โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

‘Aluminium Loop’ โชว์ความสำเร็จรีไซเคิลทะลุ 1,300 ล้านกระป๋อง ดัน Closed Loop สู่มาตรฐานใหม่ หนุน EPR สร้างระบบจัดการบรรจุภัณฑ์ไทย

สยามรัฐ

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘Aluminium Loop’ (อลูมิเนียม ลูป) ผู้นำด้านการพัฒนาระบบรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มอลูมิเนียมแบบวงจรปิด (Closed Loop Recycling) ในประเทศไทย เดินหน้ารีไซเคิลกระป๋องอลูมิเนียมใช้แล้วมากกว่า 1,300 ล้านกระป๋อง ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนมากกว่า 100 ล้านกิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kg CO2 eq) หรือเทียบการปลูกต้นไม้ 11 ล้านต้น ตอกย้ำจุดยืนในการเป็นหนึ่งในโครงสร้างต้นแบบการผลิตบรรจุภัณฑ์อย่างมีความรับผิดชอบของผู้ผลิต สนับสนุนแนวคิด Extended Producer Responsibility (EPR) ที่ประเทศไทยกำลังผลักดันอย่างจริงจัง

ภวินท์ ชยาวิวัฒน์กุล ผู้ก่อตั้ง Aluminium Loop เปิดเผยว่า “เรามุ่งสร้างระบบรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มอลูมิเนียมที่มีประสิทธิภาพในรูปแบบวงจรปิด (Closed Loop Recycling) และใช้งานได้จริงในประเทศไทย โดยอาศัยการทำงานร่วมกันกับพันธมิตรตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่ผู้ผลิตวัตถุดิบ ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ แบรนด์เครื่องดื่ม ผู้ค้าปลีก ไปจนถึงผู้เก็บกลับ และโรงงานรีไซเคิล เพื่อให้สามารถนำกระป๋องอลูมิเนียมใช้แล้วกลับมารีไซเคิลและผลิตเป็นกระป๋องใหม่ได้อย่างไม่จำกัด ซึ่ง Aluminium Loop เป็นรายแรกและรายเดียวในประเทศไทยที่ดำเนินการระบบนี้ และเป็น 1 ใน 4 ประเทศของเอเชียที่สามารถดำเนินการระบบนี้ได้อย่างครบวงจร

สิ่งที่ทำให้ระบบของเราแตกต่าง คือความโปร่งใสซึ่งสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ เราติดตามข้อมูลตั้งแต่จำนวนกระป๋องที่ผลิตออกสู่ตลาด จนถึงจำนวนที่ถูกเก็บกลับมารีไซเคิลได้จริงในปริมาณเทียบเท่าโดยน้ำหนัก นั่นหมายความว่าแบรนด์เครื่องดื่มที่เข้าร่วมโครงการกับเรา จะไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้ผลิตสินค้าเท่านั้น แต่มีความรับผิดชอบร่วมกันตลอดทั้งห่วงโซ่อุตสาหกรรมทั้งหมด โดยบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วจะถูกนำกลับมารีไซเคิลในปริมาณเท่าเดิมหรือมากกว่า ตอกย้ำว่าระบบของเราทำให้การรีไซเคิลเกิดขึ้นได้จริงและสามารถรายงานผลได้อย่างชัดเจน โดยที่แบรนด์และผู้บริโภคสามารถมั่นใจกับกระบวนการทำงานที่โปร่งใสนี้ได้”
สำหรับการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มอลูมิเนียมแบบวงจรปิดมีจุดเด่นด้านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ลดลง ซึ่งบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มอลูมิเนียมผลิตจากวัสดุเพียงชนิดเดียว (Mono-material) ไม่มีวัสดุอื่นผสม ทำให้สามารถรีไซเคิลได้ง่าย ไม่ต้องผ่านกระบวนการแยกวัสดุอื่นออก นอกจากนี้ คุณสมบัติของอลูมิเนียมยังสามารถหลอมเป็นวัตถุดิบตั้งต้นได้ใหม่โดยไม่สูญเสียคุณภาพ และทำได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ซึ่งการใช้พลังงานในการผลิตบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมจากอลูมิเนียมรีไซเคิลจะลดลงถึง 95% เมื่อเทียบกับการผลิตจากวัตถุดิบจากการขุดแร่ใหม่ ส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน
“การรีไซเคิลแบบ Closed Loop มีความสำคัญมาก เพราะคือการนำวัสดุใช้แล้วรีไซเคิลกลับมาเป็นผลิตภัณฑ์เดิม อย่างของเราคือการรีไซเคิลกระป๋องกลับมาเป็นกระป๋องใหม่ ทำซ้ำได้แบบไม่จำกัด ต่างจากการรีไซเคิลแบบวงจรเปิด (Open Loop Recycling) ที่นำวัสดุใช้แล้วไปรีไซเคิลเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น ซึ่งมักไม่สามารถนำกลับเข้าสู่ระบบเดิมได้อีก เนื่องจากคุณภาพลดลง ระบบ Closed Loop จึงไม่เพียงลดการใช้ทรัพยากร แต่ยังช่วยรักษาคุณภาพของวัสดุให้สามารถใช้งานได้ไม่รู้จบ และลดการสูญเสียในกระบวนการรีไซเคิล อีกทั้งเครือข่ายการดำเนินงานของ Aluminium Loop ยังครอบคลุมพื้นที่รีไซเคิลภายในรัศมีเพียง 400 กิโลเมตร ถือเป็นหนึ่งในระบบที่มีระยะทางสั้นที่สุดในโลก ทำให้การดำเนินงานตลอดทั้งกระบวนการมีความสะดวกและรวดเร็ว เกิดเป็นวงจรการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มอลูมิเนียมที่สมบูรณ์ มีประสิทธิภาพสูง และลดระยะเวลาการขนส่ง นำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของภาคอุตสาหกรรมในระยะยาว

