โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

หุ้น การลงทุน

"ThaiESGX" ปิดจ๊อบ "ไม่ปัง" ได้ยอด 3.2 หมื่นลบ. เป็น "เงินโอน LTF" 2.5 หมื่นลบ. & "เงินลงทุนใหม่" 6.9 พันลบ. !!!

Wealthy Thai

อัพเดต 56 นาทีที่แล้ว • เผยแพร่ 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ภาพรวมการลงทุนในกองทุน Thai ESGX

กองทุน Thai ESGX นับเป็นอีกหนึ่งกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษีล่าสุดที่เริ่มจัดตั้งในปี 2568 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมการลงทุนที่ยั่งยืนในตลาดหุ้นไทยและช่วยรองรับเงินลงทุนจากกองทุน LTF ที่ครบกำหนดลง โดยนักลงทุนสามารถนำยอดโอนย้ายกองทุน LTF ไปกองทุน Thai ESGX ไปใช้ในการลดหย่อนภาษีได้สูงถึง 5 แสนบาท และอีกส่วนหนึ่งก็เปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถนำเงินลงทุนใหม่มาลงทุนเพิ่มเติมได้ โดยแยกวงเงินลดหย่อนภาษีออกมาต่างหากจากวงเงินสับเปลี่ยนจากกองทุน LTF อีก 3 แสนบาท
ระยะเวลาเกือบ 2 เดือนที่เปิดให้มีการลงทุนในกองทุน Thai ESGX ได้สิ้นสุดลงเมื่อสิ้นเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา โดยมีมูลค่าทรัพย์สินรวมประมาณ 3.2 หมื่นล้านบาท จากจำนวนกองทุนทั้งหมด 86 กองทุน (นับแยกชนิดหน่วยลงทุน) ภายใต้การบริหารจัดการของ 19 บลจ.โดย บลจ.ที่มีส่วนแบ่งตลาดในด้านมูลค่าทรัพย์สินสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บลจ.บัวหลวง, บลจ.กสิกรไทย และ บลจ.ไทยพาณิชย์ ตามลำดับ และส่วนแบ่งตลาดของ บลจ. รายใหญ่ 5 รายแรก คิดเป็นสัดส่วนกว่า 80% ของตลาดโดยรวม

ทั้งนี้ หากพิจารณาสัดส่วนมูลค่าทรัพย์สินระหว่างกองทุน Thai ESGX ประเภทเงินลงทุนใหม่ และประเภทรับโอนมาจากกองทุน LTF จะพบว่า กองทุน Thai ESGX ประเภทรับโอนย้ายจากกองทุน LTFมีสัดส่วนมูลค่าทรัพย์สินประมาณเกือบ 80% ของขนาดกองทุนโดยรวม คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2.5 หมื่นล้าน ในขณะที่มีทรัพย์สินในกองทุน Thai ESGX ประเภทเงินลงทุนใหม่ราว 6.9 พันล้านบาท ทั้งนี้ หากพิจารณาเทียบสัดส่วนของกองทุน Thai ESGX ทั้งสองประเภท ภายใต้ บลจ.เดียวกัน พบว่า บลจ.ทิสโก้ มีสัดส่วนเงินลงทุนใหม่ที่สูงที่สุด เมื่อเทียบในกลุ่ม บลจ. 10 อันดับแรก ในขณะที่ บลจ.อเบอร์ดีน มีสัดส่วนจากเงินโอนย้ายกองทุน LTF มากที่สุด

กองทุนผสมได้รับความนิยมมากกว่า

กองทุน Thai ESGX ที่ออกมาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆตาม Morningstar Categoryคือ กองทุนในกลุ่ม Aggressive Allocation ซึ่งเป็นกองทุนผสมที่มีสัดส่วนหุ้นค่อนข้างสูง และกองทุนกลุ่ม Equity Large-Cap ที่เน้นลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ โดยความนิยมในกองทุนผสมดูเหมือนจะได้รับความนิยมมากกว่ากองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นล้วน จากขนาดทรัพย์สินโดยรวมกว่า 67% ของตลาด หรือประมาณเกือบ 2.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งสูงกว่ากลุ่มกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นกว่า 1 หมื่นล้านบาท

กองทุนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรม คือ กองทุน BMDIV-TESGX จาก บลจ.บัวหลวง ซึ่งเป็นกองทุนในกลุ่ม Aggressive Allocation โดยมีขนาดกองทุนประมาณ 3.9 พันล้านบาท ในขณะที่กองทุน KFAEQ-THAIESGX-L ของ บลจ.กรุงศรี นับเป็นกองทุนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่ม Equity Large-Cap มีขนาดกองทุนเกือบ 3 พันล้านบาท โดยหากพิจารณาจากกองทุนที่ใหญ่ที่สุด 5 อันดับแรกของทั้ง 2 กลุ่มกองทุน จะพบว่าเป็นกองทุนของ บลจ.หลัก 3 ราย คือ บลจ.บัวหลวง, บลจ. กสิกรไทย และ บลจ.กรุงศรี

