โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ความเหงา ภัยสุขภาพระดับโลก WHO ทำคนตายได้ ต้องรีบเยียวยา-ฟื้นฟู

SpringNews

อัพเดต 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ความเหงาเป็นความรู้สึกที่ซับซ้อนซึ่งส่งผลกระทบต่อมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเพศใด วัยใด หรือจากภูมิหลังใดก็ตาม องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกคำเตือนว่า ความเหงากำลังเป็นภัยคุกคามด้านสุขภาพระดับโลก โดยมีผลกระทบทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ และเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การเสียชีวิตของผู้คนจำนวนมาก

รายงานล่าสุดของ WHO ระบุว่า ความเหงาสามารถ คร่าชีวิตผู้คนได้ประมาณ 100 คนต่อชั่วโมง หรือมากกว่า 871,000 คนต่อปีทั่วโลก และมีประชากรถึง 1 ใน 6 ที่กำลังเผชิญกับภาวะความรู้สึกโดดเดี่ยว

ทำความรู้จัก "ความเหงา"

ความเหงา (Loneliness) คือ ความรู้สึกหนึ่งของมนุษย์ที่เกิดขึ้นจากการรับรู้ว่าตนขาดการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม หรือมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมน้อยกว่าที่ตนต้องการ เป็นความรู้สึกที่เกิดจากการรับรู้และตีความสถานการณ์ในความสัมพันธ์ของตน คุณภาพของความสัมพันธ์สำคัญกว่าปริมาณ เช่น คนที่มีเพื่อนมากแต่อาจรู้สึกเหงาหากความสัมพันธ์ไม่มีคุณภาพตรงตามความคาดหวัง ในขณะที่คนที่มีเพื่อนน้อยแต่มีความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพ สามารถแบ่งปันประสบการณ์และให้การสนับสนุนกันได้ อาจไม่รู้สึกเหงา ความโดดเดี่ยวหรือความเหงาแตกต่างจากการรักสันโดษ ซึ่งเป็นการชื่นชมชีวิตที่เป็นอิสระและความสุขกับการอยู่กับตัวเอง

ประเภทของความเหงา

ความเหงาสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่

  • ความเหงาแบบชั่วคราว (Transient Loneliness) หรือความเหงาในชีวิตประจำวัน (Everyday Loneliness) เป็นความรู้สึกเหงาที่เกิดขึ้นชั่วคราวและพบได้บ่อยที่สุด มักไม่รุนแรงมากนัก
  • ความเหงาจากสถานการณ์ (Situational Loneliness) มักเกิดขึ้นหลังเผชิญกับเหตุการณ์สำคัญในชีวิต เช่น การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก การหย่าร้าง การจบความสัมพันธ์ หรือการย้ายถิ่นฐาน
  • ความเหงาแบบเรื้อรัง (Chronic Loneliness) เกิดขึ้นเมื่อรู้สึกไม่พึงพอใจในความสัมพันธ์กับผู้อื่นเป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง และไม่สามารถพัฒนาความสัมพันธ์ให้ดีขึ้นได้ มักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีปัญหาในการปรับตัว

สาเหตุของความเหงา

ความเหงาสามารถเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตามการเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ทางสังคม การเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของตนกับผู้อื่น รวมถึงประสบการณ์ในอดีตที่อาจทำให้เกิดความคาดหวังต่อความสัมพันธ์

ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความเหงาได้แก่

  • ลักษณะบุคลิกภาพ เช่น ความขี้อาย หรือการขาดทักษะทางสังคม อาจทำให้มีแนวโน้มที่จะเหงาได้ง่ายกว่าคนที่มีความมั่นใจ
  • ค่านิยมและบรรทัดฐานทางสังคมวัฒนธรรม เช่น วัฒนธรรมตะวันตกที่เน้นการพึ่งพาตนเอง อาจทำให้เกิดความเหงาได้มากกว่าวัฒนธรรมเอเชียที่เน้นการอยู่ร่วมกันและช่วยเหลือกันในครอบครัว
  • สถานการณ์ทางสังคมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เช่น ความเครียดจากการว่างงาน ความไม่พึงพอใจในสถานภาพสมรส การสูญเสียคนรัก หรือการย้ายที่อยู่
  • ปัญหาสุขภาพ
  • รายได้และการศึกษาต่ำ
  • การอาศัยอยู่คนเดียว
  • การขาดโครงสร้างพื้นฐานของชุมชนและนโยบายสาธารณะที่เพียงพอ
  • ภาวะที่เกี่ยวพันกับเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น การใช้เวลาอยู่หน้าจอมากเกินไป และปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ที่เป็นอันตราย โดยเฉพาะในหมู่คนหนุ่มสาว ซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพจิต ดร. เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า แม้ในโลกที่เชื่อมต่อกันด้วยระบบดิจิทัล ผู้คนจำนวนมากยังคงโดดเดี่ยวและเหงา

ผลกระทบของความเหงา

ความเหงามีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต

ผลกระทบต่อสุขภาพกาย

เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน ภาวะความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจและหลอดเลือด ร่างกายอ่อนแอ ติดเชื้อง่าย ส่งผลต่อคุณภาพการนอน ทำให้มีคุณภาพการนอนไม่ดี และรบกวนการนอนหลับ เพิ่มความเสี่ยงต่อการมีพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ และการใช้สารเสพติด เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม ปัญหาด้านความทรงจำ หรืออัลไซเมอร์

งานศึกษาของ Harvard และ UC San Francisco พบว่า ความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้นในปี 2012 ถึง 24% และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมีต้นเหตุมาจากความโดดเดี่ยวและความเหงา

ผลกระทบต่อสุขภาพจิต

ส่งผลต่อภาวะซึมเศร้า และความวิตกกังวล ผู้ที่รู้สึกเหงาจะมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นโรคซึมเศร้าสูงเป็นสองเท่า ส่งผลให้มีความพึงพอใจในชีวิตต่ำ ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในตัวเอง และลดความมั่นใจ ซึ่งอาจนำไปสู่การแยกตัวออกจากสังคม อาจเผชิญกับความคิดอยากทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้น

ผลกระทบต่อการเรียนรู้และการจ้างงาน วัยรุ่นที่รู้สึกเหงาจะมีแนวโน้มที่จะได้เกรดหรือวุฒิการศึกษาที่ต่ำกว่าถึง 22% ผู้ใหญ่ที่เหงาอาจพบว่าการหางานหรือรักษางานทำได้ยากขึ้น และอาจมีรายได้น้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป บ่อนทำลายความสามัคคีทางสังคม และทำให้เกิดค่าใช้จ่ายหลายพันล้านดอลลาร์ในการสูญเสียผลิตภาพและค่ารักษาพยาบาลในระดับชุมชน

ใครที่เปราะบางเป็นพิเศษต่อความเหงา?

แม้ความเหงาจะส่งผลกระทบต่อคนทุกเพศทุกวัย แต่กลุ่มเยาวชนและประชากรในประเทศที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางกลับเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางเป็นพิเศษ มีข้อมูลระบุว่า 17-21% ของคนหนุ่มสาวอายุ 13-29 ปี รายงานว่ารู้สึกเหงา โดยอัตราสูงสุดอยู่ในหมู่วัยรุ่น นอกจากนี้ ประมาณ 24% ของผู้คนในประเทศรายได้ต่ำรายงานว่ารู้สึกเหงา ซึ่งเป็นสองเท่าของอัตราในประเทศรายได้สูง (ประมาณ 11%)

วิธีป้องกันและรับมือกับความเหงา

ผู้เชี่ยวชาญจากทั้งคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Better Mind Thailand ได้ให้คำแนะนำในการรับมือกับความเหงา

  • ทบทวนความรู้สึกที่เกิดขึ้น ทำความเข้าใจว่าความรู้สึกที่เกิดขึ้นคือความเหงา ความเศร้า หรือความโดดเดี่ยว เพื่อทำความเข้าใจที่มาที่ไปของความรู้สึก
  • ทบทวนและพัฒนาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง มองหาความสัมพันธ์ที่ตนเองต้องการหรือมีความสัมพันธ์ที่มีคุณค่า ปริมาณของความสัมพันธ์อาจไม่สำคัญเท่ากับคุณภาพ บอกเล่าความรู้สึกและเรื่องราวในชีวิตประจำวันกับความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจ การติดต่อกับครอบครัวและเพื่อนฝูง ไม่ว่าจะผ่านวิดีโอคอล หรือส่งข้อความ ก็สำคัญอย่างยิ่งในการเชื่อมโยงทางสังคม
  • เปิดโอกาสให้ตนได้เรียนรู้ที่จะมีความสัมพันธ์ใหม่ๆ และไม่ปิดกั้นตัวเองในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
  • หากิจกรรม งานอดิเรกทำเพิ่มเติม การกลับมาอยู่กับตัวเองและให้เวลากับตัวเอง บางครั้งสามารถลดความเหงาแบบชั่วคราวได้ การหาสมาคมหรือชมรมที่ทำให้สนุกสนานเพลิดเพลิน จะช่วยสร้างเพื่อนใหม่และเปลี่ยนจุดโฟกัสจากเรื่องตัวเอง
  • เลี้ยงสัตว์เลี้ยง การมีสัตว์เลี้ยงจะทำให้เกิดความผูกพัน เกิดความสัมพันธ์ที่มีความหมาย และช่วยลดความเหงาลงได้
  • ช่วยเหลือสังคม/เป็นอาสาสมัคร การเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้อื่นนอกจากจะมีสังคมใหม่ๆ มีเพื่อนมากขึ้นแล้ว กิจกรรมที่ทำยังสามารถสร้างประโยชน์ให้เกิดกับผู้อื่น ทำให้เรารู้สึกมีคุณค่าในการใช้ชีวิต
  • ออกจากบ้านบ้าง อย่าเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน หาเวลาออกไปข้างนอก แม้ไม่มีรถส่วนตัวก็สามารถใช้บริการรถสาธารณะได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุควรได้รับการพาออกจากบ้านไปทำกิจกรรมนอกบ้านบ้าง การเข้าหาธรรมชาติ เช่น เดินหรือปั่นจักรยานในสวนสาธารณะ ก็เป็นวิธีง่ายๆ ในการเริ่มเข้าหาสังคม
  • เขียนระบายลงกระดาษ การเขียนบันทึกส่วนตัวช่วยให้สร้างความแข็งแรงให้จิตใจ แก้ไขความเครียดและความกดดัน เป็นการจัดการกับความไม่สบายใจ
  • ค้นหาภารกิจใหม่ อย่าหยุดการค้นหาโปรเจกต์ใหม่ๆ ทำอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้รู้สึกดีกับตัวเองและใช้ความคิดสร้างสรรค์อยู่เสมอ
  • ออกห่างจาก Social Media บ้าง: ผลวิจัยพบว่า การใช้โซเชียลมีเดียมักส่งผลต่ออารมณ์ด้านลบ โดยเฉพาะในผู้หญิง และส่งผลร้ายแรงต่อผู้มีภาวะซึมเศร้า เนื่องจากเกิดการเปรียบเทียบกับตัวเอง
  • ฝึกอยู่กับความเงียบ: ฝึกตัวเองให้มีความสงบ มีสมาธิ มีความนิ่งในจิตใจ ห่างไกลจิตใจที่สับสนและวุ่นวาย.
  • ฝึกมุมมองบวกและซาบซึ้งกับทุกสิ่งรอบตัว ใช้ชีวิตเสมือนว่าวันนี้เป็นวันสุดท้าย ให้ชื่นชมกับทุกสิ่งที่มี และลงมือทำในสิ่งที่อยากทำเพื่อเปลี่ยนให้สังคมดีขึ้น
  • พูดคุยปรึกษากับนักจิตวิทยา หากมีความทุกข์ใจหรือไม่สบายใจ ควรไปพบนักจิตวิทยาเพื่อหาวิธีรับมือกับความเหงาเพิ่มเติม. หากที่ทำงานมีโปรแกรม EAP (Employee Assistance Program) ก็ควรใช้บริการ หรือปรึกษานักจิตวิทยาจากหน่วยงานภายนอก

