โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที

“พล.อ.ท.ธนพันธุ์”แจงยิบเหตุรับรองผลการประมูลคลื่นความถี่มือถือ

เดลินิวส์

อัพเดต 9 กรกฎาคม 2568 เวลา 0.36 น. • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
ชี้แจงกรณีรับรองผลการประมูลคลื่นความถี่ ในการประมูลที่ผ่านมา ชี้ชัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแม้การแข่งขันลดลง พร้อมทำบันทึกชี้แจงเหตุผลในการลงมติครั้งนี้ เพื่อเปิดเผยในรายงานการประชุมฯ ตามกฎหมายต่อไป

พล.อ.ท.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการ กสทช. เปิดเผยถึงเหตุผลกรณีลงมติ เป็น 1 ใน 5 กรรมการ กสทช. เสียงข้างมาก ที่รับรองผลการประมูลคลื่นความถี่สำหรับมือถือ ว่า สำนักงาน กสทช. ได้เสนอให้ กสทช. พิจารณา 3 เรื่อง ได้แก่ 1.การรับรองผลการประมูลคลื่นความถี่ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 มิ.ย. ที่ผ่านมา 2.การเพิ่มเงื่อนไขการกำหนดค่าปรับ กรณีผู้รับใบอนุญาตไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขในการจัดให้มีโครงข่าย ตามข้อ 17 ของประกาศ กสทช. ในการประมูลฯ ครั้งนี้ได้ และ 3.การมอบหมายให้ประธาน กสทช. เป็นผู้พิจารณาอนุมัติใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ แก่ผู้ชนะการประมูล แต่ละราย

ทั้งนี้การมีมติ 5:1:1 นั้น เป็นมติในเรื่องที่ 1 คือ การรับรองผลการประมูลฯ เท่านั้น สำหรับในเรื่องที่ 2 และ 3 นั้น เป็นไปในแนวทางเดียวกัน คือ ไม่ได้เห็นชอบตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ซึ่งการลงมติรับรองผลการประมูลฯ ไม่ใช่เรื่องง่าย และโดยส่วนตัวไม่ได้เห็นด้วยในทุกเรื่อง เนื่องจากเมื่อวันที่การประมูลสิ้นสุด (29 มิ.ย. 68) และตนได้มีข้อห่วงใยและขอให้สำนักงาน กสทช. จัดทำรายงานเพิ่มใน 2 ประเด็น คือ 1. ตรวจสอบเรื่องพฤติกรรม “ฮั้วประมูล” ตามประกาศฯ หมวด 7 มาตรการจำกัดพฤติกรรมสมยอมในการเสนอราคาประมูล และ 2. รวบรวมข้อร้องเรียนทั้งหมด จากที่กรรมการได้เพียง 3 ฉบับ และเคยเสนอให้ กสทช. ร่วมกันพิจารณาแต่ไม่ได้รับการตอบสนอง เพื่อประกอบการตัดสินตกลงใจ

ซึ่งสำนักงานฯ ได้รายงานเสนอให้ที่ประชุมฯ (6 ก.ค. 68) สรุป ดังนี้

1. ผลการตรวจสอบเรื่องพฤติกรรม “ฮั้วประมูล” ทั้งกรณีการห้ามมิให้มีการติดต่อสื่อสารทั้งก่อนและระหว่างประมูล และ กรณีการร่วมตกลงสมยอม จากหลักฐาน Log File การเคาะราคา ไม่พบว่าเป็นการกระทำอันเป็นเหตุให้ผู้อื่นสมยอมหรือไม่เสนอราคาอย่างเป็นธรรม รวมทั้งเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ ที่เกี่ยวข้องได้รับรองตนเองว่าไม่ได้ให้ข้อมูลหรือเอื้ออำนวยให้ผู้เสนอราคารายใดเกิดการแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรม

2. ผลการรวบรวมหนังสือร้องเรียนทั้งหมดมี 17 ฉบับ ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการให้ “ยกเลิกการประมูล” เนื่องจากการแข่งขันน้อย และ “ราคาต่ำเกินไป” อาจทำให้รัฐเสียประโยชน์ อย่างไรก็ตามยังมีข้อเสนอที่น่าจะเป็นประโยชน์ เช่น เสนอให้มี package สำหรับนักเรียน นักศึกษา กลุ่มเปราะบางทางเศรษฐกิจ ให้ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วเฉลี่ยที่ 4 Mbps โดยไม่จำกัดปริมาณการใช้งาน ในราคาไม่เกิน 75 บาท/เดือน เป็นต้น ซึ่งตนเองได้เสนอให้สำนักงานฯ เพิ่มใน “เงื่อนไขใบอนุญาตฯ” ที่ผู้ชนะการประมูลต้องดำเนินการ

จึงเป็นที่มาที่สำนักงาน กสทช. ชี้แจงในเรื่องที่ 2 คือ การเพิ่มเงื่อนไขค่าปรับในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตไม่สามารถจัดให้มีโครงข่ายตามข้อ 17 ที่กำหนดให้ เช่น ในแต่ละตำบลต้องใช้งานได้ร้อยละ 50 ของจำนวนประชากรภายใน 2 ปี นับตั้งแต่ได้รับใบอนุญาต โดยที่สำนักงานฯ มีข้อห่วงใยในประเด็นข้อกฎหมาย แม้ว่าเรื่องนี้ กสทช. ได้มีฉันทามติร่วมกันไปแล้ว จึงเป็นที่มาของการมีมติให้เสนอคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายของ กสทช. พิจารณาเรื่องนี้ และขอให้มีข้อเสนอแนะต่อแนวทางการดำเนินการด้วย เนื่องจากข้อเสนอการเพิ่มเงื่อนไขดังกล่าวเกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ

นอกจากนั้นตนเองยังได้ขอให้สำนักงานฯ พิจารณาเร่งรัดใน เรื่อง การกำกับดูแลอัตราค่าบริการ และ package ที่เกิดประโยชน์ต่อประชาชน รวมทั้งเร่งรัดการออกประกาศ กสทช. ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขการอนุญาตในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคุณภาพการให้บริการ (Quality of Service: QoS) เรื่องข้อกำหนดการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือน (Mobile Virtual Network Operator: MVNO) รวมถึงเรื่องการศึกษานำคลื่นความถี่ที่ไม่มีผู้ที่สนใจในครั้งนี้ ให้หน่วยงานรัฐนำไปใช้ประโยชน์เพื่อสาธารณะได้ เช่นเดียวกับกรณี PPDR แต่ต้องไม่นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์

สำหรับการพิจารณาในเรื่องที่ 3 นั้น ไม่เห็นด้วยกับที่สำนักงานฯ เสนอที่มอบหมายให้ประธาน กสทช. เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ เนื่องจากอำนาจในการ “อนุญาต” และการกำหนด “เงื่อนไขใบอนุญาต” เป็นของ กสทช. ที่ต้องผ่านการกลั่นกรองร่วมกันด้วยความรอบคอบ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ไม่ใช่ของประธาน กสทช.

“เนื่องจากหลักเกณฑ์การประมูลในครั้งนี้ กสทช. ได้เห็นชอบไปแล้ว โดยกำหนดเงื่อนไขเพื่อให้ทั้งประชาชน รัฐ และผู้ประกอบการ เกิดประโยชน์สูงสุด แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ยากมากเนื่องจากผู้ประกอบการลดลงผลจากการควบรวม อย่างไรก็ตาม การประมูลครั้งนี้ตนได้ยืนยันให้นำเฉพาะคลื่นความถี่ที่ NT จะหมดสัมปทานในวันที่ 3 สิงหาคมนี้ มาประมูลเท่านั้น ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการ มิเช่นนั้นจะมีปัญหามากแก่ประชาชนผู้ใช้งานเดิม หากไม่มีผู้เข้ามารับช่วงต่อ สำหรับราคาขั้นต่ำนั้น ตนก็เป็นผู้ยืนยันให้ปรับราคาคลื่นย่าน 2,100 MHz จากเดิมที่สำนักงานฯ เสนอตามหลักเศรษฐมิติ จาก 3,322.82 ล้านบาท มาเป็น 4,500 ล้านบาท ตามราคาขั้นต่ำของการประมูลที่ผ่านมา และคลื่นย่าน 2,300 MHz จาก 1,871.16 ล้านบาท มาเป็น 2,596.15 ล้านบาท ตามสัดส่วนของคลื่นย่าน 2,100 MHz ซึ่งอย่างน้อยทำให้รัฐได้ประโยชน์มากขึ้น จากแนวโน้มการแข่งขันที่ลดลง สำหรับในประเด็นอื่นๆ ที่ไม่เห็นด้วยและขอสงวนไว้นั้น จะจัดทำเป็นบันทึกชี้แจงเหตุผลในการลงมติครั้งนี้ และจะต้องเปิดเผยในรายงานการประชุมฯ ตามกฎหมายต่อไป” พล.อ.ท.ธนพันธุ์ กล่าว

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

ภาพหาดูยาก! ‘เสือไฟ’ สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ โผล่เดินโชว์ตัวหน้ากล้องดักถ่าย

58 นาทีที่แล้ว

ระทึก! รถทัวร์บรรทุกนักท่องเที่ยว พลิกควํ่าก่อนลงใต้เจ็บนับสิบราย

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เร่งล่ามือปืนซุ่มยิงเจ้าของสวนทุเรียน กระสุนเจาะคอดับคากระท่อมกลางสวน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจ.ชลบุรีนำตราตั้งวัดมอบให้กับวัดป่าศรัทธานิมิต

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอทีอื่น ๆ

OnePlus เปิดตัว Nord 5 และ Nord CE5: ชิปทรงพลัง, จอ 144 Hz, แบตเตอรี่ใหญ่ และฟีเจอร์ AI มากมาย

BT Beartai

“ดีป้า” แนะไทยปรับแผนรับมือภาษีทรัมป์ 36 % เร่งเปิดตลาดใหม่-ใช้ดิจิทัลส่งเสริมผู้ประกอบการ

เดลินิวส์

iPhone 17 Air จะมาพร้อม 'สีฟ้าแบบใหม่' ที่ Apple ไม่เคยใช้ iPhone รุ่นใดมาก่อน

BT Beartai

ส่องอัปเดต iOS 26 Beta 3 ปรับให้ลงตัวขึ้นก่อนเปิดตัว

sanook.com

วิธีเช็ค Line Wear OS หนึ่งเดียวบนข้อมือ ก่อนใข้ไม่ได้ใน 22 ก.ค. นี้

sanook.com

Check Point เตือน ! ตรวจพบเทคนิคใหม่ของมัลแวร์ ในการพยายามเลี่ยงระบบตรวจจับแบบ AI

Thaiware

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...