โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

หนี้ครัวเรือนหดตัวครั้งแรกรอบ 13 ปี อาจไม่ใช่สัญญาณดี! SCB EIC ชี้ ศก.เปราะบาง เสี่ยงฉุดกำลังซื้อระยะยาว

Manager Online

เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • MGR Online

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ระบุว่า หนี้ครัวเรือนไทย ณ ไตรมาส 1 ของปี 2568 ลดลงมาอยู่ที่ 16.35 ล้านล้านบาท หดตัว -0.1%YOY นับเป็นการหดตัวครั้งแรก ตั้งแต่มีการเปิดเผยข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนในปี 2555 หลังจากชะลอตัวลงต่อเนื่องในหลายไตรมาสก่อนหน้า โดยในไตรมาส 1 ปี 2568 สินเชื่อเพื่อรถยนต์และจักรยานยนต์ หดตัวรุนแรงถึง -10%YOY ตามสภาวะตลาดยานยนต์ที่ซบเซาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สินเชื่อครัวเรือนประเภทอื่น ๆ ชะลอลงทั้งหมด

หากพิจารณาการหดตัวของสินเชื่อครัวเรือน ตามประเภทของสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อพบว่า การหดตัวเกิดขึ้นในสินเชื่อที่ปล่อยโดยสถาบันการเงินเอกชนเป็นหลัก ตามความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ และบริษัทบัตรเครดิต ลิสซิ่ง และสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งรวมกันประมาณครึ่งหนึ่งของสินเชื่อที่ปล่อยให้แก่ภาคครัวเรือนทั้งหมด โดยยอดคงค้างสินเชื่อครัวเรือนของธนาคารพาณิชย์ หดตัวถึง -3.0%YOY หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อครัวเรือนของบริษัทบัตรเครดิต ลิสซิ่ง และสินเชื่อส่วนบุคคล หดตัว -1.2%YOY หดตัวติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 สำหรับสถาบันการเงินของรัฐ และสหกรณ์ เป็นแหล่งปล่อยสินเชื่อหลักที่ยังคงเติบโต ส่งผลช่วยให้ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนในภาพรวมไม่หดตัวมากนัก

"ในระยะข้างหน้า สถาบันการเงินของรัฐจะมีบทบาทสำคัญ ในการช่วยพยุงให้หนี้ครัวเรือนไทยไม่หดตัวลงมาก จากมาตรการสินเชื่อต่าง ๆ ของภาครัฐ ขณะที่ต้องติดตามการเติบโตของสินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ต่าง ๆ โดยเฉพาะคุณภาพของสินเชื่อ ซึ่งจะมีนัยต่อเสถียรภาพระบบการเงินไทยต่อไป" SCB EIC ระบุ

*หนี้ครัวเรือนไทย ลดลงต่อเนื่องตามวัฎจักร Deleveraging

SCB EIC คาดการณ์ว่า ครัวเรือนไทยจะยังอยู่ในช่วง Deleveraging หรือการลดสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ ในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า ภายหลังภาระหนี้ต่อ GDP ที่สูงขึ้นมากจากผลกระทบ COVID-19 อย่างไรก็ดี กระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP (Household Debt Deleveraging) ในรอบวัฏจักรนี้ อาจไม่ได้สะท้อนสัญญาณที่ดีของเศรษฐกิจไทยเช่นในอดีต เพราะ Deleveraing ในรอบนี้กำลังแสดง "อาการความเปราะบาง" ของเศรษฐกิจไทยหลัง COVID-19 ที่ยังมีแผลเป็นเศรษฐกิจเหลืออยู่ และยังไม่ได้รับการแก้ไข

หากพิจารณาการลดลงของสัดส่วนหนี้ครัวเรือนที่เห็นในเชิงองค์ประกอบ พบว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ลดลงจาก "ยอดหนี้คงค้างที่ขยายตัวต่ำกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจ" โดยยอดคงค้างหนี้ครัวเรือน ขยายตัวต่ำมานานกว่า 5 ไตรมาสแล้ว ขณะที่เศรษฐกิจยังเติบโตอยู่ แม้จะโตต่ำ และฟื้นตัวได้ช้า

