โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เปิดประวัติและวิสัยทัศน์ 2 ตัวเต็งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ ก่อน สว. โหวตอีกครั้ง

THE STANDARD

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • thestandard.co
เปิดประวัติและวิสัยทัศน์ 2 ตัวเต็งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ ก่อน สว. โหวตอีกครั้ง

ภายในวันนี้ (22 กรกฎาคม) เป็นครั้งที่ 2 แล้ว ซึ่งการประชุมลับของวุฒิสภาจะตัดสินว่า ประเทศไทยจะมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 คนใหม่มาแทนตำแหน่งที่ว่างเนื่องจากพ้นวาระหรือไม่ ซึ่งมีความเป็นไปได้หลายทาง วุฒิสภาอาจเห็นชอบผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 2 คน หรือเห็นชอบเพียงคนใดคนหนึ่ง จนกระทั่งไม่เห็นชอบกับทุกรายชื่อ เหมือนคราวที่ ศ.ดร.ศิริพรรณ นกสวน สวัสดี และ ชาตรี อรรจนานันท์ ถูกตีตกทั้งคู่

กว่าจะมาถึงขั้นตอนที่วุฒิสภาจะลงมติ ทั้ง 2 รายชื่อสุดท้ายต้องผ่านขั้นตอนการสรรหา คัดเลือก และตรวจสอบคุณสมบัติอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะการพิจารณาของคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ประกอบด้วยบุคคลจากหลายตำแหน่งสำคัญ

การประชุมวุฒิสภาเพื่อโหวตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

สามารถย้อนอ่านกระบวนการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 คนก่อนหน้าได้ที่ รู้จัก 2 ตัวเต็งเก้าอี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ พวกเขาคือใครและมีวิสัยทัศน์อะไร

เมื่อ 18 มีนาคม ที่ผ่านมา บรรดาสมาชิกวุฒิสภา (สว.) เสียงส่วนใหญ่ลงมติไม่เห็นชอบให้ทั้งสิริพรรณและชาตรีดำรงตำแหน่ง ทำให้ต้องเริ่มต้นกระบวนการเปิดรับสมัคร และสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญใหม่อีกครั้ง โดยมีผู้แสดงความประสงค์ลงสมัครจำนวนไม่น้อย รวมถึงบุคคลซึ่งเป็นที่สนใจของสังคม เช่น ศ.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ รื่นวดี สุวรรณมงคล อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นต้น

ในท้ายที่สุด คณะกรรมการสรรหาฯ ได้ตรวจสอบประวัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครแต่ละคน ก่อนจะลงมติจนได้ข้อสรุปเป็น 2 รายชื่อ จาก 2 กลุ่มอาชีพของผู้สมัคร คือ ศ. ร.ต.อ. สุธรรม เชื้อประกอบกิจ และ สราวุธ ทรงศิวิไล เพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภา

โดยในการคัดเลือกรอบสุดท้าย ผู้สมัครจะต้องแสดงความคิดเห็นหรือสัมภาษณ์ต่อคณะกรรมการสรรหาฯ และต้องได้รับคะแนนเสียงถึง 2 ใน 3 ของจำนวนคณะกรรมการสรรหาฯ ที่มีทั้งหมดด้วย

ทั้งนี้ บันทึกการแสดงวิสัยทัศน์และการสัมภาษณ์ผู้ได้รับการเสนอชื่อของคณะกรรมการสรรหาฯ ถูกบันทึกและเผยแพร่ในรายงานการพิจารณาสรรหาบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญใหม่ (แทนตำแหน่งที่ว่าง) ของคณะกรรมการสรรหาฯจัดทำโดยสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่หน่วยธุรการของคณะกรรมการสรรหาฯ

ศาสตราจารย์ ร.ต.อ. สุธรรม เชื้อประกอบกิจ

สำหรับ ศ. ร.ต.อ. สุธรรม เชื้อประกอบกิจ เป็นรองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อดีตยังเคยเป็นผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์ ช่วงปี 2559-2560 และเคยเป็นศาสตราจารย์ สาขากระบวนการยุติธรรม ที่มหาวิทยาลัยเคนนีซอร์สเตท สหรัฐอเมริกา โดยได้รับการคัดเลือกจากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งดำรงตำแหน่ง หรือเคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี และยังมีผลงานทางวิชาการเป็นที่ประจักษ์

