โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

ไทยช้า หรือ กัมพูชาเร็วเกิน? คุยกับ อ.ธนภัทร ศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศ มธ. ถึงการชิงพื้นที่ ‘เวทีระหว่างประเทศ’

TODAY

อัพเดต 14 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 21 ชั่วโมงที่ผ่านมา • workpointTODAY

“ไทยเน้นช้าแต่ชัวร์ เราพยาพยามระมัดระวังข้อเท็จจริงที่จะประกาศ ระวังข้อกฎหมายที่จะพูดออกไป และพยายามใช้กลไกระหว่างประเทศ แบบค่อยๆ ไล่ทีละระดับ ไม่ให้กระทบเรื่องความสัมพันธ์ทางการทูต”

ฟังเผินๆ คงไม่เป็นที่ถูกใจใคร ด้วยเหตุพิพาทของ ไทย-กัมพูชา ไม่ใช่แค่วาทะผ่านโซเชียลฯ หรื อการกระทบกระทั่งริมเขตแดน เช่นที่ผ่านมา แต่ขยายไปสู่การสูญเสียชีวิตพลเรือน ที่หนึ่งในนั้นเป็นเพียงเด็กเล็ก แต่ในสายตาผศ.ดร.ธนภัทร ชาตินักรบ อาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ นี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง กับวิธีการสื่อสารในเวทีการทูตของไทย

ทว่า นั่นไม่ได้หมายความว่า นี่คือความเร็วที่ถูกต้องไปตลอด โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ กัมพูชา เดินเกมเร็วกว่าไทยไปมาก

ภาพ อานันท์ ชนมหาตระกูล / Thai News Pix

[‘เวทีระหว่างประเทศ’ สนามที่ต้องเร่งชิงความได้เปรียบ ]

“คงต้องบอกว่าเราช้า” นี่เป็นคำตอบตรงๆ ของ อ.ธนภัทร เมื่อประเมินสถานการณ์ ในช่วงสายวันนี้ (25 ก.ค.) ผ่านรายการพิเศษของสำนักข่าว TODAY

อ.ธนภัทร เริ่มต้นเล่าว่า ช่วงที่ผ่านมา ทั้งสองฝั่งได้สะท้อนข้อเท็จจริง ในมุมมองที่ของจนเอง ผ่านการแถลงการณ์ที่โต้ตอบ ซึ่งมีใจความต่างกันมามากพอแล้ว ถึงเวลาที่ไทยจะหยิบยกประเด็นที่ต่างกัน ไปใช้บน ‘เวทีระหว่างประเทศ’ เป็นพื้นที่แก้ไข และหาทางออกให้กับข้อขัดแย้ง ทั้งกรณี ‘ทุ่นระเบิด’ และ ‘การโจมตี’ ที่อาจขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน

“บอกว่าเราช้าก็ได้ แต่ในปัจจุบันกัมพูชาเขาเร็วเกินไป การทูตของเขาเป็นเชิงรุก หลายครั้งสังเกตได้ จากการที่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นมา กัมพูชาโต้กลับทันทีทันใด ไม่เกินชั่วโมงหลังเกิดเหตุการณ์”

ตัวอย่างครั้ง การประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม ไทย – กัมพูชา (JBC) ที่แยกกันหลังพูดคุยไม่นาน กัมพูชาก็ชิงตั้งโต๊ะแถลงแล้ว หรือแม้แต่ การแถลงต่อ UNSC หรือ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ว่าไทยเป็นผู้เริ่มใช้กำลังก่อน

“ผมมองว่าค่อนข้างตลกนิดนึง” การสื่อสารที่คล้ายกับเป็นหนังคนละม้วนกับฝั่งไทยเช่นนี้ จึงทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศรายนี้ มองว่า ไม่ใช่ข้อได้เปรียบของกัมพูชาเสียทีเดียว

[กัมพูชาหวง ‘ภาพลักษณ์’ ใช้จุดนี้ให้เป็นประโยชน์]