*สถาบันการเงินยังระมัดระวังการให้สินเชื่อ

SCB EIC ประเมินว่า ในระยะต่อไป สถาบันการเงินจะยังคงมีแนวโน้มระมัดระวังการให้สินเชื่อ โดยคุณภาพสินเชื่อที่ปรับด้อยลงต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้หนี้ครัวเรือนขยายตัวต่ำ สัดส่วนสินเชื่อ Stage 3 (NPL) ของสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ 3.41% ในไตรมาสแรกของปี 2568

หากพิจารณาในรายละเอียด พบว่าสินเชื่อที่มีความเสี่ยงระดับ Stage 3 (NPL) ปรับเพิ่มขึ้นทุกประเภท โดยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อบัตรเครดิตซึ่งมีสัดส่วน NPL สูงกว่าอยู่ที่ 4.11% และ 4.17% ตามลำดับ และหากคิดรวมกับสัดส่วนสินเชื่อที่มีความเสี่ยงระดับ Stage 2 แล้วสัดส่วนดังกล่าวจะสูงถึง 10.26% และ 8.45% ตามลำดับ

โดยในแง่คุณภาพสินเชื่อครัวเรือน พบว่า สถาบันการเงินมีแนวโน้มจะยังคงระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ โดยเฉพาะสถาบันการเงินเอกชน ตามความเสี่ยงด้านเครดิตที่อยู่ในระดับสูง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามความเปราะบางของครัวเรือน นอกจากภาคครัวเรือนไทยจะมีแผลเป็นจากวิกฤติ COVID-19 อยู่แล้ว ยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติมที่จะเข้ามากระทบเศรษฐกิจไทย ทั้งปัจจัยเสี่ยงภายนอก จากความไม่แน่นอนของนโยบายการค้า และปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ และปัจจัยเสี่ยงภายใน ทั้งจากความไม่แน่นอนทางการเมือง และความเปราะบางของภาคธุรกิจที่ต้องแข่งขันสูงกับสินค้านำเข้า

*การลดหนี้ครัวเรือนของไทย ยังช้ากว่าประเทศอื่น

SCB EIC มองว่า กระบวนการลดลงของสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ Nominal GDP ของไทยเทียบกับประเทศเศรษฐกิจหลักอื่น ๆ ค่อนข้างล่าช้า (ประเมินจากการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่สูงสุดในช่วง COVID-19 เทียบกับข้อมูลล่าสุด) อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อของไทย พบว่าค่อนข้างต่ำกว่าหลายประเทศ โดยในประเทศเศรษฐกิจหลัก การลดลงของสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ส่วนหนึ่งเกิดจากเงินเฟ้อเร่งตัวในช่วงต้นของสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งช่วยลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ได้เร็วขึ้น จากมูลค่าเศรษฐกิจที่สูงขึ้นตามเงินเฟ้อ ขณะที่ประเทศในเอเชียตะวันออก แม้เงินเฟ้อเร่งตัวน้อยกว่า แต่อัตราการเติบโตของ GDP ฟื้นตัวได้ดีหลังวิกฤติ COVID-19

โดยเปรียบเทียบแล้ว แม้กระบวนการลดหนี้ (Deleveraging) ของไทยอาจสอดคล้องกับทิศทางของประเทศอื่น ๆ แต่ความแตกต่างคือ กระบวนการลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทย เกิดขึ้นผ่านยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนที่ไม่เติบโตเป็นหลัก ไม่ได้เกิดจากการเติบโตของเศรษฐกิจ หรือเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญ โดยหากอัตราเงินเฟ้อไทยอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ครัวเรือนไทยเผชิญกับภาวะ "Debt Deflation" ซึ่งจะทำให้มูลค่าที่แท้จริงของหนี้ครัวเรือนไทย ไม่ปรับลดลงไปตามระดับราคาที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้ครัวเรือนจะยังคงมีภาระหนี้ที่สูง นอกจากนี้ สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยสูงสุด ณ วิกฤติ COVID-19 อยู่ที่ระดับสูงมาก เมื่อเทียบกับอดีตของไทยเองและประเทศอื่น ๆ

