สมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน หั่นเป้า GDP เหลือเพียง 14% พร้อมแนะพอร์ตลงทุน Q3/68 นี้
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการ สมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน เปิดเผยผลการสำรวจความเห็นสมาชิกนักวิเคราะห์และผู้จัดสาร กองทุนรวม 22 สำนัก เกี่ยวกับมุมมองการลงทุนไตรมาส 3 ปี 2568 ผลสำรวจโดยสรุป ดังนี้
สมมติฐานหลักที่นักวิเคราะห์ใช้
• ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยของปีนี้ 68.65 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
• สมมติฐาน GDP ปี 68 รายที่ต่ำสุดที่ 1.4% สูงสุดที่ 2.4% โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1.87% ลดลงจากการประเมินเมื่อโตรมาสก่อน ซึ่งคาดการณ์ไว้เต็มที่ 2.56%
• Risk Free Rate ที่ใช้ในการประเมินมูลค้า มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.22%
• Risk Premium ของตลาดหุ้น เฉลี่ยอยู่ที่ 7.74%
สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อทิศทางการลงทุนจนถึงสิ้นปี 2568 แบ่งเป็น
ปัจจัยบวก ที่มีผู้โหวตเกิน 50% มีเพียง 2 ปัจจัย คือ อัตราดอกเบี้ยในประเทศ ผู้ตอบแบบสำรวจ 90.91 % เทคะแนนให้อย่างชัดเจน ปัจจัยรองลงมา ผู้ตอบ 72.73% โหวตให้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ
ส่วนปัจจัยลบ คือ ปัจจัยด้านการเมืองในประเทศ มีผู้ตอบ 100% ของผู้ตอบทั้งหมด รองลงมาเศรษฐกิจภายในประเทศ มีผู้ตอบ 85.71% ตามมาด้วย Fund Flows ไหลออก และปัจจัยขัดแย้งไทย-กัมพูชา มีผู้ตอบ 80.95% เท่ากันที่มองว่ามีผลกระทบในทางลบ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยลบอีก 3 ปัจจัยที่โหวตเกิน 50% คือ การเมืองโลก เศรษฐกิจโลก และผลประกอบการปี 68 ของ บจ.ไทย
โดยปัจจัยที่น่าจับตามองเป็นพิเศษในไตรมาส 3 คือ การเมืองในประเทศ ตามมาด้วยผลการเจรจาเรื่องการปรับขึ้นภาษีนำเข้าของเสหรัฐ ส่วนคาดการณ์การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ในสิ้นปี 2568 นั้นมีความเห็นต่างกันพอสมควร โดยผู้ตอบร้อยละ 71 คาดว่า ลดลงจากเดิมมาอยู่ที่ 1.50% และมีเพียงร้อยละ 29 มองว่าอาจลดลงมาที่ 1.25% โดยไม่มีผู้มองว่าอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นหรือคงที่ระดับเดิม
ด้านคาดการณ์กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ปี 2568 ของตลาดเฉลี่ยได้ที่ 85.43 บาท ปรับลดจากผลสำรวจครั้งก่อน ซึ่งอยู่ที่ 90.03 บาทต่อหุ้น และคาดว่า EPS Growth ของปี 2568 เฉลี่ยอยู่ที่ 10.45% ทางด้านคาดการณ์ทิศทางหุ้นไทย คาดว่าจะปิดสิ้นไตรมาส 3 ที่ 1166 จุดและเมื่อมองตลอดปี จะแกว่งตัวในกรอบ 1023-1267 จุด โดยไปปิดสิ้นปี 2568 ที่ 1231 จุด
นักวิเคราะห์แนะนำให้มีการกระจายพอร์ตการลงทุน แบ่งเป็น
• เงินสดและเงินฝากระยะสั้น 11.50%
• กองทุนตราสารหนี้ 20.25%
• หุ้นหรือกองทุนหุ้นต่างประเทศ 33.50%
• หุ้นไทยหรือกองทุนหุ้นไทย 19%
• ทองคำหรือกองทุนทองคำ 10.55%
• กองทุนอสังหาฯหรือ REIT 5.20%
โดยความเห็นการลงทุนต่างประเทศ สมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน แนะนำกองทุนตราสารหนี้สหรัฐฯ หรือกลุ่ม AI-Technology และ Selective Asia เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย เกาหลี
รวมถึงหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการลงทุนต่างประเทศและทองคำ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (DR DRX) ที่แนะนำตรงกันตั้งแต่ 4 สำนักขึ้นไป มีดังนี้(เรียงชื่อตามอักษรย่อ) ได้แก่ AAPL80 AMD80 NVDA80
สำหรับในการลงทุนหุ้นไทยนั้น แนะนำให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุน ในหมวดธุรกิจท่องเที่ยว การแพทย์ เทคโนโลยีและการสื่อสาร ในขณะที่ให้ลดน้ำหนักการลงทุนใน หมวดธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม พลังงานและปิโตรเคมี
รายชื่อหุ้นที่นักวิเคราะห์แนะนำตรงกันตั้งแต่ 6 สำนักขึ้นไป มีดังนี้ (เรียงชื่อตามอักษรย่อ)
