ไม่ใช่สีขาวแบบที่คิด! หน้าร้อนควรใส่ "เสื้อสีอะไร" ถึงจะรู้สึกเย็นสบาย?
ใส่เสื้อสีอะไร… ช่วยให้รู้สึกเย็นในฤดูร้อน สีแดง-น้ำเงินดีกว่าขาว-ดำ? ผู้เชี่ยวชาญไขข้อข้องใจ!
หลายคนเชื่อว่าเสื้อผ้าสีขาวใส่แล้วเย็นกว่า เพราะสะท้อนแสงได้ดี แต่ความจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น! ล่าสุดผู้เชี่ยวชาญออกมาไขข้อข้องใจเรื่องสีเสื้อผ้าที่ควรใส่ในช่วงอากาศร้อนจัด พร้อมแนะนำโทนสีที่เหมาะกับการกันแดดได้จริง
ในช่วงฤดูร้อนที่แดดแรงและอากาศอบอ้าว โดยเฉพาะเมืองไทยที่อุณหภูมิค่อนข้างสูงมาก การเลือกเสื้อผ้าเพื่อช่วยลดความร้อนและป้องกันแดดกลายเป็นเรื่องที่หลายคนให้ความสำคัญ โดยส่วนใหญ่เลือกเสื้อผ้าสีอ่อน โดยเฉพาะสีขาว เพราะเชื่อว่าจะช่วยลดการดูดซับความร้อนจากแสงแดดได้มากกว่าสีเข้ม อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญกลับพบว่า… ไม่ใช่ทุกครั้งที่สีขาวจะเย็นกว่า!
ทำไมสีขาวอาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด? แล้วใส่เสื้อสีอะไรถึงจะเย็นจริง? ในเรื่องนี้ดร.เหงียน ยุย ถิ่น (Nguyễn Duy Thịnh) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฮานอย ประเทศเวียดนาม อธิบายว่า สีของเสื้อผ้าไม่ได้มีผลแค่เรื่องแฟชั่น แต่ยังส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการป้องกันรังสียูวี (UV) และควบคุมอุณหภูมิร่างกายด้วย
โดยในวันที่ต้องเจอแดดแรงมากๆ ร่างกายระบายความร้อนด้วยการระเหยเหงื่อ และต้องอาศัยการกระจายความร้อนผ่านอากาศ หากอุณหภูมิภายนอกสูงกว่าอุณหภูมิร่างกาย (36–37 องศา)แทนที่จะใส่เสื้อสีขาว ซึ่งแม้จะสะท้อนแสงได้ดี แต่ก็ปล่อยให้ รังสี UV ทะลุผ่านเนื้อผ้ามาถึงผิวได้ ทำให้รู้สึกร้อนมากขึ้นตามมา
ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญกลับแนะนำว่าควรใส่เสื้อสีแดง, สีน้ำเงินโคบอลต์ หรือสีม่วงเข้ม เป็นตัวเลือกที่ให้ความเย็นกว่าด้วยซ้ำ เพราะสีเหล่านี้ดูดซับรังสี UV ได้ดีกว่า, เปลี่ยนพลังงานจากรังสีเป็นความร้อน แล้วระบายออกไปจากผิวหนังผ่านช่องว่างของเนื้อผ้า และช่วยให้รู้สึกเย็นสบายมากกว่าเสื้อผ้าสีขาวในสภาพแดดจัด
แล้วเสื้อสีดำ สีขาว ใส่กับเครื่องปรับอากาศได้ไหม? ถ้าอยู่ในที่ร่มหรือห้องเย็นจากแอร์ เสื้อสีเข้มช่วยให้ระบายความร้อนจากผิวได้เร็วกว่า เนื่องจากสาระบวนการระเหยเหงื่อเหมาะสมกว่าสีขาว
ทั้งนี้ อย่าลืมว่าวัสดุสำคัญไม่แพ้สี ดังนั้น ไม่ว่าเลือกสีไหน ก็ต้องเลือกผ้าที่เบา ระบายอากาศดี และซึมซับเหงื่อได้ วัสดุเด่นในฤดูร้อน ได้แก่ ผ้าลินิน, ผ้าคอตตอน, ผ้าเทนเซล, ผ้าไหม
ที่น่าสนใจคือ การใส่เสื้อน้อยชิ้น ไม่ได้แปลว่าจะช่วยให้เย็นขึ้นเสมอไป โดยเฉพาะในสภาพอากาศกลางแจ้งที่แดดแรงจัด และอุณหภูมิอากาศสูงกว่าความร้อนของผิวหนัง การเปิดผิวหนังมากเกินไปกลับยิ่งทำให้ร่างกายดูดซับความร้อนโดยตรง และเสี่ยงต่อการถูกทำร้ายจากรังสี UV ได้ง่ายขึ้น ตรงกันข้ามกับเสื้อผ้าแขนยาว เนื้อผ้าบางเบา สวมใส่หลวม ๆ ซึ่งสามารถช่วยป้องกันแสงแดด และยังช่วยกักเก็บชั้นอากาศเย็นไว้ใกล้ผิว ทำให้รู้สึกสบายตัวมากกว่าในวันที่อากาศร้อนจัด