*ชุดนโยบายแก้หนี้ อาจช่วยลดหนี้ครัวเรือนลงได้บ้าง

ที่ผ่านมา ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านหลายมาตรการที่ช่วยบรรเทาภาระหนี้ โดยเฉพาะมาตรการ "คุณสู้ เราช่วย เฟส 2" ล่าสุด ซึ่ง SCB EIC ประเมินว่า โครงการได้ขยายขอบเขตเงื่อนไขและระยะเวลาเข้าร่วม ตลอดจนขยายเกณฑ์ให้ครอบคลุมลูกหนี้กลุ่มอื่นมากขึ้น โครงการใหม่นี้ อาจช่วยแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในระยะสั้น ผ่านแรงจูงใจในการลดภาระการชำระหนี้ต่อเดือน แต่ความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ในระยะต่อไป ยังขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของรายได้ครัวเรือนเป็นหลัก โดยเฉพาะมาตรการ "จ่ายตรง คงทรัพย์" ที่มีการปรับเพิ่มยอดชำระหนี้รายเดือนแบบเป็นขั้นบันไดในแต่ละปีที่ลูกหนี้เข้าร่วมโครงการ

ดังนั้น กระบวนการลดหนี้ที่จะเป็นประโยชน์แท้จริงต่อภาคครัวเรือนโดยรวม จะต้องเป็นกระบวนการลดหนี้ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ซึ่งอาจพิจารณาผ่าน 2 แนวทาง คือ กระบวนการแก้หนี้เดิม จะต้องออกแบบให้ครอบคลุม และตอบโจทย์ครัวเรือนที่มีปัญหาหนี้ต่างกัน และกลไกนโยบายเศรษฐกิจมหภาค จะต้องช่วยประคองเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนให้รายได้ครัวเรือนฟื้นตัวได้มากพอที่จะนำไปชำระหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้หลุดจากปัญหาหนี้เรื้อรังได้อย่างยั่งยืน

โดยในระยะต่อไป แนวทางในการป้องกันการก่อหนี้ที่ไม่ยั่งยืน อาจทำได้ผ่านนโยบาย Macroprudential ที่เหมาะสม เช่น การกำหนดเกณฑ์สัดส่วนหนี้ต่อรายได้ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในภาวะที่ดอกเบี้ยลดต่ำลงมาเป็นระยะเวลายาวนาน (Low for Long) กระบวนการลดหนี้ครัวเรือนของไทย จะยังเป็นปัจจัยสำคัญกดดันการบริโภคภาคเอกชนในระยะข้างหน้า

*คาดสิ้นปี 68 หนี้ครัวเรือนแตะระดับ 85.5-86.5% ต่อ GDP

ในภาพรวม SCB EIC ประเมินว่ากระบวนการลดหนี้ครัวเรือนของไทยจะยังดำเนินต่อไป จากยอดคงค้างสินเชื่อครัวเรือนที่มีแนวโน้มขยายตัวต่ำ ขณะที่เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังจะเติบโตต่ำลงต่อเนื่อง จากปัจจัยสงครามการค้า, แผลเป็นเศรษฐกิจในภาคครัวเรือนและ SMEs ที่มีอยู่เดิม และข้อจำกัดด้านนโยบายการคลัง โดยมีโอกาสเข้าสู่ Technical recession โดยคาดว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP ณ สิ้นปี 2568 จะลดลงต่อเนื่องไปอยู่ที่ช่วง 85.5-86.5%

อย่างไรก็ดี การเติบโตของเศรษฐกิจที่ต่ำ ก็เพียงพอที่จะทำให้สัดส่วนดังกล่าวทยอยปรับลดลง โดยกระบวนการลดหนี้ (Deleveraging) ในลักษณะนี้ อาจไม่ได้ช่วยให้ครัวเรือนปลดล็อกจากปัญหาหนี้สินได้ดีมากนัก เนื่องจากรายได้ครัวเรือนจะฟื้นตัวช้า นอกจากนั้น การเข้าถึงสินเชื่อของครัวเรือน ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นปัญหามากขึ้นตามความระมัดระวังในการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน และมีแนวโน้มกดดันการบริโภคภาคเอกชนไทยในระยะต่อไป ซึ่งจะสร้างแรงกดดันให้เศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชน เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทยในช่วงหลัง COVID-19

website : mgronline.com
facebook : MGRonlineLive
twitter : @MGROnlineLive
instagram : mgronline
line : MGROnline
youtube : MGR Online VDO