ปัจจุบัน Aluminium Loop ดำเนินการมา 4 ปี มีแบรนด์เครื่องดื่มเข้าร่วมกว่า 100 ราย และจุดเก็บกลับกระป๋องใช้แล้วมากกว่า 200 จุดทั่วประเทศ สามารถเก็บกลับบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มอลูมิเนียมเข้าสู่ระบบรีไซเคิลแบบวงจรปิดได้มากกว่า 1,300 ล้านใบ โดยเป้าหมายใน 5 ปีข้างหน้า คือการผลักดันแบรนด์เครื่องดื่มในประเทศให้เข้าร่วมและเก็บคืนกระป๋องเข้าสู่ระบบให้ได้ 4,000 ล้านใบ พร้อมขยายจุดรับคืนครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อรองรับการเติบโตของระบบรีไซเคิล และเป็นต้นแบบรองรับนโยบาย EPR ของประเทศไทยในอนาคต”

EPR หรือ หลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิตไปยังตลอดทั้งวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เป็นแนวคิดที่หลายประเทศทั่วโลกเริ่มใช้ในการผลักดันให้เกิดการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เพียงครั้งเดียว เช่น พลาสติก หรือกล่องบรรจุอาหาร ซึ่งผู้ผลิตต้องรับผิดชอบต่อบรรจุภัณฑ์ที่ผลิต ตั้งแต่การออกแบบ กระบวนการผลิต การจำหน่าย การเก็บกลับ การรีไซเคิล ไปจนถึงการกำจัดอย่างถูกวิธี ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ระหว่างการจัดทำนโยบายและแนวทางผลักดันร่วมกับหลายภาคส่วน

“เราตั้งใจสร้างระบบรีไซเคิลที่ไม่ใช่แค่ลดขยะ แต่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบให้ทั้งอุตสาหกรรมและสังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืนได้จริง วันนี้เราพร้อมเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถรองรับ EPR ได้ทันที เรามีระบบรองรับครบทุกด้าน สามารถติดตามเส้นทางของบรรจุภัณฑ์ตั้งแต่ผลิตจนถึงการเก็บกลับมารีไซเคิล และพร้อมร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเป็นรูปธรรม” ภวินท์ กล่าวเสริม

นอกจากนี้ ในด้านสังคม การรีไซเคิลรูปแบบ Closed Loop ยังช่วยให้เกิดการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มอลูมิเนียมใช้แล้วเพื่อส่งต่อไปรีไซเคิลเพิ่มมากขึ้น และด้วยมูลค่ารับซื้อที่สูงที่สุดในกลุ่มบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว จึงสร้างรายได้ให้แก่ผู้เก็บกลับ ทั้งยังลดขยะตกค้างสู่สิ่งแวดล้อม ช่วยสร้างกลไกด้านการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์หลังบริโภคได้อย่างเป็นระบบ

