โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ผ้าไทยใส่ได้ทุกวันอย่างยั่งยืน: สำรวจ ‘ดอนกอยโมเดล’ ต้นแบบการพัฒนาผ้าไทยที่ใครก็เข้าถึงได้

The MATTER

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Business

เวลาพูดถึงผ้าไทย คำว่าวัฒนธรรมและภูมิปัญญามักถูกห้อยติดมาด้วยเสมอ จนบางครั้งอาจทำให้เกิดความรู้สึกว่าเราทุกคนจำเป็นต้อง ‘รักษา’ สิ่งนี้ให้ดำรงอยู่ต่อไป แต่ด้วยความเป็นผ้าไทยที่ติดภาพจำกันมา การสนับสนุนด้วยการซื้อจึงเป็นไปได้ยาก เพราะหลายคนไม่จำเป็นต้องใส่มันบ่อยครั้ง

ทว่าในปัจจุบันผ้าไทยถูกปรับเปลี่ยนให้เข้าถึงทุกคนมากขึ้น ด้วยลวดลาย สีสัน หรือดีไซต์ที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้ผ้าไทยเหมาะสำหรับการสวมใส่ในทุกวาระโอกาสในชีวิตประจำวัน ซึ่งแนวคิดนี้ เกิดขึ้นภายใต้โครงการ ‘Sustainable Fashion: แฟชั่นแห่งความยั่งยืน’ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ พัฒนาผ้าทอพื้นเมือง และงานหัตถกรรมพื้นบ้าน

เพื่อยกระดับผ้าไทยสู่สากล พร้อมทั้งเป็น ‘แฟชั่นแห่งความยั่งยืน’ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าในขณะนี้โลกของเรากำลังประสบกับปัญหาอุตสาหกรรม fast fashion ที่สร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม พร้อมกันนั้น โครงการดังกล่าวยังไม่ทิ้งอัตลักษณ์พื้นถิ่น แต่เลือกที่จะนำมาผสมผสานเข้ากับเทรนด์แฟชั่นอันหลากหลาย จนเกิดเป็นพื้นผ้าที่มีความร่วมสมัย เข้าถึงผู้คนทุกกลุ่ม

ด้วยเหตุนี้ The MATTER ขอชวนทุกคนไปดูโฉมหน้าใหม่ของผ้าไทย ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ‘Sustainable Fashion โดยเฉพาะ ‘ดอนกอยโมเดล สู่ตลาดสากล’ ที่พยายามปรับตัวให้กลมกลืนความเป็นสมัยใหม่ แต่ยังไม่ละทิ้งหัวใจสำคัญคือ ความเป็นชุมชน ความยั่งยืน และความเอกลักษณ์

‘การย้อมทอ’ วัฒนธรรมที่เกือบเลือนหายไปจากสกลนคร

กลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย จังหวัดสกลนคร cr.ผ้าไทยใส่ให้สนุก

จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ชาวบ้านในจังหวัดสกลนครประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยเฉพาะการทำนา แต่เมื่อเสร็จสิ้นฤดูกาลทำนาแล้ว จะเปลี่ยนพื้นที่เกษตรไปเพาะปลูกพืชชนิดอื่น เช่น ต้นฝ้าย เพื่อนำเส้นใยมาทอผ้าไว้ใช้เอง รวมทั้งปลูกต้นครามเพื่อเอาไว้ย้อมสีฝ้ายให้มีสีสันและทนทาน

กระบวนการเข็น การทอเส้นใยฝ้าย ตลอดจนกรรมวิธีย้อมครามเหล่านี้ ที่ผ่านมามักเป็นงานของ ‘ผู้หญิง’ ที่จะทอผ้าผืนยาวแล้วนำมาตัดเย็บเป็นผ้านุ่งและเสื้อผ้า อย่างผ้าห่ม ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันศีรษะ และผ้าเคียนเอว ให้แก่สมาชิกในครอบครัว