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Manager Online

“แพรรี่” เห็นด้วย “สนธิ” ถาม "เจ้าคณะหนกลาง" ปมสีกากอล์ฟ กังขาใครเสนอ "ทิดแย้ม" เป็นเจ้าคณะภาค 14

20 นาทีที่แล้ว

ก.ล.ต. รื้อเกณฑ์ทดสอบนักลงทุน เตรียมยกเครื่องกฎ “รู้จริงก่อนจองโทเคน” ลดภาระ-ล้อมคอกก่อนเกิดปัญหา

21 นาทีที่แล้ว

ลิ้มลองช็อกโกแลตและขนมหวาน รังสรรค์โดยเชฟ ลอว์เรนซ์ โบโบ

25 นาทีที่แล้ว

ชุดน้ำชายามบ่ายสุดพิเศษ ‘Atelier Tea Reverie’

35 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

ก.ล.ต. รื้อเกณฑ์ทดสอบนักลงทุน เตรียมยกเครื่องกฎ “รู้จริงก่อนจองโทเคน” ลดภาระ-ล้อมคอกก่อนเกิดปัญหา

Manager Online

อิเกีย ตอกย้ำความเป็น Pet-friendly ชวนคนรักสัตว์เลี้ยงเช็คอิน งาน “เติมเต็มบ้านด้วยความรักและหัวใจคนฟู” ณ เอ็ม ยาร์ด 18-28 ก.ค. นี้

Positioningmag

เสียวหมี่ ชวนร่วมสนุกทำคลิป TikTok Challenge ขึ้นต้นด้วย “เสียวหมี่” ลงท้ายด้วย “แบมแบม” ชิงสมาร์ทโฟน Redmi Note 14 Pro 5G พร้อมลายเซ็น’แบมแบม’

BTimes

"GULF" ออกหุ้นกู้ภายใต้บริษัทใหม่ เสริมแกร่งการลงทุน

PostToday

กรุงศรีเผยผลกำไรสุทธิครึ่งแรกของปี 2568 จำนวน 15.83 พันล้านบาท รักษาระดับผลการดำเนินงานผ่านการบริหารต้นทุนเสริมประสิทธิภาพเต็มกำลัง เน้นยุทธศาสตร์การเติบโตสินเชื่อที่มีคุณภาพ

Positioningmag

ธนาธร ซัด เศรษฐกิจไทยติดหล่มการเมือง 20 ปี จี้ ผ่าตัดงบประมาณ

PostToday

กรุงศรี เผยผลกำไรสุทธิครึ่งแรกของปี 2568 จำนวน 15.83 พันล้านบาท เน้นยุทธศาสตร์การเติบโตสินเชื่อที่มีคุณภาพ

การเงินธนาคาร

KTC กำไรครึ่งปีแรก 68 ทะลุ 3,755 ล้านบาท พอร์ตสินเชื่อทะลุ 1 แสนล้านบาท

การเงินธนาคาร

ข่าวและบทความยอดนิยม

รมว.คลัง เก็งผลไทยเจรจาสหรัฐได้อัตราภาษีระดับเดียวกับอาเซียนหลังปรับข้อเสนอใหม่

Manager Online

YLG มองทองคำพักฐานระยะสั้น ครึ่งปีหลังยังมีโอกาสไปต่อ ลุ้นเป้าหมายใหม่ 3650 เหรียญฯ

Manager Online

“ท๊อป จิรายุส” โชว์วิสัยทัศน์ 5 ไฮไลท์เศรษฐกิจโลก บนเวทีประชุมผู้นำ Summer Davos 2025

Manager Online
ดูเพิ่ม
Loading...