โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

กุมารแพทย์เตือน 3 โรคยอดฮิต เฝ้าระวังเด็ก ผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

นพ.ธนินทร์ เวชชาภินันท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า สาเหตุของ"โรคไข้หวัดใหญ่"เกิดจากการติดเชื้ออินฟลูเอนซา ติดต่อโดยการหายใจเอาละอองน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วยที่ไอ หรือจาม เข้าไป สัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วย ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มีภูมิคุ้มกันยังไม่สมบูรณ์ อาการของไข้หวัดใหญ่ในเด็กมักเริ่มด้วยไข้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ร่วมกับอาการไอ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล และปวดเมื่อยตามตัว เด็กมักจะรู้สึกอ่อนเพลียและอาจมีอาการแทรกซ้อนหากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม

โรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกีโดยมียุงลายเป็นพาหะ เมื่อยุงลายกัดและถ่ายทอดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้เกิดโรคในช่วงประมาณ 2-7 วัน โดยผู้ป่วยจะมีไข้สูงลอยอย่างต่อเนื่อง โดยทั่วไปจะไม่มีอาการไอหรือน้ำมูก แต่เด็กจะมีอาการซึม เบื่ออาหาร และปวดเมื่อยตามตัวอย่างรุนแรง บางรายอาจมีคลื่นไส้ อาเจียน หรือปวดท้อง ในช่วงที่ไข้ลดลงอาจพบผื่นขึ้น มีจุดเลือดออกใต้ผิวหนัง หรือเลือดกำเดาออก

โรคโควิด-19 เกิดจากไวรัส SARS-CoV-2 ที่ติดต่อผ่านละอองฝอยน้ำลายจากการไอ จาม หรือการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ อาการในเด็กนั้นมีความหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการเลย ไปจนถึงมีไข้ต่ำ ไอ เจ็บคอ จาม มีน้ำมูก และเหนื่อยหอบ ในบางรายอาจแสดงอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ถ่ายเหลว และอาจมีผื่นขึ้นร่วมด้วยได้

นพ.อาคม ชัยวีระวัฒนะ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีการดูแลรักษา โรคไข้หวัดใหญ่ในเด็กกลุ่มเสี่ยงสามารถใช้ยาต้านไวรัสได้ เช่น ยาโอเซลทามิเวียร์ หากให้ยาภายใน 48 ชั่วโมงหลังเริ่มมีอาการ จะช่วยลดระยะเวลาในการป่วยลงได้

โรคไข้เลือดออก ยังไม่มียาต้านไวรัสโดยตรง การรักษาจะเน้นไปที่การดูแลตามอาการ เด็กควรได้รับยาลดไข้เฉพาะพาราเซตามอลเท่านั้น ห้ามใช้ยาในกลุ่มแอสไพรินหรือยาลดอาการอักเสบที่อาจทำให้เลือดออกง่ายขึ้น ควรให้เด็กดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ

โรคโควิด-19 ส่วนใหญ่รักษาตามอาการที่บ้าน สามารถกินยาตามอาการได้ เช่น ยาแก้ปวด ยาลดไข้ ยาแก้ไอ โดยให้เด็กดื่มน้ำสะอาดและพักผ่อนให้เพียงพอ การป้องกันโรคสามารถทำได้โดยให้เด็กได้รับวัคซีนที่จำเป็นอย่างครบถ้วน ซึ่งสามารถลดความรุนแรงของโรคและป้องกันการแพร่กระจายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรส่งเสริมให้เด็กสวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องอยู่ในที่แออัด หมั่นล้างมือบ่อย ๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

โดยผู้ปกครองสามารถใช้ชุดตรวจ ATK เพื่อช่วยวินิจฉัยเบื้องต้น ผู้ปกครองควรร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงภายในบ้านและบริเวณโดยรอบ เช่น คว่ำภาชนะที่อาจมีน้ำขัง เปลี่ยนน้ำในแจกันหรือถาดรองกระถางต้นไม้อย่างสม่ำเสมอ และให้เด็กสวมเสื้อผ้ามิดชิดเมื่อต้องอยู่ในพื้นที่ที่มียุงชุกชุม สิ่งสำคัญคือการรู้เท่าทันอาการของโรค และหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในร่างกายของเด็กอย่างใกล้ชิด หากพบอาการผิดปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที เพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

3 ประธานตลท. ประสานโอกาสหุ้นไทยสร้างเสน่ห์ ปลดล็อกกม.- เน้นทุกหน่วยงานเอื้อธุรกิจ-เข้มงวดลงโทษ

10 นาทีที่แล้ว

ตลาดหุ้นไทยวันนี้ (1 ก.ค.) ปิดตลาดพุ่ง 20.45 จุด แนวโน้มชุมนุมใหญ่คลาย

19 นาทีที่แล้ว

‘ณัฐพงษ์’ ย้ำทางออกดีสุดคือยุบสภา ชงรักษาการนายกฯคืนอำนาจ ปชช.

22 นาทีที่แล้ว

‘อีวีจีน’ บุกยุโรปสนั่น! ยอดขายพุ่งทำสถิติ BYD ยอดจดทะเบียนพุ่ง 158%

30 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

ตะลึง ทั่วโลกกว่า 970 ล้านคนป่วยสุขภาพจิต รุนแรงขึ้นหลังโควิด

ฐานเศรษฐกิจ

เปิด (ร่าง)กฎกระทรวงใหม่ เกณฑ์อนุญาต ‘ร้านขายช่อดอกกัญชา’

กรุงเทพธุรกิจ

8 สัญญาณโรคเบาหวาน คอแห้ง หิวบ่อย ชาปลายมือปลายเท้า ต้องระวัง!

PPTV HD 36

อาหารป้องกันเบาหวาน ลดน้ำหนัก คุมน้ำตาล หยุดโรคเรื้อรังในอนาคต

PPTV HD 36

กลุ่มผู้ป่วยโรค NF1 ขอให้สิทธิบัตรทอง ครอบคลุมการรักษา

ฐานเศรษฐกิจ

7 เคล็บลับการนอนหลับ สำหรับคนหลับยาก ปรับพฤติกรรมช่วยคลายเครียด

PPTV HD 36

'สมศักดิ์' ยินดีได้ 2 รมช.สธ. ลั่นเป็นการเติมเต็มที่รัฐบาลมอบให้

กรุงเทพธุรกิจ

‘ตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง’ ฟรี กรมควบคุมโรคเผยยอดติดเชื้อสะสมกว่า 5 แสน

กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...