โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ชูนวัตกรรมเกมปริศนาอัจฉริยะ มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ68 ต่อยอดอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน

สยามรัฐ

อัพเดต 2 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (CITE) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) นำผลงานนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีเข้าร่วมจัดแสดงในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568 (Thailand Research Expo 2025)” ครั้งที่ 20 ภายใต้หัวข้อ “เศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่ออนาคตประเทศไทย” (Creative Economy for Thailand Tomorrow) ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16–20 มิถุนายน 2568 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

ปีนี้ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ได้รับคัดเลือกให้นำผลงานจัดแสดง โดยหนึ่งในผลงานนวัตกรรมที่ได้รับความสนใจอย่างมาก คือ เกมห้องปริศนาอัจฉริยะใน Metaverse VR ที่พัฒนาโดย น.ส.พงษ์รดา เรืองวงศ์โรจน์ และ นายเสกสรรค์ เทียมกลาง นักศึกษาสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นระบบที่สร้างปริศนาแบบไดนามิกและปรับระดับความยากง่ายอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อมอบประสบการณ์ใหม่ให้ผู้เล่น ทั้งในรูปแบบ VR และดิจิทัลปกติ โดยมี ดร.ทศพล เศรษฐวัชราวนิช หัวหน้าหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน

ดร.ทศพล เศรษฐวัชราวนิช หัวหน้าหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า ผลงานนี้เกิดจากการนำแนวคิดของเกมแนว Escape Room มาผสานกับ AI และ VR เพื่อสร้างเกมที่สามารถปรับความยากได้ตามความสามารถของผู้เล่น ปริศนาแต่ละด่านจะไม่ซ้ำเดิม เพราะระบบ AI จะสุ่มและประมวลผลเพื่อสร้างความท้าทายใหม่ในทุกครั้งที่เล่น นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์จำลองเพื่อการฝึกอบรมหรือการเรียนรู้ในหลากหลายสาขา เช่น การฝึกทหาร การจัดการภัยพิบัติ และการฝึกทักษะการตัดสินใจในสถานการณ์เสมือนจริง ผลงานนี้ได้รับเสียงตอบรับอย่างดีจากผู้เข้าชมงาน ทั้งในแง่ความคิดสร้างสรรค์และความเป็นไปได้ในการต่อยอดสู่การใช้งานจริงในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน

“แนวคิดและจุดเริ่มต้นของโครงงานนี้ ได้แรงบันดาลใจมาจากเกมแนว Escape Room ที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ ซึ่งในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายมากนัก เนื่องจากการจัดสถานที่เล่นจริงมักมีข้อจำกัด ทีมพัฒนาจึงได้นำแนวคิดนี้มาสร้างสรรค์ในรูปแบบดิจิทัลและผสานเทคโนโลยี VR (Virtual Reality) เพื่อให้ผู้เล่นได้สัมผัสประสบการณ์เสมือนจริง โดย AI จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการปรับความยากง่ายของเกมตามความสามารถของผู้เล่นแต่ละคน ทั้งยังสามารถสร้างปริศนาใหม่ ๆ ได้เองในแต่ละครั้งที่เล่น ทำให้ผู้เล่นไม่เจอกับประสบการณ์เดิมซ้ำซาก” ดร.ทศพล กล่าว

หัวหน้าหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ กล่าวต่อว่า เกมที่พัฒนาขึ้นจะเน้นการแก้ไขปริศนาภายในห้องเสมือน โดยผู้เล่นต้องหาคำตอบหรือรหัสผ่านเพื่อปลดล็อกประตูออกจากห้อง ตัวอย่างเช่น การหาตัวเลขรหัส 4 หลักที่มาจากการรวมข้อมูลหรือการไขปริศนาต่าง ๆ ภายในเกม จุดเด่นที่แตกต่างจากเกมปริศนาทั่วไป คือ AI จะวิเคราะห์พฤติกรรมการเล่นแล้วปรับระดับความยากให้สอดคล้องกับความสามารถผู้เล่น หากพบว่าผู้เล่นแก้ปริศนาได้รวดเร็ว ระบบจะเพิ่มความท้าทาย แต่ถ้าผู้เล่นประสบปัญหากับการแก้ปริศนา ระบบจะปรับให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้ผู้เล่นรู้สึกท้อแท้

นอกจากนี้ ดร.ทศพล ยังเปิดเผยอีกว่า โครงงานนี้นอกจากจะช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้การพัฒนาเกมและเทคโนโลยี AI แล้ว ยังฝึกทักษะการออกแบบโปรแกรม การบูรณาการด้านกราฟิก ระบบเสียง และองค์ประกอบด้านความปลอดภัยในซอฟต์แวร์ อีกทั้งนักศึกษายังสามารถต่อยอดองค์ความรู้ไปสู่การพัฒนาแอปพลิเคชัน สร้างเกม หรือทำงานในอุตสาหกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีได้จริง

อย่างไรก็ตาม โครงงานเกมปริศนานี้ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะขยายรูปแบบการเล่นให้รองรับทั้งการเล่นแบบ VR และการเล่นปกติ เพื่อให้เข้าถึงผู้ใช้ได้กว้างขึ้น รวมถึงคาดว่าจะสามารถนำออกสู่ตลาดเพื่อให้บุคคลทั่วไปและหน่วยงานที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ได้ต่อไป

ขณะที่หนึ่งในผู้พัฒนาเกมห้องปริศนาอัจฉริยะใน Metaverse VR นายเสกสรรค์ เทียมกลาง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (CITE) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยแนวคิด จุดเริ่มต้น และประสบการณ์จากการสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมที่เข้าร่วมจัดแสดงในงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568 โดยระบุว่า จุดเริ่มต้นของโครงงานนี้เกิดจากความสนใจในเทคโนโลยี Virtual Reality (VR) ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้ลงมือพัฒนาโปรเจกต์จริงในรูปแบบ VR ผสมผสานกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่กำลังได้รับความนิยม

“ตอนแรกผมยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับการทำเกมใน VR โดยเฉพาะในไทย ข้อมูลและแนวทางการพัฒนายังหายากมาก ต้องเริ่มจากการค้นคว้า ศึกษาเครื่องมือ และเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้าง VR จากนั้นวางแผนการทำงานร่วมกับเพื่อน แบ่งหน้าที่เป็นขั้นตอน ตั้งแต่การหาข้อมูล ออกแบบด่าน ทดลองสร้างต้นแบบ และนำเสนอไอเดียให้อาจารย์ช่วยให้คำแนะนำ และมีการอัปเดตความคืบหน้าและปรับปรุงงานทุกสัปดาห์ เพื่อให้แนวทางและคุณภาพของผลงานพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง” นายเสกสรรค์ กล่าว

นายเสกสรรค์ ยังระบุถึงกระบวนการค้นคว้าข้อมูลและทดลองใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ โดยใช้เวลานานกว่า 3–4 เดือน เนื่องจากต้องอัปเดตความรู้และวิธีการสร้างเกมให้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งยังต้องปรับปรุงการออกแบบกระบวนการและขั้นตอนให้สอดคล้องกับความเป็นไปได้ในการทำงานจริง

เกมห้องปริศนาอัจฉริยะที่พัฒนาขึ้นนี้ประกอบด้วยด่านหลากหลายรูปแบบที่ผู้เล่นจะได้เผชิญ เช่น ด่านเขาวงกตลึกลับ ด่านปริศนาของตัวตลก หรือด่านไขรหัสเพื่อปลดล็อกประตู โดย AI ในเกมจะช่วยสร้างปริศนาใหม่ ๆ ทุกครั้งที่เข้าเล่น ทำให้แต่ละรอบไม่ซ้ำกัน ทั้งจำนวนวัตถุ คำใบ้ ลำดับเหตุการณ์ หรือแม้แต่เส้นทางในเขาวงกตเองก็จะแตกต่างกันในแต่ละครั้ง

“แรงบันดาลใจที่ทำให้เลือกเรียนในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เกิดจากความชอบในการเขียนโค้ดและความสนใจในเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยเฉพาะ AI และการพัฒนาโปรแกรม อีกทั้งได้รับคำแนะนำจากรุ่นพี่และคนรู้จักที่เคยเรียนในสาขานี้ จึงตัดสินใจเข้าศึกษา และปัจจุบันกำลังศึกษาชั้นปีที่ 4” หนึ่งในผู้พัฒนาเกมห้องปริศนาอัจฉริยะใน Metaverse VR เปิดเผย

นายเสกสรรค์ ยังกล่าวทิ้งท้ายถึงอนาคตว่าความรู้และทักษะที่ได้รับจากการเรียนและโครงงานนี้สามารถต่อยอดไปสู่การทำงานจริงได้ทันที โดยเฉพาะการพัฒนาแอปพลิเคชัน การสร้างเกม หรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงการทำงานในบริษัทที่สนใจในผลงานด้านนี้ ซึ่งมีองค์กรหลายแห่งติดต่อเข้ามาหลังจากผลงานได้รับการเผยแพร่ในงานมหกรรมวิจัยแห่งชาติ 2568 ที่ผ่านมา

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก สยามรัฐ

"DOCTOR'S MINE หมอน่ารักคนนี้เป็นของผม" ซีรีส์ใหม่ปักหมุดเตรียมตับพังทุกวันอาทิตย์ ทางช่อง 9

13 นาทีที่แล้ว

รวมตัวดาราสายมู-เซียนพระชื่อดัง ลงใต้ร่วมพิธีศักดิ์สิทธิ์มหาพุทธาภิเษกวัตถุมงคลรุ่นเหนือเมฆ

24 นาทีที่แล้ว

'หวยลาว'ประจำวันที่ 07/07/68

38 นาทีที่แล้ว

นักวิชาการวิเคราะห์ "การยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม" จากมุมมองอดีตนายกฯ

43 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

ท้าทาย รัฐมนตรีแรงงาน คนใหม่! นันทนา โพสต์ กองทุนประกันสังคมจะรอดจากการล้มละลาย หรือไม่?

TOJO NEWS

ไอซ์ รักชนก จัดคำตอบให้เน้นๆ! ทำไมพรรคประชาชนไม่แตะปมฮั้ว สว.

TOJO NEWS

ตลาดการ์ดเกมโตแรง ผู้เล่นแตะหลักล้าน มูลค่าแตะพันล้านบาท

PostToday

จับตาข่าวใหญ่ สาวที่ปรึกษาอนุ กมธ.วุฒิสภา แถลงเปิดโปง สว.ชายล่วงละเมิดทางเพศ พรุ่งนี้

Manager Online

เพลิงไหม้โรงงานผลิตยาง จ.สมุทรสาคร

สำนักข่าวไทย Online

ระทึก! กระบะส่งน้ำแข็ง เปิดเพลงดังสนั่น ถอยทับจยย. 3 แม่ลูกหวิดดับคาบ้าน

Manager Online

รัฐ-เอกชนจันทบุรี ร่วมเสวนาข้อกฎหมายคุมน้ำเมา ส่งเสริมพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ไทยโพสต์
วิดีโอ

กัมพูชาพร้อมออกค่าใช้จ่ายรับคืนโบราณวัตถุ

Thai PBS

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...