
DELTA ชี้แจงว่า บริษัทฯ และคู่กรณีได้ บรรลุข้อตกลงร่วมกัน โดย DELTA ตกลงที่จะจ่ายเงินจํานวนหนึ่ง เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งเงินจํานวนดังกล่าวจะถูก จัดสรรระหว่าง DELTA ไต้หวัน (DEI) และ DELTA ไทย (DELTA) มองแนวโน้มครึ่งปีหลังนี้ เมื่อคดีความกับ Vicor ยุติ และแนวโน้มคําสั่งซื้อดีขึ้น DELTA จึงอยู่ในจุดที่พร้อมเติบโต โดยเปิดตัวผลิตภัณฑ์ data center ระดับแร็คในไตรมาส 2/2568 ซึ่งจะหนุนรายได้ครึ่งหลังปี 2568 เพิ่มขึ้น และคาดว่าจะเริ่มรับคําสั่งผลิตจาก DEI ในไตรมาส 4/2568
ทั้งนี้ได้ปรับประมาณการกำไร ปี 2568 ลง 10% เป็น 2.3 หมื่นล้านบาท และปี 2569 ลดลง 11% มาอยู่ที่ 2.7 หมื่นล้านบาท ส่วนปี 2570 ปรับลดลง 11% เป็น 3 หมื่นล้านบาท แนะนำ ถือ ราคาเป้าหมาย 105 บาท
บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด คาดว่า DELTA ยอดขายในไตรมาส 2/2568 จะเติบโต 17% YoY ในแง่ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 1,320 ล้านดอลลาร์ โดยได้แรงหนุนจากกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์กำลัง ซึ่งคาดการณ์จะเพิ่มขึ้น 28% YoY จากคำสั่งซื้อเร่งด่วน ขณะเดียวกัน ยอดขายในธุรกิจโมบิลิตี้คาดว่าจะลดลง 13% YoY เนื่องจากอัตราการยอมรับที่ช้าและความไม่แน่นอนที่เกี่ยวข้องกับภาษี GPM คาดการณ์จะอ่อนตัวเหลือ 25.2% ลดลงจาก 26.9% ในไตรมาส 2/2567 ถูกกดดันจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ/บาทที่แข็งค่าขึ้น 9.8% YoY เป็น 33.1 บาทต่อดอลลาร์ แม้จะมีส่วนผสมผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น เราคาดว่าค่าใช้จ่ายปฏิบัติการจะลดลงเหลือ 12.3% ของยอดขาย (เทียบกับ 12.9% ในไตรมาส 2/2567) ส่งผลให้ EBIT ลดลง 3% YoY เหลือ 5.64 พันล้านบาท
ครึ่งปีหลังนี้ท้าทายมากขึ้นเนื่องจากสหรัฐฯ วางแผนเข้มงวดการจำกัดการส่งออก AI
แนวโน้มของครึ่งปีหลังนี้ยังคงท้าทายท่ามกลางแผนของสหรัฐฯ ที่จะเข้มงวดการจำกัดการส่งออก AI แม้ว่าผลกระทบเต็มรูปแบบจาก Trump Tariffs 2.0 และการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทานที่เกิดขึ้นจะยังคงยากต่อการประเมิน แต่เราเริ่มเห็นสัญญาณของการหยุดชะงักที่อาจเกิดขึ้นในโครงการที่เกี่ยวข้องกับ AI โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสหรัฐฯ พิจารณาการจำกัดเฉพาะเจาะจงต่อไทยและมาเลเซีย แม้ว่า DELTA จะไม่เปิดเผยปลายทางลูกค้าขั้นสุดท้าย แต่เราเชื่อว่าผลกระทบควรจะจำกัด น่าจะน้อยกว่า 10% ของยอดขายทั้งหมด
ปรับลดคำแนะนำเป็น “ขาย” สำหรับ DELTA พร้อมมูลค่าที่เหมาะสมที่ปรับใหม่ 76.10บาท
ลดคำแนะนำเป็น “ขาย“ พร้อมมูลค่าที่เหมาะสมปี 2569 ที่ปรับใหม่ 76.10 บาท (จาก 67.00 บาทก่อนหน้า) โดยใช้ P/E 38 เท่า ความเสี่ยงหลักประกอบด้วย บาทแข็งค่าเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ความต้องการเซิร์ฟเวอร์ที่ชะลอตัวและความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์
บริษัท หลักทรัพย์โกลเบล็ก จำกัด คาดว่ากำไรสุทธิของ DELTA ในไตรมาส 2/2568 จะอยู่ที่ประมาณ 5.5 - 6.0 พันล้านบาท แต่คาดมีแนวโน้มที่จะแตะ 6.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 5.5 พันล้านบาทในไตรมาส 1/2568 ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการที่มากกว่าคาดจากฝั่งสหรัฐฯ และยุโรปต่อผลิตภัณฑ์ AI ซึ่งช่วยชดเชยผลกระทบด้านลบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ต้นทุน SG&A และค่าใช้จ่ายด้านวิจัยและพัฒนาที่เพิ่มขึ้น รวมถึงค่าใช้จ่ายครั้งเดียวที่เกี่ยวข้องกับคดีความ
ความเสี่ยงลดลง ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
เนื่องจากความเสี่ยงเรื่องการปรับน้ำหนัก DELTA ในดัชนี SET และผลกระทบจากภาษีขั้นต่ำทั่วโลก (Global Minimum Tax) ได้ถูกสะท้อนในราคาหุ้นไปแล้ว มองว่าความเสี่ยงที่เหลือเพียงอย่างเดียว คือ เรื่องภาษีส่งออกจากไทยไปยังสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 36% อย่างไรก็ตาม พื้นฐานของ DELTA ที่แข็งแกร่งและมีแนวโน้มยั่งยืนจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดต่อผลิตภัณฑ์ power electronics สำหรับ AI รวมถึงการขยายกำลังการผลิตที่ทันท่วงที จะทำให้ DELTA มีการเติบโตของกำไรสุทธิที่แข็งแกร่งและมองเห็นได้ชัดเจนในช่วงปี 2568-2570 ซึ่งคาดว่าจะยังคงอยู่ในวัฏจักรการเติบโตของ AI ทั่วโลก
ยังคงคำแนะนำ "ซื้อ" และปรับราคาเป้าหมายขึ้นจากเดิม 125 บาท ซึ่งอิงจาก P/E ปี 2025E ที่ 75 เท่า เป็น 160 บาท โดยใช้การประเมินมูลค่าผสมระหว่าง P/E ปี 2026E ที่ 85 เท่า และวิธี DCF (Discounted Cash Flow) มองว่าการประเมินมูลค่าของ DELTA ควรถูกมองในลักษณะเดียวกับ NVIDIA ซึ่งมีค่าเฉลี่ย P/E ในช่วง 5 ปี (2021-2025E) ที่ 74 เท่า เนื่องจากค่า P/E ล่วงหน้าตามไม่ทันการเติบโตของกำไรสุทธิที่แข็งแกร่ง ทั้งในส่วนของชิป AI ของ NVIDIA และ power electronics ของ DELTA ซึ่งต่างก็เป็นองค์ประกอบสำคัญของเซิร์ฟเวอร์ AI ในดาต้าเซ็นเตอร์