โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สังคม

สรท. ร่อน 3 แนวทางถึงรัฐ เจรจาภาษีทรัมป์ ป้องกันส่งออกทรุด-เศรษฐกิจสะเทือน

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

นายธนากร เกษตรสุวรรณ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า กรณีที่สหรัฐมีการระบุการเก็บอัตราภาษีนำเข้าสินค้าของไทยที่ 36% ถือว่าสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ และจะทำให้ต้นทุนส่งออกสินค้าไทยไปยังสหรัฐอเมริกาสูงขึ้นจนไม่สามารถแข่งขันได้ และจะกระทบต่อมูลค่าการส่งออกของไทยไปยังสหรัฐอเมริกาซึ่งสูงถึง 2 ล้านล้านบาท

ทั้งนี้ ผลกระทบจากการเก็บภาษี 36 % ถือว่าหนักมาก และเสียหายมาก เนื่องจากไทยเรามีคู่แข่งจากชาติอาเซียน ที่สำคัญ คือ เวียดนามและมาเลเซีย ซึ่งโดนภาษีน้อยกว่าไทย โดยสินค้าที่ส่งออกประเภทเดียวกัน ผู้นำเข้าก็จะเทคำสั่งซื้อไปยังเวียดนามและมาเลเซีย เนื่องจากภาษีนำเข้าน้อยกว่าไทย

ทั้งนี้ทาง สรท. ได้มีการยื่นข้อเสนอไปยังรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเป็นแนวทางดำเนินการ 3 ข้อ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ข้อเสนอสำหรับการเจรจาลดอัตราภาษีกับสหรัฐอเมริกา

  • สนับสนุนการปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐอเมริกาเป็น 0% ให้มากที่สุด โดยเฉพาะในรายการสินค้าที่ไทยสามารถยอมรับได้
  • ขยายเวลาการให้สิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมการลงทุนสำหรับการลงทุนทางตรง (FDI) จากสหรัฐอเมริกา
  • เร่งจัดซื้อสินค้ากลุ่มพลังงานจากสหรัฐอเมริกา ให้มากขึ้นแทนการซื้อจากแหล่งอื่น

2. ข้อเสนอสำหรับการหาตลาดศักยภาพอื่นทดแทน

  • สนับสนุนงบประมาณในปี 2569-2570 สำหรับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ทั้งในต่างประเทศ อาทิ การพาผู้ประกอบการไปเข้าร่วมออกงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ และการจัดกิจกรรม Business Matching และในประเทศ อาทิ กิจกรรม Incoming Mission ให้มากขึ้นและต่อเนื่อง
  • เพิ่มงบประมาณโครงการ SMEs Proactive ให้ผู้ประกอบการส่งออก SMEs สามารถบุกตลาดอื่นได้มากขึ้น โดยเฉพาะในงานแสดงสินค้าที่ภาครัฐไม่สามารถพาผู้ประกอบการไทยไปเข้าร่วม
  • ร่วมมือกับสถาบันการเงินของรัฐ เช่น ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สำหรับจัดหาวงเงินหมุนเวียนและสนับสนุนค่าธรรมเนียมป้องกันความเสี่ยงทางการค้าในการบุกตลาดใหม่
  • เร่งรัดการเจรจาการค้าเสรีทุกกรอบที่อยู่ระหว่างการเจรจาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว รวมถึงเพิ่มเติมการเจรจากับคู่ค้าสำคัญอื่นเพิ่มเติม และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3. ข้อเสนออื่นเพิ่มเติม ทั้งเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออก และเพื่อปกป้องผู้ประกอบการในประเทศจากการนำเข้าสินค้าแหล่งอื่น

3.1 ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน พิจารณาเงื่อนไขการปรับลดต้นทุนให้ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ

  • เร่งหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้ พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อลดต้นทุนและบรรเทาภาระหนี้จากการประกอบธุรกิจ และ ดำเนินมาตรการกำกับดูแลค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับอ่อนค่าเมื่อเทียบกับคู่แข่งสำคัญ เป็นต้น
  • พิจารณาชะลอการขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำและปรับลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ อาทิ ค่าไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง และต้นทุนโลจิสติกส์เพื่อการส่งออก
  • พิจารณานำต้นทุนค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทั้งการนำเข้าวัตถุดิบและการส่งออกสินค้า อาทิ ค่าระวาง ค่าประกันภัยการขนส่งสินค้า และค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม หักภาษีได้ 200% จากที่จ่ายจริง
  • เร่งรัดกระบวนการคืนภาษีธุรกิจ อาทิ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม อากรวัตถุดิบนำเข้าที่ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ภาษีสรรพสามิตที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้า เป็นต้น รวมถึงการลดค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นจากการขออนุญาตและการดำเนินการในขั้นตอนการส่งออกให้กับผู้ประกอบการ พร้อมทั้งพัฒนาระบบ Digitalization ตลอดกระบวนการส่งออกนำเข้าให้มีความสมบูรณ์

