โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อาจารย์ชี้ ‘เขมรขโมยวรรณกรรมไทย’ เป็นการเข้าใจผิด แต่แท้จริงคือขึ้นทะเบียนละครรำ

เดลินิวส์

อัพเดต 16 กรกฎาคม 2568 เวลา 0.16 น. • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
“นายฟาริส โยธาสมุทร” อาจารย์ภาควิชาวรรณคดีออกโรงชี้แจง หลังโลกออนไลน์แชร์กระแสว่าเขมรนำ “วรรณกรรมไทย” ไปขึ้นทะเบียนกับยูเนสโก ชี้เอกสารที่ถูกหยิบมาอ้างนั้นกล่าวถึง “ศิลปะการแสดง” ไม่ใช่ “วรรณกรรม”

จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์และสื่อมวลชนบางแห่ง โดยอ้างว่ามีรายชื่อวรรณกรรมไทยหลายรายการถูกนำไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้กับองค์การยูเนสโก โดยประเทศอื่นๆ นั้น วธ. ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าวแล้ว และได้มอบหมายให้อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ประสานความร่วมมือกับกรมศิลปากร กระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว ตามที่ข่าวเสนอไปก่อนหน้านี้

เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 68 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า"นายฟาริส โยธาสมุทร" อาจารย์ภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ออกมาโพสต์ถึงกระแสที่กล่าวหาว่าเขมร“ขโมยวรรณกรรมไทย” ไปขึ้นทะเบียนยูเนสโกนั้นเป็นความเข้าใจผิด ลงในเฟซบุ๊ก "Faris PHar Yothasamuth" เนื่องจากสิ่งที่ขึ้นทะเบียนคือ“ศิลปะการแสดงละครรำ” ไม่ใช่ตัวบทวรรณกรรม

โดยเจ้าของโพสต์ ระบุข้อความว่า "มีคนไปขุดเอกสารในเว็บ UNESCO แล้วบอกว่าเขมรสอดไส้เอา "วรรณกรรมไทย" ไปขึ้นทะเบียนจนสำเร็จตั้งแต่ปี 2008 มีคนแชร์ไปเยอะแยะ เพจข่าวเอาไปลงกันใหญ่โต แต่ขอบอกตรงนี้เลยว่ามั่วทั้งเพครับ"