“เราอยากสื่อสารและทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าการเลือกบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มอลูมิเนียมที่สามารถรีไซเคิลได้ ไม่ใช่ทำเพียงเพื่อสิ่งแวดล้อม แต่คือการแสดงจุดยืนต่อระบบที่เราอยากเห็นในประเทศ ถ้าผู้บริโภคแสดงพลังเลือกซื้อที่ชัดเจน เราจะสามารถขับเคลื่อนให้ทั้งอุตสาหกรรมเปลี่ยนตามได้ สุดท้ายแล้วการรีไซเคิลที่ยั่งยืนต้องเริ่มต้นจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ซึ่งจะสามารถเปลี่ยนขยะให้กลายเป็นเศรษฐกิจ เปลี่ยนวิกฤตสิ่งแวดล้อมให้กลายเป็นโอกาสของประเทศได้” ภวินท์ กล่าวทิ้งท้าย

ด้วยความมุ่งมั่นในการยกระดับระบบรีไซเคิลของไทยให้เดินหน้าได้จริง Aluminium Loop จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่โครงการด้านสิ่งแวดล้อม แต่คือโครงสร้างพื้นฐานที่มีศักยภาพ พร้อมรองรับการดำเนินนโยบาย EPR อย่างเป็นระบบ โดยเปิดโอกาสให้ทั้งผู้ผลิตแบรนด์เครื่องดื่มและผู้บริโภคมีบทบาทร่วมกันในการพัฒนาระบบการรีไซเคิลที่แข็งแกร่ง โปร่งใส และยั่งยืน เพื่อให้ขยะบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคไม่กลายเป็นภาระของสังคม แต่กลับมาเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าในระบบเศรษฐกิจของประเทศ
เพียงแค่เราเริ่มต้นจากสิ่งใกล้ตัวที่สุด อย่างการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มอลูมิเนียม หรือมองหาสัญลักษณ์ Aluminium Loop บนกระป๋องเครื่องดื่ม นั่นคือการมีส่วนร่วมในระบบที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน เพิ่มรายได้แก่คนในชุมชน และร่วมผลักดันให้ประเทศมีระบบจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก สยามรัฐ

"บัว นลินทิพย์" แจกความสดใสเสิร์ฟทูพีซอวดแซ่บเบาๆ

51 นาทีที่แล้ว

“บิ๊กเล็ก” แจง ไม่มีพาดพิง พล.อ.เตีย เซ็ยฮา ย้ำ ขอให้เชื่อมั่น การทำงานตนเอง ยึดรอบคอบ

55 นาทีที่แล้ว

รวบแล้วผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดบุรีรัมย์หลบหนี

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เช็กเลย! "หมอกฤษณ์คอนเฟิร์ม" ราศีใดมีเกณฑ์สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะทำให้รวย

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

JKN นัดเจ้าหนี้ประชุม 17 ก.ค.นี้ เคาะแผนฟื้นฟูกิจการ

ข่าวหุ้นธุรกิจ

NSL Foods ทุ่ม 800 ล้านบาท สร้างโรงงานใหม่ ดันกำลังผลิตแซนวิช โกยรายได้โต 16%

กรุงเทพธุรกิจ

รถไฟฯ รวมพลังจิตอาสา Big Cleaning Day ที่หยุดรถแม่พวก จ.แพร่ ต้อนรับ “วิ่ง-ป่า-ลาบ 68” เฉลิมพระเกียรติ เดือนมหามงคล

สยามรัฐ

“MAJOR × OMODA & JAECOO” ชวนคอหนัง ออกเดินทางแบบเอ็กซ์คลูซีฟ ลุ้นบินโอซาก้า! สัมผัสประสบการณ์สุดมันส์ในโลกภาพยนตร์

สยามรัฐ

NIA เปิดมหกรรมนวัตกรรมและเครือข่ายสตาร์ตอัป “SITE 2025” หนุนไทยสู่ศูนย์กลางนวัตกรรมโลก “Global Innovation Partnership”

สยามรัฐ

ค่าเงินบาท และตลาดหุ้นไทย (สัปดาห์ที่ 30 มิ.ย. – 4 ก.ค. 68)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ส่งออกเม็ดพลาสติก Polyethylene (PE) ไทย ปี 2025 คาดว่าจะลดลง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ไทยเที่ยวไทยปี 2568 คาดโต 2.2% ชะลอลงจากปีก่อน เทรนด์คนไทยเที่ยวเมืองน่าเที่ยว(เมืองรอง) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...