สราวุธ ทรงศิวิไล

ด้าน สราวุธ ทรงศิวิไล เป็นอธิบดีกรมทางหลวง ที่ผ่านมาเคยดำรงหลายตำแหน่งด้านการคมนาคม เช่น อธิบดีกรมการขนส่งทางราง, ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร รวมถึงโฆษกกระทรวงคมนาคม ช่วงปี 2560-2561 อีกด้วย โดยได้รับการคัดเลือกจากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่รับหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่า หรือตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอัยการสูงสุดมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

ยกประสบการณ์ส่วนตัว ย้ำเทิดทูนสถาบันฯ

สุธรรมได้แสดงวิสัยทัศน์ โดยระบุว่า ในภาพรวมรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีเป้าหมายเน้นไปใน 3 ด้าน ประกอบด้วย

  • การรักษาความสมบูรณ์ของรัฐธรรมนูญ
  • การพิทักษ์ปกป้องระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  • การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

สุธรรมกล่าวว่า หากได้รับตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ เพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้บรรลุเป้าหมาย โดยจะมีความเป็นกลาง มีความกล้าหาญในการตัดสินใจ และรับผิดชอบ พร้อมยกตัวอย่างความกล้าหาญของตนเองในการเปลี่ยนแปลงวิชาชีพมากมาย จากตำรวจเป็นอาจารย์ จากอาจารย์สู่ผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า

“หากผมได้รับการสรรหาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผมจะปฏิบัติหน้าที่ อย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ กระผมจบจากโรงเรียนนายร้อยตํารวจ รุ่นที่ 39 จบโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 23 ในระหว่างนี้ผมได้มีการอบรมเรื่องการรักสถาบันชาติและพระมหากษัตริย์โดยตลอด ซึ่งผมเคารพเทิดทูนตลอด และจะเคารพเทิดทูนตลอดไป” สุธรรมกล่าว

สุธรรมยังกล่าวถึงประสบการณ์ส่วนตัวที่เคยเผชิญความท้าทาย และช่วงเวลาที่รู้สึกท้อแท้ จะนึกถึงบุคคลสำคัญคือคุณแม่ ที่ตรากตรำขายสับปะรดมาตั้งแต่ตนเองเป็นเด็ก

“ตอนที่ผมท้อแท้ไม่ไหวมากๆ ผมเปิดดูคลิปของในหลวงรัชกาลที่ 9 ตอนท่านเสด็จประพาสไปที่ต่างๆ ไม่น่าเชื่อเปิดดูไม่ถึง 4-5 วินาที ความท้อแท้หายหมด” สุธรรมระบุ

ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา

รัฐธรรมนูญเปรียบเหมือนเครื่องจักร ศาลซ่อมแซมได้หากชำรุด

สราวุธแสดงวิสัยทัศน์ต่อคณะกรรมการสรรหาฯ โดยมองว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีความแตกต่างที่สำคัญจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้า คือเรื่องยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งส่วนตัวมองว่าเป็นคู่มือในการพัฒนาประเทศที่ดี พร้อมเปรียบเทียบว่าเหมือนลู่วิ่ง ที่รู้ว่าจะต้องวิ่งไปถึงจุดไหน และเป็นลู่วิ่งที่กว้างเพราะมีรายละเอียดเขียนไว้เป็นแนวทาง

สราวุธยังได้หยิบยกเรื่อง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเรื่องมาตรฐานทางจริยธรรม หรือเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ที่ปรากฏขึ้นใหม่ในยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งมีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย โดยเชื่อว่า อาจมีการตีความ พร้อมระบุว่า หากต้องการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติก็ปรับเปลี่ยนได้

“รัฐธรรมนูญเปรียบเสมือนกับเครื่องจักรขนาดใหญ่ บางครั้งเครื่องจักรชํารุด ประเทศก็เดินหน้าไม่ได้ ศาลรัฐธรรมนูญเหมือนส่วนหนึ่งของการควบคุมเครื่องจักร ในการซ่อมแซมส่วนที่ชํารุดเสียหาย ปรับปรุงเพื่อสอดคล้องกับบริบทของประเทศ” สราวุธกล่าว

