โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เอเซีย พลัสสแกนหุ้นที่ส่งออกไปสหรัฐ มีประเด็นอะไรน่ากังวลบ้าง

ทันหุ้น

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

#ทันหุ้น-บล.เอเซีย พลัส ระบุว่าหลังจากที่สหรัฐส่งจดหมายไปยังหลายประเทศถึงอัตราภาษีการค้าที่จะมีผลตั้งแต่ 1 ส.ค.68 ซึ่งประเทศไทยโดนภาษี 36% เท่าเดิม โดยฝ่ายวิจัยฯได้รวบรวมว่ากลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆโดนผลกระทบทั้งในมุมส่งออก หรือ นำเข้ามากน้อยเพียงใด โดยมีรายละเอียด ดังนี้

กลุ่มเครื่องดื่ม

1) COCOCO สัดส่วนรายได้จากสหรัฐฯ 24% จากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น เนื่องจาก ประเทศคู่แข่งในสินค้ากลุ่มกะทิและน้ำมะพร้าว มีอัตราภาษีที่ต่ำกว่าไทยจากการประกาศล่าสุด เช่น เวียดนาม (20%) อินโดนีเซีย(32%) ฟิลิปปินส์ (17%) และ มาเลเซีย (25%) เป็นต้น อย่างไรก็ดี โรงงานใหม่ในฟิลิปปินส์ที่มีกำหนดสร้างเสร็จต้นปีหน้า น่าจะช่วยลดผลกระทบดังกล่าว และอาจกลับมาเป็นผลบวกต่อบริษัทได้ ในระยะยาว จากการย้ายการผลิตสินค้ากลุ่มกะทิเพื่อส่งออกไปสหรัฐฯ ไปยังโรงงานใหม่

2) SAPPE สัดส่วนรายได้จากสหรัฐฯ 5% โดยมองผลลบจากราคาสินค้านำเข้าในสหรัฐฯ ที่สูงขึ้นจะส่งผลต่อความต้องการสินค้า เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นประเทศที่บริษัทตั้งเป้าเข้าไปขยายตลาดในอนาคต

กลุ่มวัสุดก่อสร้าง

1) SCC มีสัดส่วนรายได้ส่งออกสหรัฐ เท่ากับ 1% ของรายได้รวม ได้แก่สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง และสินค้ารักษ์โลก เช่นปูนคาร์บอนต่ำ ในอนาคต SCC มีแผนนำเข้า ETHANE จากสหรัฐเพื่อใช้เป็น FEEDSTOCK ให้กับโรงงาน LONG SON PETROCHEMICAL ในเวียดนามปีละ 1 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท/ปี

2) SCGP มีสัดส่วนรายได้ไปสหรัฐ คิดเป็น 3% ของรายได้ทั้งหมด สินค้าส่งออกหลักคือ POLYMER PACKAGING และบรรจุภัณฑ์อาหาร ซึ่งปัจจุบันมีภาษีนำเข้า 15-20% หากการขึ้นภาษีทำให้การนำเข้าของสหรัฐลดลง SCGP ก็สามารถ ALLOCATE สินค้าไปขายที่ตลาดอื่นๆ ได้ เนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่ของ SCGP เกี่ยวข้องกับสินค้าอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะตลาดในกลุ่มอาเซียนที่ยังมี DOMESTIC CONSUMPTION เติบโตดี ส่วนสินค้าที่ SCGP นำเข้าจากสหรัฐคือเศษกระดาษ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 2-3% ของเศษกระดาษที่ใช้ทั้งหมด หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 700-1000 ล้านบาท/ปี โดยมีภาษีนำเข้า 0%

3) SCGD มีสัดส่วนรายได้ไปสหรัฐน้อยกว่า 1% ของรายได้รวม

กลุ่มรพ.

ส่วนใหญ่จะนำเข้ายาจากทางโซนยุโรป ทั้งนี้ยาที่นำเข้าจากสหรัฐฯ นั้นจะคิดเป็นไม่เกิน 10% ของต้นทุน และซื้อผ่านAGENCY อีกทีจึงไม่แน่ชัดว่าแต่ละ AGENCY โดนภาษีไปเท่าไหร่ เนื่องจากถูกรวมไว้แล้วในราคาขายส่วนเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่นำเข้าจาก US นั้นไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าอยู่แล้ว

กลุ่มโรงไฟฟ้า : คาดไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง เนื่องจากไม่ได้มีสินค้าที่นำเข้า และส่งออกไปยังสหรัฐฯอย่างไรก็ตามคาดได้รับผลกระทบทางอ้อม 2 กรณีดังนี้

1) กลุ่มโรงไฟฟ้าที่ขายไฟฟ้าให้ลูกค้าอุตสาหกรรม เช่น BGRIM, GPCS, GULF เป็นต้น คาดจะได้รับผลเชิงลบจากความต้องการใช้ไฟฟ้าของกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ที่อาจปรับตัวลดลง

2) ผู้ประกอบการที่มีโครงการโรงไฟฟ้าในสหรัฐฯ เช่น BPP, BCPG, EGCO เป็นต้น อาจได้รับ SENTIMENTเชิงบวกในระยะยาว จากคาดการณ์ว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าในสหรัฐฯจะเพิ่มขึ้น ตามการสนับสนุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม และการใช้ไฟฟ้าภายในสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้น

