โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

ดร.ณัฏฐ์ ชี้คดีฮั้วเลือก สว.มีช่องว่างเพียบ เอาผิดยากแม้รู้ตัวคนจ้าง!

ไทยโพสต์

อัพเดต 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ดร.ณัฏฐ์ ชี้ ปม “ทุจริตฮั้ว การเลือก สว.”จุดอ่อน มีช่องว่าง ศาลปกครองเพิกถอนระเบียบฯแนะนำตัว ทำให้พกโพยได้ เอาผิดยาก หากฟ้องศาลฎีกา สส.ภูมิใจไทย-นายก อบจ.นครศรีธรรมราช ไม่ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่

16 กรกฎาคม 2568 - สืบเนื่องจากคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวน กกต.ชุดที่ 26 เจ้าของสำนวนคดีฮั้วเลือกตั้ง สว.ที่มี สว.และบุคคลอื่นถูกกล่าวหาเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมาครบกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีในวันที่ 10 กรกฎาคม 2568 ที่ผ่านมาและคณะกรรมการชุดนี้ได้ขอขยายเวลาต่อกกต.อีก 7 วันและจะครบกำหนดระยะเวลาในวันที่ 17 กรกฎาคม 2568 นั้น

ล่าสุด “ดร.ณัฏฐ์” หรือ “ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม”นักกฎหมายมหาชน ได้ให้ความเห็นเพื่อประโยชน์สาธารณะว่า ตามที่หลายฝ่ายได้สอบถามเข้ามาจำนวนมาก ในคดีทุจริตการเลือก สว.สีน้ำเงินกับพวกที่ กกต.ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดยังอยู่ในขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนต่อไป มีแนวโน้มผลคดี จะเป็นไปในทิศทางใดนั้น

โดยหลักแล้ว กระบวนการสืบสวนหรือไต่สวน และวินิจฉัยชี้ขาด กกต.จะใช้ระเบียบ กกต.ว่าด้วยการสืบสวน ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ.2561 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2566

แต่สำนวนคดีของคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวน กกต.ชุดที่ 26 ด่านต่อไปและด่านสุดท้ายในชั้น กกต. จะพบปัญหาตัวแปร และจุดอ่อนในคดี

ช่องว่างกฎหมาย และหลักฐานเอาผิด ให้พิจารณาจากตัวแปร ดังนี้

(1) คุณสมบัติกลุ่มอาชีพ

กำหนดกลุ่มอาชีพ 20 กลุ่ม โดยให้บุคคลรับรองคุณสมบัติ เปิดช่อง บุคคลใดรับรองอาชีพก็ได้ ทำให้ สว.ที่ได้มา “ไม่ตรงปก”

(2) กระบวนการ “แนะนำตัว”

ผู้สมัครแนะนำตัวกันเองได้ รวมถึงบุคคลอื่นมิใช่ผู้สมัคร จะช่วยเหลือผู้สมัครแนะนำตัว เป็นไปช่องทาง ตาม พรป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว. มาตรา 36 ทำให้เป็นสารตั้งต้นในการเปิดช่องให้มีการทุจริตการเลือก สว.

วิธีการ จัดทำโพย วิธีการคำนวณจำนวน สว.ไว้ล่วงหน้า โดยกฎหมายเปิดช่องให้บุคคลอื่นมิใช่ผู้สมัคร โดยบุคคลหรือคณะบุคคล สามารถแนะนำตัวได้ ตามมาตรา 36 วรรคสอง

จึงเป็นช่องทางของบุคคลหรือคณะบุคคลทุจริตการเลือก โดยใช้เทคนิคการจ้างกลุ่มพลีชีพ โดย“จ้างผู้สมัคร สว.หว่านแหแต่ละกลุ่มแต่เป้าให้ได้ตัวจริง” ไม่ว่าจะเป็นระดับอำเภอ จังหวัด หรือระดับประเทศเพื่อให้ได้คนของตนเองเข้ามามีอำนาจในสภาสูง ให้สังเกต กลุ่มพลีชีพ มีผลคะแนน เป็นศูนย์ หรือคะแนนต่ำเกินกว่ามาตรฐาน วิธี จัดสัมมนาและใส่เสื้อสีเฉพาะหรือริชแบรนด์ กำชับหมายเลข ในรูปแบบ “บล็อกโหวต” เป้าหมายย้ำหมายเลขและจดจำ

การจ้างสมัครและกลุ่มนี้ เป็นความผิด มาตรา 77 (1) พรป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว. เพราะเป็นสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่คำนวณเป็นเงินได้ แต่ต้องมีพยานหลักฐานมัด

จ่ายเงินค่าว่าจ้าง เป็นเงินสด ทำให้ยากแก่การตรวจสอบ โดยไม่มีพยานหลักฐานเป็นเส้นเงินโอนผ่านระบบบัญชีธนาคาร ทำให้ยากแก่การมัดเอาผิด เว้นแต่ผู้ถูกกล่าวหารายใด ให้การซัดทอดและยอมรับเรื่องเงินค่าจ้าง

ส่วนพยานหลักฐาน ประเภท ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เป็นพยานหลักฐานเกิดจากการปั้นแต่งบิดเบือนข้อเท็จจริงง่าย ทำรับฟังพยานหลักฐานมีน้ำหนักน้อย

