โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ทันตจุฬาฯ เปิดแอป Thai Teledentistry ยกระดับการรักษา ช่องปาก

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สถานการณ์การเข้าถึงบริการ ทันตกรรมในประเทศไทย ยังคงมีอัตราการเข้าถึงที่ต่ำเมื่อเทียบกับหลายประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล และกลุ่มประชากรเปราะบาง ปัญหานี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิต และสุขภาพโดยรวมของประชาชน

เพื่อตอบสนองต่อความต้องการเร่งด่วนนี้ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ริเริ่มโครงการ "พัฒนาการให้บริการและการรักษาทาง ทันตกรรม ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลบนเครือข่ายดิจิทัลความเร็วสูง" ขึ้นเป็นโครงการนำร่องแห่งแรกของประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส.

ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ ดร.พรชัย จันศิษย์ยานนท์ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และหัวหน้าโครงการ เปิดเผยว่า แนวคิดหลักของโครงการคือการพัฒนาระบบ Teledentistry (บริการตรวจสุขภาพช่องปากทางไกล) ช่วยลดข้อจำกัดด้านการเดินทางและค่าใช้จ่าย ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที ก่อนที่ปัญหาช่องปากจะลุกลามยากต่อการแก้ไข

ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ ดร.พรชัย จันศิษย์ยานนท์

"ต้องยอมรับว่า ทันตแพทย์ ที่อยู่ประจำในพื้นที่ห่างไกล มีไม่เพียงพอต่อผู้ใช้บริการ การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพช่องปากจึงเป็นแนวทางที่ตอบโจทย์ และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การอนามัยโลก

โดยโครงการได้เริ่มต้นทำงานร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่ห่างไกล โดยมีจังหวัดน่าน และสระบุรีเป็นพื้นที่นำร่อง ร่วมกับกลุ่มสหวิชาชีพ อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)

รวมถึงทันตบุคลากรในโรงพยาบาล ได้รับการอบรมการใช้อุปกรณ์และเชื่อมโยงไปสู่การให้คำปรึกษาทางวิชาการกับแพทย์เฉพาะทาง เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการรักษา" ศ.ทพ.ดร.พรชัย กล่าว

นอกจากนี้ ในปัจจุบัน คณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาฯ สร้างเครือข่ายร่วมดำเนินงานและสนับสนุนกล้องถ่ายภาพในช่องปาก ครอบคลุมถึง 30 จังหวัดทั่วประเทศและโครงการยังได้ขยายขอบเขตการให้บริการจากประชาชนในพื้นที่ห่างไกลไปยังกลุ่มผู้ต้องขังในเรือนจำ

โดยสามารถคัดกรองโรคในช่องปากเชิงรุกเพื่อส่งต่อเข้ารับบริการทันตกรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลแก่กลุ่มเป้าหมายรวม 110,189 คน มีประชาชนได้รับการรักษาช่องปากพื้นฐานโดยทันตบุคลากร จำนวน 52,636 คน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ ดร.อิสระพงศ์ แก้วกำเหนิดพงษ์ รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และนักวิจัยโครงการ กล่าวเสริมถึงบทบาทของเทคโนโลยีซึ่งเป็นจุดแข็งของ กสทช. ในการขับเคลื่อนโครงการนี้ โดยเฉพาะการนำ กล้องถ่ายภาพในช่องปาก (intraoral camera technology) เข้ามาในระบบบริการ

"ปกติแล้ว ภาพที่ถ่ายด้วยกล้องโทรศัพท์มือถือจะไม่สามารถมองเห็นภาพในช่องปากบริเวณฟันด้านในได้ละเอียดและชัดเจน โดยเฉพาะบริเวณฟันหลังบน และฟันหน้าล่างซึ่งการนำกล้องถ่ายภาพในช่องปากมาใช้ร่วมกับการตรวจคัดกรองโรคในช่องปาก จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการส่งต่อข้อมูลให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เพื่อทำการรักษาต่อได้อย่างแม่นยำ"

ผศ.ทพ.ดร.อิสระพงศ์ อธิบาย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ ดร.อิสระพงศ์ แก้วกำเหนิดพงษ์

ทั้งนี้ เพื่อให้การถ่ายทอดความรู้และจัดการข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โครงการได้พัฒนา แอปพลิเคชัน Thai Teledentistry: เป็นแพลตฟอร์มสำคัญที่ช่วยให้การให้คำปรึกษา และแนะนำการรักษาผู้ป่วยทางไกลระหว่างทันตแพทย์ปฐมภูมิในพื้นที่ต่างๆ

และทันตแพทย์เฉพาะทางทุกสาขาของ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ช่วยให้โรงพยาบาลที่อยู่ห่างไกลสามารถเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว สำหรับบุคลากรด้านทันตกรรมที่สนใจเข้าร่วมในแพลตฟอร์มดังกล่าว ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.dent.chula.ac.th/news/59428/

"เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาระบบแอปพลิเคชัน Thai Teledentistry ให้เชื่อมโยงกับการแพทย์ทางไกลในรูปแบบออนไลน์อย่างสมบูรณ์แบบ ยกตัวอย่างเช่น ครูสามารถทำหน้าที่ตรวจฟันนักเรียนในโรงเรียน

โดยมีทันตแพทย์ตรวจวินิจฉัยผ่านภาพบนหน้าจอและให้คำแนะนำได้ทันที หากทำได้สำเร็จ นี่จะเป็นต้นแบบสำคัญที่พื้นที่อื่นๆ สามารถนำไปต่อยอดและขยายผลได้อย่างกว้างขวาง" ผศ.ทพ.ดร.อิสระพงศ์ กล่าว

โครงการนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในการนำเทคโนโลยีมาใช้แก้ปัญหาสุขภาพอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยยกระดับการเข้าถึงบริการทันตกรรม แต่ยังเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีและเท่าเทียมให้กับคนไทยทุกคน

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

เปิดตัว แอทโมซ แคนวาส ระยอง คอนโดใหม่ใจกลางเมือง ติดเซ็นทรัล

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิกฤติน้ำโขง MRC จ่อประสานไทย-ลาว-เมียนมา ประชุมด่วน 21 ก.ค. สารหนูเกินเกณฑ์

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

Step Into the Squid Game Universe at Sao Chingcha

Ticy City

“คลื่นยักษ์นอกฝั่งคานากาวะ” แค่รูปคลื่นนอกชายฝั่ง ทำไมถึงดังนักหนา?

ศิลปวัฒนธรรม

"ฮั่นอู่ตี้" กษัตริย์ออกราชโองการตำหนิตัวเอง-ยอมรับผิดฉบับสมบูรณ์ครั้งแรกในจีน

ศิลปวัฒนธรรม

“ราชสำนักฝ่ายใน” แห่งวังหลวง ประกอบด้วยสตรีกลุ่มใดบ้าง?

ศิลปวัฒนธรรม

เมนูโปรด สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระภรรยาเจ้าในรัชกาลที่ 5 คืออะไร?

ศิลปวัฒนธรรม

“หนังสือแจกงานศพ” เกิดขึ้นครั้งแรกในไทยเมื่อไหร่?

ศิลปวัฒนธรรม

“คาปิบารา” ชอบกิน “อึ” เรื่องน่ารักของเจ้าตัวขน ที่คุณ (อาจ) ไม่รู้มาก่อน!

ศิลปวัฒนธรรม

ขอบเขต “ธนบุรี” เมื่อก่อนกินพื้นที่ถึงไหน?

ศิลปวัฒนธรรม

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...