นอกจากนี้ "นายฟาริส โยธาสมุทร" ได้ออกมาอธิบาย 5 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. รายชื่อตามรูปไม่ใช่วรรณกรรม แต่เป็นรายชื่อการแสดงละครรำแบบเขมร ถ้าอ่านเอกสารที่ยกมาสักหน่อยก็จะเห็นคำว่า "Performing arts" กับคำว่า "Drama" อยู่ชัดเจน การกล่าวถึง"การละคร" มีมิติของทั้งการบรรจุท่ารำ เพลงประกอบ รวมไปถึงเครื่องกาย สังเกตให้ดีท้ายรายชื่อเขาเขียนว่า "Choreography" หมายถึงคนที่ออกแบบ/บรรจุท่าร่ายรำ ดังนั้น การจัดทำลิสต์นี้เขามุ่งเน้นที่ "การแสดงละคร" ไม่ใช่ตัวเนื้อเรื่องซึ่งหมายถึง"บทละคร" อันมีลักษณะเป็นวรรณกรรม
2. ละครรำของราชสำนักเขมร ได้รับอิทธิพลจากราชสำนักไทย ไปในช่วงรัชกาลที่ 3 ของกรุงรัตนโกสินทร์ เขาเรียกว่าละครพระราชทรัพย์ ดังนั้น เรื่องที่นำไปใช้เล่นละครหลายเรื่อง ก็จะได้รับอิทธิพลจากละครรำอย่างไทย ซึ่งแบ่งเป็นละครใน (เล่นเรื่องอุณรุท รามเกียรติ์ อิเหนา ดาหลัง) และละครนอก (เล่นหลายเรื่องเช่น คาวี สังข์ทอง ไกรทอง ไชยเชษฐ์) ในลิสต์ตามข่าวก็จะพบชื่อละครเหล่านี้ นั่นเป็นเพราะการรับอิทธิพลไปตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 แล้วกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมราชสำนักของเขา ก่อนจะถูกนำมาทำใหม่ (Re-Institue) หลังยุคเขมรแดง
3. การขึ้นทะเบียนละครรำ (Royal Ballet) ของเขมรจึงเป็นการขึ้นทะเบียนศิลปะการแสดง ไม่ใช่การขึ้นทะเบียนวรรณกรรมไม่เกี่ยวกัน อีกทั้ง เนื้อเรื่องที่นำไปทำการแสดง ก็ต้องมีการทำบทใหม่อยู่แล้ว ไม่ได้เอาบทละครไทยทั้งดุ้นไปแน่นอน วรรณกรรมของไทยเราก็ยังเป็นของเรา ถ้าเราจะเอาวรรณกรรมพวกนี้ไปขึ้นทะเบียนบ้างก็ไม่มีใครห้าม
4. การหยิบยืมเนื้อเรื่องของละคร จะใช้สายตาลิขสิทธิ์แบบปัจจุบันไม่ได้ วรรณกรรม/วรรณคดีของไทย มีต้นเค้าที่เป็นเรื่องเล่าจากหลายแหล่ง เรื่องพวกนี้ไม่ได้เป็นเรื่องเล่า Original อะไร กวีสามารถหยิบเรื่องราวมาแต่งเป็นวรรณคดีฉบับ (Version) ของตัวเองได้ใหม่เรื่อยๆ เช่น รามเกียรติ์มีฉบับกรุงเก่า ฉบับกรุงธนบุรี ฉบับร.1 ร.2 ร.6 นิทานบางเรื่องมีที่มาจากต่างชาติ เช่น รามเกียรติ์ อุณรุท มาจากนิทานสันสกฤต อิเหนา ดาหลัง มาจากนิทานชวา ที่สำคัญคือเรื่องเล่าพวกนี้มีสถานะเป็นสมบัติส่วนรวมที่แชร์กันข้ามวัฒนธรรม เช่นนิทานเรื่องพระรามก็พบทั้งในไทย (รามเกียรติ์) เขมร (เรียมเกร์) ลาว (พระลักพระลาม) ถ้าจะหวงกันแบบนี้มิต้องเอาอิเหนาคืนอินโดนีเซียเขาไปงั้นหรือ
5. ในลิสต์บทละครนี้ปรากฏเรื่องพระเวสสันดร ซึ่งก็คือ มหาเวสสันดรชาดกที่มาจากนิบาตชาดกนั่นแหละ เรื่องที่มาจากภาษาบาลีแบบนี้จะหวงว่าเป็นวรรณกรรมไทยของเราชาติเดียวได้อย่างไร อีกทั้งการที่เขมรเอาเรื่องพระเวสสันดรไปแสดงละครยิ่งแสดงให้เห็นธรรมเนียมที่ต่างไปจากไทย เพราะวัฒนธรรมการละครไทยแบบดั้งเดิม จะไม่เอาเรื่องศาสนามาแสดงเป็นละคร เรื่องศาสนาจะอยู่ในรูปกลอนเทศน์ (แต่งด้วยร่ายยาว) และกลอนสวด (แต่งด้วยกาพย์) เป็นหลัก เช่น มหาชาติกลอนเทศน์ พระมาลัยกลอนสวด เป็นต้น (การที่ต้นเรื่องบอกว่าพระเวสสันดรเจ้าพระยาพระคลังหนแต่งก็ให้ข้อมูลไม่ครบ เพราะมหาชาติกลอนเทศน์แต่งโดยกวีหลายคน)