วัฒนธรรมการย้อมฝ้ายด้วยคราม ก่อนจะนำมาทอเป็นผืนผ้านั้นเป็นภูมิปัญญาพื้นถิ่น ที่ถูกส่งต่อจากบรรพบุรุษ อย่างไรก็ดี การย้อมและทอผ้าเริ่มหมดความนิยมเมื่อเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ แต่นับจากปี 2535 มีการพยายามฟื้นฟูภูมิปัญญาพื้นถิ่นขึ้นใหม่ จนได้รับความนิยมและสร้างรายได้ให้กับชุมชนตั้งแต่นั้นมา เนื่องจากอาชีพเสริมหลังจากการทำนาของผู้หญิง ในชุมชนบ้านดอนกอยส่วนใหญ่ คือการทอผ้า ที่ตอนนี้ช่วยสร้างรายได้ให้แก่พวกเธอตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักหมื่นบาท

สีย้อมหลากหลาย ลวดลายโดดเด่น แต่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

กลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านตอเรือ จังหวัดสกลนคร cr.ผ้าไทยใส่ให้สนุก

สีที่ถูกถักทอบนผ้าล้วนเกิดมาจากธรรมชาติ อาทิ จากใบ เปลือก แก่น ราก ดอก ผล เมล็ด ที่จะถูกนำมาสกัดด้วยกรรมวิธีต่างๆ โดยพืชแต่ละชนิด แต่ละส่วน จะให้สีสันที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความอ่อน แก่ สด แห้ง ช่วงเวลา เดือน และช่วงฤดูกาลที่เก็บเกี่ยว ดังนั้น การได้มาซึ่งสีที่ต้องการ จำเป็นต้องใช้ความรู้และความชำนาญเป็นอย่างสูง

พืชที่ให้สีติดเส้นฝ้ายดีนั้นมักเป็นพืชที่ให้ ‘รสฝาด’ เพราะความฝาดจะมีฤทธิ์เป็นด่าง เช่น เส้นใยสีเหลืองจากเปลือกต้นมะม่วง เปลืองต้นเพกา เปลือกสมอ ที่ผ่านกระบวนการสกัดด้วยการต้ม การหมัก แล้วนำเส้นใยลงย้อม จนได้เส้นใยที่มีสีสันตามความต้องการ ซึ่งสีที่ได้มีหลากหลายมาก ทั้งสีชมพู สีส้ม สีคราม สีเหลือง ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม การที่ผืนผ้าออกมามีลวดลายและสีสันหลากหลาย ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นมาจากการร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญและนักออกแบบหลากหลายสาขา ที่เข้ามาให้คำปรึกษา แนะนำวิธีการ ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคนิคต่างๆ ให้กับคนในชุมชน เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์ในการทำลวดลายใหม่ๆ

กล่าวโดยสรุป คือ การย้อมสีธรรมชาติจากวัสดุธรรมชาติ มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ เส้นใย สารให้สี สารช่วยติดสี อุณหภูมิ และเวลา ทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดเฉดสี และคุณภาพของการติดสี นอกจากนี้ ขั้นตอนการทอผ้า จะใช้อุปกรณ์ถูกที่ส่งต่อกันมาตั้งแต่โบราณ เช่น หลา (เครื่องมือปั่นฝ้าย) ระวิง (เครื่องมือกรอด้าย) อัก (เครื่องมือคัดด้าย) หูก หรือ กี่ (เครื่องมือใช้ในการทอผ้า)

ไม่ใช่แค่ดอนกอยโมเดล ที่ผลักดันผ้าไทยสู่แฟชั่นแห่งความยั่งยืน

กลุ่มบางนราบาติก จังหวัดนราธิวาส cr.ผ้าไทยใส่ให้สนุก

ชุมชนในจังหวัดสกลนครที่เข้าร่วมโครงการดอนกอยโมเดล มีทั้งหมด 7 ชุมชนด้วยกัน ซึ่งแต่ละพื้นที่มีสมบัติทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างกัน แต่จุดร่วมที่มีเหมือนกันคือ ลวดลายผ้าที่สวยงาม สีสันโดดเด่น และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการผลิต

เนื่องจากในปัจจุบัน มาตรฐานหลักที่อุตสาหกรรมแฟชั่นทั่วโลกให้ความสำคัญคือ การถักทอผืนผ้าและสร้างสรรค์งานหัตถกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่ปลอดภัยต่อทั้งผู้สร้างสรรค์และผู้สวมใส่ จนเกิดเป็นโครงการ ‘Sustainable Fasion: แฟชั่นแห่งความยั่งยืน’ ขึ้นมา