1. ADVANC มองว่าผลการดำเนินงานสำหรับ 2Q68 เติบโต โดยรายได้หลักๆ ธุรกิจมือถือ APRU เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ธุรกิจอินเตอร์เน็ต ความเร็วสูงโมเมนตัมดี ส่วนธุรกิจลูกค้าองค์กร ได้แรงหนุน Data center and Cloud ขณะที่ได้ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลไทยลีก - พรีเมียร์ลีกอังกฤษ คาดส่งผลเชิงบวกในระยะยาวต่อการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้บริการ
2. BDMS มองว่าเป็น Defensive play ที่ได้รับผลกระทบ หนุนจากผู้ป่วยในประเทศที่เร่งตัวขึ้น ตามโรคระบาดที่กลับมาอีกครั้ง จำกัดจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ขณะที่ ผลประกอบการ 2Q25 คาดได้แรง
3. CPALL ได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นการบริโภคของภาครัฐ และคาดกำไร 2Q25 ยังโตต่อเนื่อง
4. GULF ปัจจัยสนับสนุนจากผลการดำเนินงานมั่นคงจากธุรกิจไฟฟ้าและ ADVANC จ่ายปันผลได้สม่ำเสมอ โอกาสเติบโตเข้าสู่ธุรกิจ Digital
หุ้นที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ หุ้นบางบริษัทในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ที่ราคาเกินพื้นฐาน ได้รับผลกระทบจาก CAP WEIGHT และหุ้นที่มีประเด็นธรรมาภิบาลที่ต้องใช้เวลาสร้างความเชื่อมั่น
ด้านนายพิริยพล คงวาณิช นักกลยุทธ์ ฝ่ายวิเคราะห์การลงทุนเพื่อบริหารความมั่งคั่ง บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ความเสี่ยงหลักของประเทศไทย คือ ภาคการบริโภคในประเทศที่อ่อนแอต่อเนื่องจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติหดตัวมากกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีน ทำให้ภาพรวมจำนวนนักท่องเที่ยวคาดหดตัวใกล้เคียงกับปีที่เกิดสถานการ์แพร่ระบาดโควิด-19
รวมถึงภาคการเมืองซ้ำเติม ทำให้งบลงทุนใหม่ล่าช้า โดยแรงกระแทกจะชัดสุดในไตรมาส 4 ปี 2025 ถึง ไตรมาส 1 ปี 2026 ดังนี้
• โดยหากงบล่าช้า 6 เดือน คาดเบิกจ่ายงบลงทุนลดลง 30-40% จากภาวะปกติ
• กรณีเกิดการเลือกตั้ง การเบิกจ่ายจะลดลงถึง 50-60%
• กรณีเกิดความไม่สงบทางการเมือง อาจกระทบ GDP ราว -0.2% ถึง -0.4%
พร้อมประเมินตัวเลขสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากไทย มีผลต่อเศรษฐกิจไทยและ SET Index ดังนี้
1) หากตัวเลขภาษีนำเข้า 36% ตัวเลข GDP จะอยู่ที่ 0.9% และ SET Target อยู่ที่ 1,030 จุด
2) หากตัวเลขภาษีนำเข้า 20% ตัวเลข GDP จะอยู่ที่ 1.4% และ SET Target อยู่ที่ 1,280 จุด
3) หากตัวเลขภาษีนำเข้า 10% ตัวเลข GDP จะอยู่ที่ 1.8% และ SET Target อยู่ที่ 1,360 จุด
กรณีแย่ที่สุด (Bass Case) หากกำไรต่อหุ้นของ SET ลดลงสู่ 73 บาท/หุ้น และครอบคลุมความเสี่ยงทางการเมืองไทยและเจรจาการค้าสหรัฐฯ ประเมิน Downside ที่กรอบ 980-1,030 จุด (อิง PER -1.0 ราว 14.2x ถึง -1.25SD ราว 13.4x) ซึ่งมองว่าเป็นจังหวะในการทยอยสะสมหุ้นที่อิงตามเศรษฐกิจโลก (Global play) อาทิ กลุ่มปิโตรเคมี ซึ่งคาดว่ารอบการฟื้นตัวที่ชัดเจนเริ่มในไตรมาส 4 ส่วนกลุ่ม Domestic play อาจฟื้นช้ากว่า หากการเมืองยังไม่คลี่คลายกดดันงบประมาณล่าช้า
ท้ายที่สุด นักวิเคราะห์ยังได้เพิ่มเติมการแนะนำไปยังรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายที่จะมีผลบวกต่อภาวะเศรษฐกิจ มีความคุ้มค่ากับงบประมาณ ได้แก่ เร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนภาครัฐที่หนุนศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจ พัฒนาอุตสาหกรรม New S-Curve และ เทคโนโลยี เสนอด้านการช่วยเหลือภาคธุรกิจ ได้แก่ ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล ออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว ควบคุมการสวมสิทธิ์ ลด การนำเข้าสินค้าราคาถูกจากจีนที่กดดันผู้ประกอบการในประเทศ และตามมาด้านการช่วยเหลือภาคประชาชน ได้แก่ มาตรการลดหย่อนภาษี โครงการคนละครึ่ง สนับสนุนการศึกษา ส่งเสริมวิชาชีพ และพัฒนาทักษะแรงงาน