กลุ่มเกษตรอาหาร

1) ITC มีสัดส่วนรายได้จากสหรัฐคิดเป็น 50-60% ของรายได้ และเดิมภาษีนำเข้าไทย-สหรัฐ สำหรับอาหารสัตว์เลี้ยงอยู่ที่ 0% ย่อมได้รับผลกระทบจากการที่สหรัฐปรับขึ้นภาษีนำเข้าจากไทยเป็น 36% ขณะที่ประเทศคู่แข่งในสินค้ากลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยงแบบเปียก ได้แก่ จีน คาดโดนภาษีสูงกว่าไทย ขณะที่เวียดนามภาษี 20% ต่ำกว่าไทย อาจทำให้ไทยสูญเสียความได้เปรียบทางการแข่งขันได้ แต่อย่างไรตามบริษัทเปิดเผย

ว่าสินค้าของไทยมีคุณภาพดีกว่าเวียดนาม และเวียดนามต้องใช้เวลาอย่างน้อย 12-18 เดือนถึงจะสามารถผลิตสินค้าให้เทียบกับไทย โดยบริษัทจะใช้จุดแข็งในเรื่องการบริหารจัดการ, ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ และคุณภาพ เพื่อลดผลกระทบดังกล่าว

2) TU มีสัดส่วนรายได้จากสหรัฐราว 40% โดยสัดส่วนราว 20% มาจากฐานการผลิตไทย (ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจ AMBIENT – อาหารทะเลกระป๋อง) และอีก 20% จากแหล่งผลิตอื่น โดยบริษัทมีแนวทางบริหารจัดการความเสี่ยง ผ่านการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายการผลิตที่มีอยู่ทั่วโลก เช่น ขยายการผลิตในโรงงานที่กานาและเซเซลล์ ซึ่งเป็นประเทศที่โดนภาษีตอบโต้ในอัตราต่ำสุด เพื่อส่งออกไปสหรัฐมากขึ้น หวังลดผลกระทบที่

อาจเกิดขึ้นจากประเด็น US TARIFF

กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์

1) DELTA มีการส่งออกไปสหรัฐในสัดส่วนราว 26% ของยอดขายทั้งหมดในปี 2567 และลูกค้าสหรัฐที่อยู่ในจีน 11% ปัจจุบันเสียภายใต้ GMT ที่ 15%

2) KCE มีการส่งออกไปสหรัฐในสัดส่วนราว 24% ของยอดขายทั้งหมดในปี 2567 ปัจจุบันเสียภาษีประมาณ11% เพราะการผลิตบางส่วนยังได้รับ BOI

อย่างไรก็ตามหากลูกค้าในสหรัฐที่นำเข้าสินค้าของทั้ง 2 บริษัท ต้องจ่ายภาษีนำเข้า 36% น่าจะได้รับผลกระทบต่อยอดขาย เพราะเป็นอัตราที่สูงกว่าที่ลูกค้าของทั้ง 2 บริษัทนี้เคยระบุว่าหากภาษีตอบโต้อยู่ระหว่าง 10% -15% ยังอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้

รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ได้ทุกช่องทางเหล่านี้

Facebook คลิก https://www.facebook.com/thunhoonnews

Youtube คลิก https://www.youtube.com/c/ThunhoonOfficial

Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_/

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ทันหุ้น

หุ้น GameSquare พุ่งแรง 60%! อนุมัติคลัง Ethereum $100M

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

"อินโนเวสท์ เอกซ์ "คงเป้าดัชนีปีนี้ที่ 1,250 จุด แนะ 5 หุ้นเด่นพื้นฐานแกร่ง

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

คปภ. ขีดเส้นตาย เคดับบลิวไอ ประกันภัย เพิ่มทุน 30 ล.- ก.ค.นี้

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

3 โบรกฯ คาดแนวโน้มหุ้นบ่าย แนะกลยุทธ์การลงทุน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

บัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน เปิดภาพลักษณ์แบรนด์ใหม่ โดดเด่นด้วยฟีเจอร์ “พอยท์แบบใหม่ ให้ได้มากกว่า”

สยามรัฐ

GPSC เข้าร่วมการฝึกปฏิบัติการร่วม NASMEX’25 แผนความปลอดภัยท่าเทียบเรือ เขตท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด

สยามรัฐ

ETDA คุมเข้มแอปฯเรียกรถ บังคับจดทะเบียน-มีใบขับขี่สาธารณะ

กรุงเทพธุรกิจ

PTT Blueplus+ จับมือ CJ WORX เปิดตัวหนังแอนิเมชัน AI พลิกอนาคตโฆษณา

SpringNews

PwC เผยชัด AI เพิ่มผลิตภาพโตขึ้น 4 เท่า-ค่าจ้างเพิ่ม 56%

ฐานเศรษฐกิจ

"McLaren Movie Night" เปิดประสบการณ์ภาพยนตร์ระดับพรีเมียม เปลี่ยนโรงหนังให้เป็นสนามแข่งแบรนด์สุดหรู

สยามรัฐ

หุ้น GameSquare พุ่งแรง 60%! อนุมัติคลัง Ethereum $100M

ทันหุ้น

"อินโนเวสท์ เอกซ์ "คงเป้าดัชนีปีนี้ที่ 1,250 จุด แนะ 5 หุ้นเด่นพื้นฐานแกร่ง

ทันหุ้น

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...