โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

โอกาสใหม่! Krungthai COMPASS แนะออกทุนสร้างซีรีย์ต่างชาติในไทยหนุน ท่องเที่ยว

การเงินธนาคาร

อัพเดต 8 กรกฎาคม 2568 เวลา 1.25 น. • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ประเมินนัก ท่องเที่ยว ต่างชาติเผชิญแรงกดดันจากตลาดนักท่องเที่ยวจีนที่หดตัวรุนแรง คาดปี 2568 จะอยู่ที่ราว 5.5 ล้านคน ฟื้นตัวเพียง 50% จากปี 2562 แต่ยังได้แรงหนุนจากนักท่องเที่ยวกลุ่ม High Spending จะมีส่วนช่วยพยุงรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติให้มีมูลค่าราว 1.74 ล้านล้านบาท ฟื้นตัวที่ระดับ 91% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด แนะสนับสนุนทุนสร้างภาพยนตร์หรือซีรีส์ต่างชาติในประเทศไทย จะเป็นแรงกระเพื่อมด้าน Soft Power ที่สำคัญ และเป็นหนึ่งในโอกาสใหม่สำหรับภาคท่องเที่ยวของไทย

7 ก.ค. 2568 ดร.สุปรีย์ ศรีสำราญ ผู้อำนวยการฝ่าย ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS เปิดเผยว่า ในช่วง 1-2 ปีนี้ นับเป็นปีแห่งความท้าทายของภาค ท่องเที่ยว ไทยที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เคยเป็นกลุ่มรายได้หลักส่งสัญญาณลดลงอย่างมากต่อเนื่อง และอาจจะฟื้นได้ราว 50-65% เท่านั้น เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด แต่ยังได้รับแรงหนุนจากการเติบโตของนักท่องเที่ยวกลุ่มแมสอย่างมาเลเซีย และอินเดีย และกลุ่ม High Spending อาทิ ยุโรป รัสเซีย และอิสราเอล ที่เข้ามาช่วยพยุงรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติให้มีมูลค่าราว 1.74-1.95 ล้านล้านบาท ซึ่งสถานการณ์ในครั้งนี้คงกระทบต่อผู้ประกอบการใน Supply Chain ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

“การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของนักท่องเที่ยวต่างชาติ นับเป็นโจทย์ใหญ่ที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันทั้งนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐที่เอื้อต่อการท่องเที่ยว และช่วยประคับประคองผู้ประกอบการใน Supply Chain อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ควบคู่กับการปรับตัวของภาคเอกชนให้สอดคล้องกับเทรนด์การท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป และเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้ง Ecosystem เพื่อผลักดันให้ไทยกลับมาครองใจนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หลากหลายมากขึ้น และลดการพึ่งพานักท่องเที่ยวกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากจนเกินไป รวมทั้งเป็นเครื่องยนต์ที่ทรงพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างและกระจายรายได้”

ท่องเที่ยว

นายกณิศ อ่ำสกุล นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS กล่าวว่า 3 เหตุผล ที่ทำให้นักท่องเที่ยวจีนไม่มาไทยในช่วง 1-2 ปีนี้ ได้แก่

1) ภาพลักษณ์ด้านความปลอดภัยของประเทศไทย โดยผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยในไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้ากว่าในอดีต โดยอาจใช้เวลาถึง 1 ปี กว่าที่นักท่องเที่ยวจีนจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

2) พฤติกรรมและกลุ่มของนักท่องเที่ยวจีนที่เปลี่ยนไป โดยนักท่องเที่ยวจีนกลุ่ม F.I.T. ที่มักมองหาประสบการณ์การท่องเที่ยวใหม่ๆ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นชัดเจน ซึ่งสถานที่ท่องเที่ยวของไทย อาจมีความแปลกใหม่ที่น้อยกว่าประเทศคู่แข่งเช่น ญี่ปุ่น เวียดนาม เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และมาเลเซีย ที่มีการพัฒนา Destination ใหม่ๆ

3) ผลกระทบจากภาวะเศรษฐจีนที่ชะลอตัว ส่งผลให้กำลังซื้อของชาวจีนยังไม่กลับมาในระดับเดิม ทำให้นักท่องเที่ยวจีนบางส่วนเลือกเดินทางในประเทศทดแทนการท่องเที่ยวต่างประเทศที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