ถึงตอนนี้ แม้ว่าการอยู่ที่ UN ของ มาริษ เสงี่ยมพงษ์ รมว.ต่างประเทศ จะเป็นไปด้วยความบังเอิญ เพราะเดินทางไปประชุมวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน พอดิบพอดี ทว่า อ.ธนภัทร มองว่า ไทยต้องใช้ช่องทางนี้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อสื่อสารความชัดเจน ที่มาที่ไป สิ่งที่เกิดขึ้น และสิ่งที่ไทยกำลังจะทำต่อไป

หากไทยมั่นใจว่าไม่ผิด ต้องทำอย่างไร? อ.ธนภัทร กล่าวว่า อาจต้องแยกพิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป อย่าง ‘ทุ่นระเบิด’ ที่มีการวางใหม่ซึ่งผิดต่อหลักการพื้นฐานสำคัญ ของ อนุสัญญาออตตาวา ซึ่งไทยดำเนินการไปแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ สอบสวนข้อเท็จจริง “ถ้าพิสูจน์แล้วว่ากัมพูชาผิดจริง ก็ต้องมีการหาทางเยียวยา”

แม้จะไม่ได้มีสภาพบังคับรับผิดรับชอบ แต่เบื้องต้น ‘การประณาม’ จากนานาชาติ เป็นสิ่งหนึ่งที่กัมพูชาดูจะรับไม่ค่อยได้ ตามความเห็นของ อ.ธนภัทร

“เขาถูกประณามอะไร เขาจะรีบโต้กลับทันที แสดงให้เห็นว่า เรื่องของภาพลักษณ์ เขาเห็นความสำคัญค่อนข้างมาก ถ้าเราสามารถทำลายจุดนี้ได้ น่าจะเป็นจุดได้เปรียบของเรา”

ถึงตอนนี้ เมื่อข้อพิพาทอยู่ในสายตาเวทีระหว่างประเทศ รวมถึงรัฐต่างชาติ ซึ่งบางส่วนมีพลเมืองอยู่ ทั้งในไทยและกัมพูชา สิ่งที่ตามมา การดำเนินเกมที่ผิดแปลกก็จะเกิดยากขึ้น “ถ้ามีการใช้กำลังระหว่างกัน กัมพูชาเองอาจจะต้องระมัดระวังมากๆ เพื่อไม่ให้เห็นภาพชัดเจนว่า เขาเองละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ”

ภาพ อานันท์ ชนมหาตระกูล / Thai News Pix

[เอาผิด ‘ฮุน เซน’ ฐานทำให้เกิดอาชญากรรมสงคราม?]

นอกเหนือจาก ความพยายามชิงพื้นที่ทางข่าวสาร ตั้งแต่เช้าวันนี้ สิ่งหนึ่งที่ กองทัพไทย เน้นย้ำหลายครั้ง คือ อดีตนายกฯ กัมพูชา ฮุน เซน เกี่ยวข้องกับการบัญชาการโจมตีที่เกิดขึ้น

ออกคำสั่งให้โจมตีพลเมืองใช่ไหม…

สนับสนุนอาวุธต้องห้าม…

มีการใช้โล่มนุษย์ ใช้พลเรือนเป็นเกราะกำบัง ใช่ไหม.. ก่อให้เกิดการสังหารคนโดยไม่เลือกเป้าหรือไม่…

อ.ธนภัทร ชี้ว่า เหล่านี้เป็นเงื่อนไขที่ไทยต้องพิสูจน์ให้ได้ หากต้องการเอาผิดฐานอาชญากรรมสงคราม ตามอนุสัญญากรุงโรม ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลอาญาระหว่างประเทศ คือ ICC

ภาพ อานันท์ ชนมหาตระกูล / Thai News Pix

ไทยไม่ได้เป็นภาคี จะทำอย่างไร? เชื่อว่าหลายคนคงได้รับรู้ข้อเท็จจริงที่ว่า ไทยไม่ได้เป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาดังกล่าว ในขณะที่ กัมพูชาเป็นภาคี ทว่า อ.ธนภัทร ระบุว่า การเป็นหรือไม่เป็นภาคีนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการให้เขตอำนาจชั่วคราว ในกรณีที่มีการยิงพลเรือน โรงพยาบาล ล้วนเป็นความผิดร้ายแรง ตามธรรมนูญกรุงโรม ซึ่งกัมพูชาเป็นภาคี อนุสัญญานี้ก็มีเขตอำนาจในการที่จะดำเนินคดี กับการกระทำที่เกิดขึ้นในรัฐภาคีได้

“ไทยสามารถทำได้ ด้วยการให้เขตอำนาจเฉพาะกรณี…การที่ไทยยอมรับเขตอำนาจชั่วคราว ไม่ได้ทำให้ไทยเป็นภาคีในอนุสัญญากรุงโรม เพียงแต่ให้ศาลอาญาระหว่างประเทศ มีอำนาจในการดำเนินการกระทำเฉพาะเรื่องเท่านั้น”

อย่างไรก็ดี หากไทยแสดงท่าทีชัดเจนว่าจะเดินไปในเส้นทางนี้ อ.ธนภัทร ก็แสดงความกังวล ถึงสิ่งที่ไทยต้องระมัดระวัง นั่นคือ ศาลอาญาระหว่างประเทศ จะต้องส่งคนลงมาในพื้นที่ไทยด้วย

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TODAY

จับมือ 4 ปั๊ม ช่วยเกษตรกรโคนม พีที ปตท. บางจาก ซัสโก้ แจกนมไทย UHT 1 ล้านกล่อง

27 นาทีที่แล้ว

“ณเดชน์ – ญาญ่า” พาคนไทยสัมผัสปรากฏการณ์ “ปังฏิหารย์ผมสวย” ใหม่ ! PANTENE MIRACLES TREATMENT WITH MELTING PRO-V PEARLS ครั้งแรกในไทยกับทรีทเม้นท์ไข่มุกโปร-วิตามิน ที่มองเห็นได้จริงด้วยตาเปล่า !

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“หลิง – ออม” พาคนไทยอินเลิฟประสบการณ์ “ปังฏิหารย์ผมสวย” ใหม่! PANTENE MIRACLES TREATMENT WITH MELTING PRO-V PEARLS

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ทรู คอร์ปอเรชั่น มอบเน็ตฟรี โทรฟรี ขยายเวลาชำระค่าบริการ ช่วยผู้ประสบภัยชายแดนไทย-กัมพูชา

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ยันต์คุ้มกาย ทหารกัมพูชาแห่รับ ผ้ายันต์ เสริมกำลังใจสู้ศึกชายแดน

สยามนิวส์

Never ever let it become proxy

Thai PBS World

"โรม" ซัดพ่อนายกฯ ควรหุบปาก หยุดพูดยั่วยุได้แล้ว หลังปากบอนจ้อสื่อ เชื่อว่า กัมพูชาไม่กล้าเปิดสงครามกับไทย

THE ROOM 44 CHANNEL

ได้เวลา ‘กริพเพน’ ผนึก F-16 ถล่ม ‘ภูมะเขือ-เขาพระวิหาร’ สกัดทหารเขมรใช้อาวุธวิถีโค้ง

ไทยโพสต์

‘กรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย’ติดตามสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา กำชับศูนย์ ปภ. เขต สนับสนุนจังหวัดดูแลประชาชนเต็มที่

เดลินิวส์

ด่วน กองทัพอากาศ ส่ง F-16 กริพเพน ถล่มฝ่ายเขมร 2 เป้าหมายไม่พลาด

มุมข่าว

ข่าวและบทความยอดนิยม

“อยากให้มันจบลงโดยเร็ว” เสียงคนแนวหน้า เมื่อการปะทะเกิดขึ้นไม่ทันตั้งตัว คุยกับ ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ชายแดนไทย-กัมพูชา

TODAY

คุกตวลสเลง-ทุ่งสังหารเขมรแดง ‘มรดกเลือด’ สู่ ‘มรดกโลก’ บทเรียนที่โลกจารึก

TODAY

ไทยถูกเด็ดหัว ‘ตามเกม’ ฮุน เซน ประชาชนอยู่ตรงไหนของสมการนี้?

TODAY
ดูเพิ่ม