3.2 เพิ่มความเข้มงวดมาตรการปรามการนำเข้าสินค้าไม่ได้มาตรฐานที่เข้ามาตีตลาดในประเทศ และสินค้าสวมสิทธิ์

  • เริ่มบังคับใช้กฎ 24 Hours Rule เพื่อให้สินค้าที่จะส่งออกมายังประเทศไทย ต้องแจ้งข้อมูลล่วงหน้า 24 ชั่วโมง ก่อนบรรทุกสินค้าลงเรือ ณ ท่าเรือต้นทาง
  • ตรวจสอบสินค้านำเข้า และสินค้าที่ผ่านเขตปลอดอากร 100% เพื่อป้องกันสินค้าด้อยคุณภาพเข้าประเทศ เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์ส่งออก และเพื่อป้องกันสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานที่กำหนดโดยประเทศปลายทางแล้วตกค้างในประเทศไทย
  • เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้านำเข้าและคัดกรองสินค้าด้อยคุณภาพ เพื่อคุ้มครองทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการในประเทศ โดยสินค้านำเข้าและโรงงานผู้ผลิตต้องได้รับการรับรองมาตรฐานของประเทศไทยก่อนบรรทุกลงเรือมายังประเทศไทย
  • ผู้ส่งออกจากต่างประเทศที่ขายสินค้าผ่านช่องทาง E-Commerce Platform ต้องระบุตัวตนและตรวจสอบโดย Platform ให้ชัดเจน และไม่มีร้านค้าที่ขายสินค้ารายการเดียวกันซ้ำซ้อนกัน เป็นต้น
ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

"ทักษิณ" อ่านการเมือง ยังไม่ถึงทางตัน มั่นใจ "อุ๊งอิ๊งค์" รอดคดีคลิปเสียง

36 นาทีที่แล้ว

“ทักษิณ” วางเป้ากู้เศรษฐกิจ บี้ตั้ง AMC แก้หนี้ประชาชน ดันศก.ใต้ดิน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“ทักษิณ” ลั่นไทยไม่เทหมดหน้าตักเจรจา “ภาษีทรัมป์” ขอสหรัฐฯ แฟร์ ๆ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

การบินไทยเล็งใช้สิทธิ์จัดหาโบอิ้งเพิ่ม 35 ลำ หนุนไทยเจรจาภาษีทรัมป์

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสังคมอื่นๆ

“ทักษิณ” วางเป้ากู้เศรษฐกิจ บี้ตั้ง AMC แก้หนี้ประชาชน ดันศก.ใต้ดิน

ฐานเศรษฐกิจ

“ทักษิณ” ลั่นไทยไม่เทหมดหน้าตักเจรจา “ภาษีทรัมป์” ขอสหรัฐฯ แฟร์ ๆ

ฐานเศรษฐกิจ

นารีพิฆาต "สีกากอล์ฟ" กับจักรวาลพระ พบคลิปลับ 8 หมื่นไฟล์ ฉาววงการผ้าเหลือง

THE ROOM 44 CHANNEL

นี่แหละความรักของแม่ ลูกชายมาเฝ้าไข้คุณแม่ แต่แม่กลับทำในสิ่งที่ทำชาวเน็ตน้ำตาซึม

สยามนิวส์

เปิดประวัติ พระเทพพัชราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดชูจิตธรรมาราม

สยามนิวส์

รฟม. ลงพื้นที่ตรวจความปลอดภัยการก่อสร้างช่วงเวลากลางวัน (Day Audit) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

สวพ.FM91

พิชัย เตรียมมาตรการรับภาษีสหรัฐ สั่งเอกชนเช็คผลกระทบผู้ส่งออก

ฐานเศรษฐกิจ

เพจดัง สรุปไทม์ไลน์ “พระชั้นผู้ใหญ่สึกแล้ว 5 รูป” ปมคดีฉาวสีกา ก.

ข่าวเวิร์คพอยท์ 23

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...