นายธนา ตุลยกิจวัตร นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS กล่าวเสริมว่า ปัจจัยหลักที่ฉุดรั้งการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวไทย คือ นักท่องเที่ยวจีนที่ยังไม่กลับมา และยังต้องแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคที่ทำการตลาดเชิง รุกมากขึ้น แม้ว่าตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นๆ เช่น มาเลเซีย อินเดีย รัสเซีย และยุโรป จะมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง แต่ยังไม่เพียงพอที่จะชดเชยการหายไปของนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมปัญหาการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวที่ไม่ทั่วถึง

โดยแรงหนุนจากนักท่องเที่ยวกลุ่ม High Spending ที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น จะส่งผลดีต่อธุรกิจโรงแรมในระดับ 4-5 ดาว แต่ธุรกิจ อื่นๆ ยังต้องเผชิญแรงกดดันจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนหดตัวรุนแรง เช่น โรงแรมในระดับไม่เกิน 3 ดาว ร้านอาหาร Street Food คอนโดมิเนียม รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอย่างธุรกิจรถเช่า ร้านขายของที่ระลึก บริษัทนำเที่ยว ฯลฯ และอาจขยายวง กว้างไปยังธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจจำหน่ายเครื่องใช้และของตกแต่งในโรงแรม เป็นต้น

“ภาครัฐยังเป็นกำลังสำคัญที่มีบทบาทในการพยุงภาคท่องเที่ยวไทยให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ท้าทายในครั้งนี้ด้วยมาตรการต่างๆ ที่เข้มข้น และครอบคลุมทุกมิติอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งมาตรการเรียกความเชื่อมั่นและดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ พร้อมๆ ไปกับมาตรการที่ช่วยพยุงผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบอย่างจริงจัง

แนะสนับสนุนทุนสร้างภาพยนตร์หรือซีรีส์ต่างชาติในประเทศไทย

ขณะที่กลยุทธ์ระยะยาวยังมีการขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power ซึ่งถือเป็นเครื่องมือในการเสริมจุดขายด้านวัฒนธรรมและบริการของไทย เพื่อดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ และสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งในภูมิภาคอย่างยั่งยืน

ปัจจุบันไทยจะมีมาตรการ Tax Rebate ในอัตรา 15-25% สำหรับการถ่ายทำภาพยนตร์หรือซีรีส์ต่างชาติในประเทศไทย และอาจขึ้นไปถึงระดับ 30%ได้หากเข้าเงื่อนไขต่างๆ อาทิ การใช้ทีมงานชาวไทย หรือการช่วยโปรโมทประเทศไทย

อย่างไรก็ดี มาตรการดังกล่าวอาจสามารถต่อยอดเป็น "การสนับสนุนทุนการสร้าง" เพื่อกระตุ้นให้เกิดการโปรโมทประเทศเมื่อ EP นั้นๆ ออกอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชีรีส์เกาหลีซึ่งได้รับความนิยมไปทั่วโลก โดยในอดีตที่ผ่านมา ได้มีภาพยนตร์ต่างชาติที่เข้ามาถ่ายทำในไทยหลายเรื่อง อาทิ TheBeach (2000), The Hang Over Part Il (2011)หรือในฝั่งซีรีส์เกาหลี เช่น Full House (2004),Princess Hours (2006) และล่าสุดคือ King the Land (2023) ซึ่งแต่ละเรื่องก็สามารถช่วยโปรโมทประเทศไทยได้

โดยอานิสงส์ของการโปรโมทประเทศผ่านภาพยนตร์/ ซีรีส โดยใช้ King the Land เป็นกรณีศึกษา ตลอดจนประเมินการสนับสนุนทุนการสร้างภาพยนตร์/ซีรีส์ จะมีค่าใช้จ่ายและจุดคุ้มทุนอยู่ที่เท่าไหร่? และในทางปฏิบัติจะสามารถทำให้เกิดขึ้นจริงได้หรือไม่?

หลักฐานสำคัญที่ช่วยยืนยันได้ว่า การออกอากาศของซีรีส์ King the Land ส่งผลบวกต่อภาคการท่องเกี่ยวไทย สะท้อนจากยอดค้นหาสถานที่ที่ปรากฏในเรื่องผ่าน Google ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเมื่อ EP.10 ที่ถ่ายทำในไทยได้ออกไปเมื่อปลาย ก.ค. 2566 Krungthai COMPASS พบว่าสถานที่ต่าง ๆ ที่ปรากฏมียอดค้นหาจากทั่วโลกมากขึ้นยกตัวอย่างเช่น