อย่างไรก็ตาม "ผมเขียนแบบนี้ขอดักทางไว้เลยว่า ต้องมีคนมาด่าว่าเป็นขี้ข้าเขมร/ตัวไทยใจเขมร ก็รู้แหละว่าตอนนี้เกลียดเขมรกัน แต่ใช้สติหน่อย แล้วถามหน่อยเหอะ คนที่เป็นเดือดเป็นแค้นว่าเขมรขโมย "วรรณกรรมไทย" ไปเนี่ย มีสักกี่คนที่เคยอ่านวรรณกรรมพวกนี้จริงๆ ถ้าถามความรู้วรรณคดีเบื้องต้นตอบกันได้ไหม มีใครบ้างเคยไปดูโขน ดูละครรำ ศิลปวัฒนธรรมไทยตอนมันอยู่เฉยๆ ก็ไม่ค่อยไยดีกันหรอก แต่พอบอกว่าเขมรเคลมของไทย เลือดรักชาติสูบฉีด อยากจะหวงแหนอนุรักษ์กันขึ้นมาทันที"

ขอบคุณข้อมูล : Faris PHar Yothasamuth

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

‘ลำไย ไหทองคำ’ สุดปลื้ม เตรียมขนโชว์อลังการ ขึ้นเวทีระดับโลก คิวงานแน่นเอี๊ยด ย้ำยังสนุกกับงาน !

28 นาทีที่แล้ว

‘หนุ่มเวียดนาม’ พลาดถูกไฟช็อต ‘สาวพีอาร์’ เข้าช่วยดับสลดคู่ เหตุจากฝนตกน้ำท่วมป้ายไฟ-หน้าร้านนวด

49 นาทีที่แล้ว

วธ.จัดพิธีทางศาสนา ‘มหามงคล 5 ศาสนา’ เฉลิมพระเกียรติ

49 นาทีที่แล้ว

จักษุแพทย์ชี้สาเหตุ “ตาแห้ง” ที่ทุกคนมองข้าม แนะล้างเปลือกตาทุกวัน

58 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

‘ไทยสร้างไทย’ เสนอร่างนิรโทษฯ ม.112 เปิดทางยื่นขอพระราชทานอภัยก่อนคดีถึงที่สุด

เดลินิวส์

รวบครู บุกเดี่ยวชิงทอง 22 บาท กลางห้างดัง อ้างเงินเดือนไม่พอใช้

Khaosod

2 พี่น้องน้ำตาซึม ตัดใจขายเข็มขัดนาคแม่ รู้ราคาถึงกับกอดร้องไห้

TNews

ฝนถล่มอุดรฯ น้ำท่วมถนนหลายสายหนัก สุดยื้อชาวบ้าน 2 คนถูกไฟดูด ก่อนสิ้นใจที่โรงพยาบาล

Khaosod

แรงมาก เพจดังปูด 2 พระ-สีกากอล์ฟ แซ่บบนรถ แถม1 ในนั้นยังไม่ยอมสึก

TNews

เปิดใจ รองเจ้าคณะอำเภอ หลังถูกโยงโอนเงินให้สีกากอล์ฟ เผยผลสอบคณะสงฆ์ ชี้ความไว้ใจอาจกลายเป็นจุดอ่อน

Khaosod

‘หนุ่มเวียดนาม’ พลาดถูกไฟช็อต ‘สาวพีอาร์’ เข้าช่วยดับสลดคู่ เหตุจากฝนตกน้ำท่วมป้ายไฟ-หน้าร้านนวด

เดลินิวส์

ญี่ปุ่นตั้งทีมรับมือปัญหาต่างชาติทะลัก หวังกู้คะแนนเสียงก่อนเลือกตั้งสภาสูง

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

‘ชาญชัย-หมอวรงค์’ เผยคดี ‘ทักษิณ’ ชั้น 14 ใกล้ความจริง เตรียมเปิดข้อมูลเด็ด 18 ก.ค.นี้

เดลินิวส์

เปิดแชตลับ ‘สีกากอล์ฟ’ คุยบุคคลปริศนา มีทั้งบทสนทนาอ่อนหวาน-ข้อความสุดเดือด

เดลินิวส์

แต่งตั้ง ‘ธงทอง’ เป็นไวยาวัจกรวัดชูจิตฯ พบอีก ‘ผู้ช่วยวัดตรีทศเทพ’ ใช้เงินส่วนตัวโอนให้ ‘สีกากอล์ฟ’

เดลินิวส์
ดูเพิ่ม
Loading...