ต่อมา ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะหนึ่งในกรรมการสรรหาฯ ได้สอบถามขึ้นว่า ถ้าเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญปัจจุบันกับเครื่องจักรที่ชํารุด มีคำถามว่า อาจจะอยู่นอกอํานาจหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพราะว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอํานาจของรัฐสภา คือต้องทําประชามติถามประชาชน และขอสอบถามความเห็นว่า มีข้อบกพร่องใดในรัฐธรรมนูญบ้าง

สราวุธตอบว่า ในมุมมองของตนคงไม่ใช่ว่าบกพร่องตรงไหน แต่มีส่วนไหนที่ต้องการการเติมเต็ม มีการทำความเข้าใจปรับปรุง วันนี้ลู่วิ่งอาจจะยังไมเหมาะสมกับเศรษฐกิจในปัจจุบัน หรือสภาพบ้านเมืองในปัจจุบัน ควรจะมาดูว่าตรงไหนควรจะมีการปรับปรุงแต่ยังอยูในลู่วิ่ง ถ้าลู่วิ่งนี้ไม่เหมาะแล้วจะต้องเปลี่ยนแนว ก็ยังมีช่องทางที่จะให้มีการแก้ไขได้

นอกจากนี้ สราวุธยังแสดงความเห็นถึงมิติในการลงโทษ ซึ่งเห็นว่าก็มีส่วนดีเพราะทำให้คนกลัวความผิด บางอย่างอาจลงโทษน้อยไป ก็ทำให้เข้มขึ้น บางอย่างที่มีโทษรุนแรง อาจมีการบรรเทาลงมา ต้องดูในรายละเอียดของแต่ละเรื่อง เช่น การยุบพรรคอาจจะรุนแรงเกินไปนิดหนึ่ง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก THE STANDARD

กองทัพบกเชิญผู้ช่วยทูตทหาร 47 ประเทศ รับฟังคำชี้แจงสถานการณ์ชายแดน ไทย-กัมพูชา หลังพบทุ่นระเบิดใหม่

7 นาทีที่แล้ว

LOEWE Craft Prize 2026 เปิดรับผลงานจากศิลปินชาวไทย ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 ตุลาคม

21 นาทีที่แล้ว

กลยุทธ์การลงทุนในไตรมาส 3 ปี 2568: สร้างสมดุล รับมือความผันผวน และคว้าโอกาสจากธีมเด่น

35 นาทีที่แล้ว

บุกทลายโกดังทุนจีนซุกวัตถุอันตราย-เครื่องสำอางเถื่อน ยึดของกลางกว่า 20 ล้านบาท

41 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

ประกาศฉบับ 11 พายุโซนร้อน ‘วิภา’ ขึ้นฝั่งเวียดนามแล้ว!

The Bangkok Insight

โฆษก ทบ. เผยนานาชาติเข้าใจไทยเคลียร์ปมทุ่นระเบิด

สำนักข่าวไทย Online

กองทัพบกเชิญผู้ช่วยทูตทหาร 47 ประเทศ รับฟังคำชี้แจงสถานการณ์ชายแดน ไทย-กัมพูชา หลังพบทุ่นระเบิดใหม่

THE STANDARD

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ชี้ “ปาราชิก” ใน 10 วัน หากสงฆ์กระทำผิด

INN News

อิทธิพล “พายุวิภา” เปิดภาพถ่ายดาวเทียม 5 จังหวัดภาคอีสานโดนผลกระทบหนัก

TNN ช่อง16

BEM-BMN จับมือ TBR จัดการขยะในระบบขนส่ง นำร่องรถไฟฟ้า MRT

คมชัดลึกออนไลน์

โดรนทหารเมียนมาเสียการควบคุม ตกในป่าฝั่งไทย 1 ลำ

สำนักข่าวไทย Online

ตำรวจรับแจ้งความเอาผิด ‘โมนิก้า’ ป้ามหาภัย ข้อหาหนัก ม.116-ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน

ไทยโพสต์

ข่าวและบทความยอดนิยม

“ควรปรับปรุง” สัญญาณจากประธานศาลรัฐธรรมนูญ การปฏิรูปองค์กรอิสระเป็นไปได้หรือไม่

THE STANDARD

เบื้องลึกบทบาทตำรวจไทยในเวทีอินเตอร์โพล ครั้งแรกของการเป็น ‘ผู้นำ’ ปราบปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์

THE STANDARD

1 ตระกูล 3 นายกฯ กับสงครามยาเสพติด นโยบายยืนหนึ่งรัฐบาลเพื่อไทย

THE STANDARD
ดูเพิ่ม
Loading...