  • Siri Sala Private Thai Villa สถานที่พักผ่อน ของกลุ่มพระเอกนางเอกในซีรีส์ มีดัชนีการค้นหาใน Google เพิ่มขึ้นจาก 0 (ค่าเฉลี่ย 3 เดือนก่อนออกอากาศ หรือช่วงเม.ย.-มิ.ย. 2566) เป็น 13.7 (ค่าเฉลี่ย 3 เดือนหลังออกอากาศ หรือช่วงส.ค.-ต.ค. 2566)
  • Sala Rim Naam ร้านอาหารในโรงแรม Mandarin Oriental สถานที่ทานอาหารเย็นของพระเอกนางเอกก็มียอดค้นหาเพิ่มขึ้นจาก 8.7 เป็น 14.7 ในช่วงเวลาเดียวกัน
  • Vertigo & Moon Bar Rooftop สถานที่ออกเดท ของคู่พระนาง บนดาดฟ้าที่เห็นวิวทั่วกรุงเทพฯ ในยามค่ำคืนก็มียอดค้นหาเพิ่มขึ้นจาก 21 เป็น 26.7 เช่นเดียวกัน

คำถามที่น่าสนใจคือ หากการให้ชีรีส์ต่างชาติมาถ่ายทำในไทย จะเป็นการสร้างประโยชน์ให้ชาวต่างชาติรู้จักประเทศไทยมากขึ้นแล้ว จะเป็นไปได้หรือไม่ที่ในแต่ละปี ภาครัฐจะโปรโมทประเทศผ่านการออกทุนสร้างชีรีส์ซัก 1 EP ให้มาถ่ายทำในไทย?

Krungthai COMPASS ประเมินว่าจุดคุ้มทุน (Break-even) ของการโปรโมทประเทศไทยด้วยวิธีออกทุน ผลิตซีรีส์ 1 EP จะอยู่ที่การเพิ่มขึ้นของนักท่องเกี่ยวต่างชาติ 500-1,000 คน ภายใต้สมมติฐานว่าต้นทุนการผลิตซีรีส์ 1 EP อยู่ที่ 25-50 ล้านบาท ซึ่งอ้างอิงจากค่าเฉลี่ยของทุนสร้างต่อ EP ของซีรีส์เกาหลีจำนวน 11 เรื่อง อาทิ Hotel del Luna, Reborn Rich, Queen of Tears และ Moving โดยกำหนด Spending per head ของนักท่องเที่ยวต่างชาติ เท่ากับ 48,500 บาทต่อคน

เมื่อเทียบกับยอดผู้ชมซีรีส์เกาหลีโดยเฉลี่ยบน Netflix ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 8.0 ล้านวิวต่อ EP พบว่าหากผู้ชม ซีรีส์เกาหลีตัดสินใจเดินทางมาท่องเกี่ยวไทยเพียง 0.01% ก็จะทำให้การโปรโมทด้วยวิธีการนี้มีโอกาสที่จะคุ้มทุนแล้ว ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ไม่ได้สูงจนเกินไปนัก (เพิ่มเติม…)

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก การเงินธนาคาร

กสิกรไทย ยกระดับคนไทยเที่ยวนอก สแกนจ่ายง่ายในอาเซียนผ่าน K+ Go Inter!

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

หุ้นไทย ปิดบวก 3.06 จุด แรงซื้อดันกลุ่มสื่อสาร-แบงก์ หลังเจรจาการค้าไทย-สหรัฐฯ ชัดเจนขึ้น

7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

Broker ranking 7 Jul 2025

Manager Online

รมว.คลังแจง ข่าวลือสหรัฐฯ เก็บภาษีไทย 36% ไม่เป็นความจริง เตรียมเตรียมยื่นข้อเสนอใหม่ให้พิจารณาก่อน 9 ก.ค.นี้

สวพ.FM91

ออมสินช่วยรายย่อยปลดล็อกการเป็น NPLs สินเชื่อโครงการรัฐช่วงโควิด เริ่มเฟสแรกทันที 2 แสนบัญชี

VoiceTV

ราคาน้ำมันพรุ่งนี้ (8 ก.ค. 68)

มุมข่าว

คาเฟ่ อเมซอน ดึง 'อิ้งค์ วรันธร' เป็นพรีเซนเตอร์คนแรก กาแฟพรีเมียม เจาะคนรุ่นใหม่

MATICHON ONLINE

กลุ่มเซ็นทรัล แต่งตั้ง “ฌอน ฮิลล์” เจเนเรชันที่ 4 แห่งตระกูลจิราธิวัฒน์ นั่งแท่นซีอีโอห้างหรู

sanook.com
วิดีโอ

คืบหน้า ไทยลดภาษีสหรัฐฯ เหลือ 0% หลายรายการ | ข่าวภาคค่ำ

Ch7HD News - ข่าวช่อง7

กฟผ. การันตีบ้านเบอร์ 5 อนาบูกิ ธนาวิลเลจ บางนา-บางบ่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัย

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...