ทั้งนี้ ไม่ใช่แค่ชุมชนในจังหวัดสกลนคร ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการลักษณะนี้ แต่ยังมีจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศไทย อย่างจังหวัดนครพนมที่มี ‘นาหว้าโมเดล’ ที่ถูกสนับสนุนให้ชุมชนปลูกต้นหม่อน และเลี้ยงหนอนไหมพันธุ์พื้นเมือง เพื่อให้ช่างทอผ้าสามารถพึ่งพาตนเองในการสร้างสรรค์ผืนผ้า ตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ

ไม่เพียงเท่านั้น ‘ผ้าบาติกบาติกโมเดล’ ก็เป็นโมเดลที่น่าจับตามองไม่แพ้กัน เพราะเกิดจากการต่อยอดภูมิปัญญาพื้นถิ่น นั้นก็คือการสร้างสรรค์ผืนผ้าบาติก ที่ถูกนำมาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความร่วมสมัย ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ช่างบาติกในชุมชน จนกลายเป็นที่มาของแนวคิด ‘ผ้าไทยใส่ให้สนุก’ ที่ต่อยอดมาจากโครงการ Sustainable Fasion อีกที

สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของกระแสผ้าไทยได้ที่: phathaisaihaisanook

อ้างอิงจาก

donkoimodel.com

thailandotop.org

thailandotop.org

Graphic Designer: Krittaporn Tochan
Editor: Thanyawat Ippoodom

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก The MATTER

มีปัญหาทางใจ ก็ปรึกษา AI? อันตรายที่แฝงอยู่ เมื่อเรากำลังใช้แชตบอตเป็นนักจิตบำบัด

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

นิวเคลียร์ สงคราม มหาอำนาจ: เข้าใจรากเหง้าปัญหาในตะวันออกกลาง ผ่านการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กับ ผศ.ดร.มาโนชญ์ อารีย์

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

“โสรัตน์ วณิชวรากิจ” ตัดขาย RS กว่า 104 ล้านหุ้น เหลือถือ 4.63%

ข่าวหุ้นธุรกิจ

“อิทธิพร” ยันคดีฮั้วเลือก สว. เดินตามขั้นตอน กกต. มีความอิสระ

ข่าวหุ้นธุรกิจ

“แคริว่า” ตอกย้ำผู้นำด้านเทคโนฯ AI ทางการแพทย์ คว้าใบรับรอง ISO/IEC 29110 ยกระดับคุณภาพซอฟต์แวร์สู่ระดับโลก

สยามรัฐ

ราคาน้ำมันวันพรุ่งนี้ 19 ก.ค. เช็กราคาเบนซิน-ดีเซล-โซฮอล์ จาก 3 ปั๊มใหญ่ที่นี่

The Bangkok Insight

"โสรัตน์ วณิชวรากิจ"ผถห.ใหญ่ RS ขายหุ้น 104.38 ล้านหุ้น ยังถือสัดส่วน 4.6287%

ทันหุ้น

ก.ล.ต.เฮียริ่งปรับเกณฑ์ knowledge test ก่อนจองซื้อโทเคนดิจิทัล

ทันหุ้น

KTC เผยครึ่งปีแรก 68 กำไรโต 3,755 ลบ. มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ไม่กระทบ

ทันหุ้น

BAY สินเชื่อ-ค่าฟีเพิ่ม หนุนกำไร Q2 แตะ 8.30 พันล้านบาท

ข่าวหุ้นธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

สำรวจปัญหา ‘ย่านบรรทัดทอง’ เมื่อร้านเก่าทยอย ‘ยอมแพ้’ เพราะสู้ไม่ไหว แล้วอะไรคือทางออกที่ยั่งยืน เพื่อให้ย่านอยู่รอด? 

The MATTER

“ให้คนรู้สึกเสียดาย ถ้าสื่อนี้จะหายไป” คุยเรื่องอนาคตของ Thai PBS กับ นพพร อดีตแคนดิเดตชิงเก้าอี้ ผอ.Thai PBS

The MATTER

‘ไฮโดรเจน’ พลังงานสะอาดช่วยโลก เมื่อโลกรวนยิ่งขึ้น ญี่ปุ่นจึงใช้เทคโนโลยีผลิตไฮโดรเจน เพื่อลดคาร์บอน

The MATTER
ดูเพิ่ม
Loading...