ประโยชน์ของการเชื่อมโยงทางสังคม

ในทางกลับกัน การมีความสัมพันธ์ทางสังคมที่เข้มแข็งนั้นสัมพันธ์กับสุขภาพที่ดีขึ้นและอายุที่ยืนยาวขึ้น การเชื่อมโยงทางสังคมมีประโยชน์ในการป้องกันตลอดช่วงชีวิต เช่น ลดการอักเสบ ลดความเสี่ยงของการเจ็บป่วยร้ายแรง ส่งเสริมสุขภาพจิต และยืดอายุขัย

ความเหงาเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรง แต่สามารถรับมือและป้องกันได้ด้วยการทำความเข้าใจตนเอง พัฒนาความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพ เปิดรับสังคมใหม่ๆ และไม่ลังเลที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเมื่อจำเป็น รายงานของคณะกรรมาธิการการเชื่อมโยงทางสังคมของ WHO ได้วางแผนการดำเนินงานระดับโลกในหลายมิติ เพื่อปรับเปลี่ยนบรรทัดฐานทางสังคมและสร้างการเคลื่อนไหวเพื่อการเชื่อมโยงทางสังคม

อ้างอิง

กรุงเทพธุรกิจ / BetterMind /Chula /

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก SpringNews

‘ตลาดสุกี้’หม้อเดือดไทย ร้อนกว่าไฟ สาดแคมเปญใส่กันจุกๆ

46 นาทีที่แล้ว

พรรคประชาชน ชี้ 20 บาท อุ้มทุน ชู ตั๋วร่วม แก้ปัญหาโครงสร้าง

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

Apple เปิดสนามประลองเกม EA SPORTS FC™ Mobile ใช้ iPhone 16 Pro เล่น สมจริงสุดๆ

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ดัน 5G หนุนเศรษฐกิจตะวันออก บูมอีเวนต์ระดับโลก-กระตุ้นจับจ่าย

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

สูตรข้าวผัดต้มยำกุ้ง

Chef Lucas Baking Studio

“คนอื่นจำฉันไม่ได้” Winter วง aespa สามารถออกไปข้างนอกโดยไม่ต้องใส่หน้ากาก

THE STANDARD
วิดีโอ

สูตรลับฉบับบ้านนา : น้ำหมักรวยดอก ผลใหญ่ ใบดก

Thai PBS

ตั้ง พระเทพวชิรกิตติ รักษาการเจ้าอาวาสวัดชูจิต หลังพระเทพพัชราภรณ์ ลาออก

MATICHON ONLINE

ถ่ายทอดสด วอลเลย์บอลหญิง ไทย พบ แคนาดา VNL 2025 วันนี้ 13 ก.ค.68

PostToday

ถ่ายทอดสด เปรสตัน พบ ลิเวอร์พูล เกมอุ่นเครื่อง วันนี้ 13 ก.ค.68

PostToday

อยากเป็นคนตัวหอมแถมมีสุขภาพดี ต้องกิน ผัก 5 ชนิดนี้!

Khaosod

รู้ไว้ไม่พลาด 7 จังหวัดทำเลทอง ที่ดินแพงที่สุด นอกกรุง ปี 2568

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...