นอกจากนี้ จะเห็นว่า หลาย บลจ.จะมีการออกชนิดหน่วยลงทุนที่แตกต่างกัน 2 ชนิด เพื่อรองรับทั้งการสับเปลี่ยนจากกองทุน LTF เดิม (ส่วนใหญ่มักลงท้าย -L หรือมีคำว่า LTF)และเงินลงทุนใหม่ (ส่วนใหญ่มักมีคำว่า 68 หรือ 25เป็นต้น)โดยจากรายชื่อกองทุนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดข้างต้น จะเห็นว่ากองทุนส่วนใหญ่ที่ได้รับความนิยมมักเป็นกองทุนชนิดรับโอน LTF แทบทั้งสิ้น แต่มีกองทุน K-70ThaiESGX-68และกองทุน K-HDThaiESGX-68 ของ บลจ.กสิกรไทย ซึ่งเป็นหน่วยลงทุนชนิดรับเงินใหม่ที่ติดโผกองทุนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดใน 5 อันดับแรกของกองทุนทั้ง 2 ประเภท

เงินยังไหลออกจาก LTF อย่างต่อเนื่อง

แม้ว่ากองทุน Thai ESGX จะมีเป้าหมายในการช่วยชะลอการไถ่ถอนของกองทุน LTF แต่หากพิจารณาเงินลงทุนในช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 9 พ.ค. 68 ซึ่งเป็นวันที่กองทุน Thai ESGX เริ่มมีการจัดตั้ง จนถึงวันที่ 1 ก.ค. 68 จะพบว่ามีเงินไหลออกจากกองทุน LTF เกือบ 4 หมื่นล้านบาท ในขณะที่มีเงินไหลเข้าในกองทุน Thai ESGX ประมาณ 3.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเป็นสัดส่วนจากการโอนย้ายกองทุน LTF ประมาณ 2.4 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนราวๆ 60% ของเงินไถ่ถอนในกองทุน LTF ทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกัน

ความท้าทายในการรักษาเม็ดเงินในระบบ โดยเฉพาะในภาวะที่ตลาดหุ้นไทยยังเผชิญกับความผันผวนและความไม่แน่นอนจากทั้งปัจจัยในประเทศและต่างประเทศ ยังคงเป็นโจทย์ใหญ่ของภาครัฐในการดำเนินมาตรการต่างๆในอนาต ถึงแม้ว่ากองทุน Thai ESGX จะไม่สามารถชะลอการไหลออกของกองทุน LTF ได้ทั้งหมด แต่กองทุน Thai ESGX ก็ได้สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของภาครัฐในการสร้าง “ทางเลือกใหม่ที่ยั่งยืน” ให้กับนักลงทุนไทย และกลายเป็นอีกตัวเลือกที่นักลงทุนจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจ โดยเฉพาะในบริบทที่ตลาดเริ่มให้ความสำคัญกับปัจจัยด้าน ESG มากขึ้น และอาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนในระยะยาวให้กับนักลงทุนได้

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Wealthy Thai

พรีโม ผนึก 3 พันธมิตรบัตรเครดิตชั้นนำ มอบสิทธิพิเศษซ่อมห้องชุด ดอกเบี้ย 0% นานสูงสุด 6 เดือน*

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

AMR รุกนวัตกรรม Mobility Tech สอดรับเทรนด์พลังงานสีเขียว-เมืองอัจฉริยะ ในงาน Mobility Tech Asia 2025

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เมืองไทยประกันชีวิต เปิดเผยรายงานความยั่งยืนประจำปี 2567 ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบและโปร่งใส

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

MONEY EXPO 2025 HATYAI บุกภาคใต้ ขนทัพแบงก์-นอนแบงก์-บล.-บลจ.-ประกัน อัดโปรโมชั่นแรงหนุนเศรษฐกิจใต้เติบโต

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความหุ้น การลงทุนอื่นๆ

KTC รายงาน "มงคล ประกิตชัยวัฒนา" สัดส่วนถือหุ้นเหลือ 5.1376%

ประชาชาติธุรกิจ

‘พิชัย’ อัปเดตเจรจาภาษีสหรัฐ ชี้ยกแรกยังไม่จบ เตรียมปรับเงื่อนไขข้อเสนอใหม่!

The Bangkok Insight

ค่าเงินบาท ปิดวันนี้ 4 ก.ค. ที่ 32.34 บาท คาดกรอบสัปดาห์หน้า 32.30-32.50 บาท

The Bangkok Insight

ตลาดแรงงานสหรัฐยังแข็งแกร่ง จับตาการเจรจาการค้าไทย-สหรัฐ

ประชาชาติธุรกิจ

ไฮไลท์โปรโมชั่นจาก ธนาคารกรุงเทพ ในงาน MONEY EXPO 2025 HATYAI

การเงินธนาคาร

สภาผู้แทนสหรัฐฯ ไฟเขียวร่างกม.ลดหย่อนภาษี-การใช้จ่าย ทรัมป์เตรียมลงนามบังคับใช้

ฮั่วเซ่งเฮง

ราคาทองวันนี้ 4 ก.ค. ปิดตลาดร่วง 200 บาท รูปพรรณขายออก 51,900 บาท

The Bangkok Insight

หุ้นวันนี้ปิดร่วง 7.27 จุด ต่างชาติเทขาย 2 พันล้าน จับตาเจรจาการค้าไทย-สหรัฐ

The Bangkok Insight

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...