โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

6 เทรนด์รับมือภาษีการค้า พาธุรกิจฝ่าความท้าทาย

Businesstoday

อัพเดต 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Businesstoday

“ธนาคารซิตี้แบงก์” ออกบทวิเคราะห์ Global Trade in Transition: Tariffs Reshape Supply Chains, Strategy, and Financing ระบุว่า แม้บางประเทศเผชิญกับอัตราภาษีที่สูงกว่าประเทศอื่น ๆ เช่น ประเทศจีน เวียดนาม แต่ภาคอุตสาหกรรมในระดับโลก ตั้งแต่ภาคเทคโนโลยี ยานยนต์ สินค้าและบริการเพื่อผู้บริโภค ไปจนถึงภาคการเกษตรและโลจิสติกส์ ได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากอัตราภาษี และมีการเร่งปรับโครงสร้างซัพพลายเชน กลยุทธ์การเงิน

ขณะที่แผนการลงทุนครั้งใหญ่ในรอบหลายสิบปี ทุกประเทศที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานโลกจึงล้วนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม รวมถึงประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกรถยนต์ให้สหรัฐอเมริกา ก็เริ่มเผชิญแรงกดดันในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์เช่นกัน

เปิด 6 เทรนด์การรับมือที่สำคัญ

  • การขยายฐานการผลิตในสหรัฐฯ ผ่านการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรอย่างโรงงาน FDI หรือการควบรวมหรือเข้าซื้อกิจการ เพื่อลดความเสี่ยงด้านการขนส่งรวมถึงเลี่ยงภาษีนำเข้า
  • ย้ายฐานการผลิตไปประเทศที่ภาษีต่ำ แต่ความไม่แน่นอนของระดับภาษีในอนาคตทำให้การตัดสินใจย้ายฐานการผลิตยังคงเป็นประเด็นที่ซับซ้อน
  • เพิ่มกำลังการผลิตในโรงงานเดิม ลดต้นทุนด้วยการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่
  • กระจายฐานซัพพลายเออร์ รวมถึงเพิ่มการจัดซื้อจากหลายแหล่ง ลดความเสี่ยงการพึ่งพาซัพพลายเออร์เจ้าเดียว
  • สำรองสต็อกสินค้าในคลัง เพื่อไม่ให้กระทบการขายหรือการผลิตหากเกิดวิกฤติ และบางบริษัทยังเร่งส่งสินค้าก่อนจะเกิดสงครามการค้า
  • รัดเข็มขัดเงินสดสำรองและรักษาสภาพคล่อง เพื่อรับแรงกดดันด้านกำไรและยอดขายที่ลดลง

แม้สถานการณ์จะมีความท้าทาย แต่ธุรกิจที่สามารถกระจายความเสี่ยงพร้อมบริหารทรัพยากรอย่างยืดหยุ่น ยังมีโอกาสสร้างการเติบโตได้ด้วยการลงทุนในตลาดใหม่ รวมถึงสร้างความได้เปรียบจากโครงสร้างภาษีที่เปลี่ยนแปลง เครื่องมือการเงินเพื่อบริหารความเสี่ยงและอำนวยความสะดวกในการค้าระหว่างประเทศ ทั้งโซลูชันบริหารเจ้าหนี้การค้า (Payables Finance) และลูกหนี้การค้า (Accounts Receivable) ที่ช่วยให้การลงทุนคล่องตัวในภาวะต้นทุนสูงขึ้นจากภาษี ตราสารเครดิต (Letters of Credit) ที่ออกโดยธนาคารเพื่อรับประกันการชำระเงิน รวมถึงสินเชื่อเพื่อการค้าและทุนหมุนเวียน (Trade and Working Capital Loans) ซึ่งช่วยให้ธุรกิจมีเงินสดเพียงพอสำหรับการซื้อวัตถุดิบ การผลิต และจัดส่งสินค้า จึงได้รับความสนใจจากองค์กรทั่วโลก

นางสาวนฤมล จิวังกูร กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย กล่าวว่า ภูมิทัศน์การค้า ทิศทางที่ผันผวนในขณะนี้เป็นความท้าทายอย่างสูงสำหรับการวางกลยุทธ์ขององค์กร การมีพันธมิตรด้านการเงินที่มีทั้งบริการครบวงจรและความเชี่ยวชาญในตลาดนานาชาติ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารความเสี่ยงและการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เข้าถึงตลาดเงินตลาดทุนในแต่ละประเทศ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงินระดับโลก

ธนาคารซิตี้แบงก์ เป็นพันธมิตรอันดับต้นที่พร้อมตอบโจทย์ธุรกิจ ด้วยบริการที่สอดรับกับความต้องการขององค์กร และเครือข่ายครอบคลุมกว่า 180 ประเทศทั่วโลก ช่วยเชื่อมโยงลูกค้าเข้ากับโอกาสที่เหมาะสม พร้อมมอบข้อมูลเชิงลึกที่ทันเหตุการณ์ เพื่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่แม่นยำ สนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นใจในเวทีโลก

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Businesstoday

BMW จับมือบริษัทจีน ‘โมเมนตา’ พัฒนาระบบช่วยขับขี่อัจฉริยะพลัง AI

15 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ดาวโจนส์บวก 231.49 จุด หลังทรัมป์ยืนยันไม่ปลดพาวเวล

17 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่นๆ

BBL กำไรไตรมาส 2/68 ดีกว่าโบรกคาดการณ์

ทันหุ้น

“ฮักเห็ดฟาร์ม” ภารกิจขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์สู่วิถีชีวิตที่ยั่งยืน

ธนาคารแห่งประเทศไทย

A5 ปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น! “ทวีรัช ปรุงพัฒนสกุล” ขึ้นแท่นอันดับ 2 ถือแตะ 13.30%”

ข่าวหุ้นธุรกิจ

“ผู้ว่าแบงก์ชาติ” คนใหม่มาแน่! ทักษิณชี้เคาะชื่อเข้า ครม. สัปดาห์หน้า

ข่าวหุ้นธุรกิจ

“ทักษิณ” ยกเคส STARK จี้เอาผิด “บริษัทสอบบัญชี” แนะรื้อกฎหมายสร้างความรับผิดชอบ

ข่าวหุ้นธุรกิจ

บ้านในฝันของคู่รักอเมริกัน สุดท้ายต้องขายทิ้ง เพราะสู้ ค่าใช้จ่ายแฝง ไม่ไหว

the Opener

JKN แจ้ง “เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์” เลื่อนประชุมเจ้าหนี้ใหม่ 25 ก.ย.

ข่าวหุ้นธุรกิจ

“ทักษิณ” เสนอไอเดีย “Virtual Training” แจก Token ให้คนไทยใช้ AI ฟรี

ข่าวหุ้นธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...