(3) การนำเอกสารเข้าไปในสถานที่เลือก

ระเบียบ กกต.ว่าด้วยว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2567 ข้อ 7 วรรคสอง กำหนดว่า “การแจกเอกสารแนะนำตัวตามวรรคหนึ่ง จะกระทำในสถานที่เลือกไม่ได้” ภายหลังศาลปกครอง พิพากษาเพิกถอนระเบียบฯในข้อนี้ ส่งผลให้ ไม่ห้ามให้ผู้สมัคร สว.นำเอกสารใดเข้าไปในสถานที่เลือกได้ หมายถึง ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติเป็นข้อห้ามไว้ ในเมื่อระเบียบของ กกต.กำหนดห้ามไว้ ถูกเพิกถอนโดยคำพิพากษาของศาลปกครอง

เปิดช่อง ให้ผู้สมัคร สว.นำเอกสารแนะนำตัว รวมถึงเอกสารอื่นใดเข้าไปในสถานที่เลือกได้

รวมถึง โพยฮั้วการเลือกที่จัดทำขึ้นล่วงหน้า เข้าไปในสถานที่เลือกได้ ทำให้ไม่เป็นข้อห้ามตามระเบียบ ของ กกต.ทำให้ยากแก่การตรวจสอบว่า มีการทุจริตการเลือก สว.หรือไม่

(4) การสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ ของ สว.

ต้องใช้กลไกของศาลฎีกา โดยช่องตามรัฐธรรมนูญมาตรา 226 วรรคสี่ ประกอบ พรป.การได้มาซึ่ง สว. มาตรา 62 วรรคสอง เมื่อศาลฎีกามคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาแล้ว ถ้าผู้ถูกกล่าวหาเป็น สว.ให้ผู้นั้นหยุดปฏิบัติหน้าทีชั่วคราว

เปิดช่อง ให้ “ตัวการ” “ผู้ใช้” “ผู้สนับสนุน” ในทุจริตการเลือก สว. มิใช่บุคคลผู้มีตำแหน่ง เป็น สว. แต่เป็น “รัฐมนตรี” “สส.” หรือ “ผู้บริหารท้องถิ่น”หรือ“สมาชิกท้องถิ่น” เช่น สส.พรรคภูมิใจไทย หรือ นายกอบจ.นครศรีธรรมราช ไม่ต้องถูกสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ เพราะไม่มีบทบัญญัติใด ห้ามบุคคลอื่น มิใช่ สว.โดยตำแหน่ง หยุดปฏิบัติหน้าที่ด้วย แต่กฎหมายให้แยกดำเนินคดีอาญา ต่างหาก เป็นช่องว่างของกฎหมาย

(5)การวินิจฉัยชี้ขาด คดีเลือก สว. ใช้มติเสียงข้างมาก

กระบวนการออกแบบในการลงมติใดๆ ของ กกต.จะต้อง “มติเสียงข้างมาก” ของ กกต.จะต้องเป็นไปตามหลักเสียงข้างมาก เป็นไปตาม พรป.กกต.มาตรา 19 ประกอบ ระเบียบ กกต.ว่าด้วยการสืบสวน ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ.2561 ข้อ 83 กำหนดว่า ในการลงมติวินิจฉัยของ กกต.ให้ลงมติเป็นหนังสือตามแบบที่ กกต.กำหนด โดยต้องมีชื่อเรื่อง และประเด็นที่จะลงมติ มติที่ลงและลายมือชื่อของกรรมการที่ลงและให้เลขาธิการ กกต.เก็บรวบรวมไว้เป็นหลักฐาน

เปิดช่อง การลงมติ “เสียงข้างมาก” หากขั้วอำนาจ “สีน้ำเงิน” รวบรวมเสียง กกต. จำนวนเกินกึ่งหนึ่ง (มากกว่า 4 เสียงจาก 7 เสียง” อาจมีผล “ยกคำร้อง” หรือไม่ก็ได้

ระเบียบฯข้อ 85 วรรคสอง เปิดช่องให้ กกต.ใช้ดุลพินิจ “มีหลักฐานเหตุอันควรเชื่อ” หมายถึงการเปิดช่องให้ใช้ดุลพินิจของกรรมการการเลือกตั้งของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง(2) รัฐธรรมนูญย่อมคุ้มครอง

จึงเป็นจุดอ่อนในคดี เพราะในชั้นคณะอนุกรรมการวินิจฉัยและในชั้น กกต.ย่อมมีความเห็นต่าง และกฎหมายเปิดช่องให้ใช้ดุลพินิจในการวินิจฉัยชี้ขาด เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ โดยสามารถวินิจฉัย “ยืน” “ยก” “กลับ” และ “แก้” ตามความเห็นของคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวน คณะที่ 26 ได้ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงได้ จึงเป็นที่มาของจุดอ่อนและเอาผิดกลุ่ม สว.สีน้ำเงินและพลพรรคภูมิใจไทยค่อนข้างจะยาก แม้ผู้ถูกกล่าวหาจะอ้าง เพียงว่า การแจ้งข้อเท็จจริงให้ทราบไม่เพียงพอ แต่ลอกข้อเท็จจริงที่แจ้งข้อหาเหมือนกัน แต่ละบุคคลก็ตาม โดยให้การปฏิเสธ ลอยๆก็ตาม.

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยโพสต์

ไทรทัน และ เอ็กซ์แพนเดอร์ คว้าสองรางวัลโดย เจ.ดี.พาวเวอร์

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

มันดูโง่ครับ ‘หัวหน้าเท้ง’

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

พฤติกรรมที่น่ารังเกียจ

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘อีนี่’ ก็เป็นได้

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม