“วราวุธ” เผย ศบปภ. พม. น่าน-เชียงราย-แพร่ กางแผนที่เสี่ยงภัยเข้าช่วยกลุ่มเปราะบาง รับผลกระทบจากพายุวิภาเข้าศูนย์พักพิง
“วราวุธ” เผย ศบปภ. พม. น่าน-เชียงราย-แพร่ กางแผนที่เสี่ยงภัย (Risk Map) เข้าช่วยกลุ่มเปราะบาง ที่รับผลกระทบจาก พายุ“วิภา” เข้าศูนย์พักพิง
พม. วันนี้ ( 23 ก.ค.) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากศูนย์บริหารการดูแลกลุ่มเปราะบางจากภัยพิบัติ (ศบปภ.) กระทรวง พม. กรณีการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในพื้นที่จังหวัดซึ่งได้รับผลกระทบจากอิทธิพลพายุวิภา ส่งผลให้เกิดฝนตกต่อเนื่องและอุทกภัยในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ
โดย ศบปภ. พม.จังหวัดน่าน รายงานว่าได้คัดกรองข้อมูลกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ตามแผนที่เสี่ยงภัย (Risk Map) ในระบบสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์ (MSO-Logbook) จากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวง พม. และจัดส่งให้ทางจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ความช่วยเหลือและอพยพกลุ่มเปราะบาง เข้าพักที่ศูนย์พักพิงชั่วคราว ตามที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด
ศบปภ. พม.จังหวัดน่าน พบว่า มีกลุ่มเปราะบางได้รับผลกระทบรวมทั้งสิ้น จำนวน 120,244 คน ในพื้นที่ถูกน้ำท่วม จำนวน 7 อำเภอ ดังนี้ 1) อำเภอทุ่งช้าง ผู้สูงอายุ จำนวน 3,646 คน เด็ก จำนวน 1,348 คน คนพิการ จำนวน 869 คน รวม 5,863 คน 2) อำเภอเชียงกลาง ผู้สูงอายุ จำนวน 7,294 คน เด็ก จำนวน 1,099 คน คนพิการ จำนวน 1,765 คน รวม 10,158 คน 3) อำเภอท่าวังผา ผู้สูงอายุ จำนวน 12,468 คน เด็ก จำนวน 3,408 คน คนพิการ จำนวน 2,191 คน รวม 18,067 คน 4) อำเภอปัว ผู้สูงอายุ จำนวน 14,851 คน เด็ก จำนวน 4,200 คน คนพิการ จำนวน 3,784 คน รวม 22,835 คน 5) อำเภอเมืองน่าน ผู้สูงอายุ จำนวน 17,622 คน เด็ก จำนวน 4,604 คน คนพิการ จำนวน 3,008 คน รวม 25,234 คน 6) อำเภอภูเพียง ผู้สูงอายุ จำนวน 9,082 คน เด็ก จำนวน 1,793 คน คนพิการ จำนวน 1,722 คน รวม 12,597 คน และ 7) อำเภอเวียงสา ผู้สูงอายุ จำนวน 16,490 คน เด็ก จำนวน 4,506 คน คนพิการ จำนวน 4,494 คน รวม 25,490 คน
โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ประสบภัย จ.น่าน ได้อพยพกลุ่มเปราะบางไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ 1) ศูนย์พักพิงชั่วคราวโรงเรียนเมืองแงง อำเภอปัว มีผู้เข้าพักแล้ว จำนวน 91 คน 2) ศูนย์พักพิงชั่วคราวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแงง อำเภอปัว มีผู้ป่วยติดเตียงเข้าพักแล้ว จำนวน 9 คน มีญาติติดตามดูแล จำนวน 7 คน รวม 16 คน 3) ศูนย์พักพิงชั่วคราวองค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา มีผู้เข้าพักแล้ว จำนวน 50 คน 4) ศูนย์พักพิงชั่วคราววัดห้วยแขม ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา มีผู้เข้าพักแล้ว จำนวน 7 คน 5) ศูนย์พักพิงชั่วคราววัดสวนตาล ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน มีผู้เข้าพักแล้ว จำนวน 60 คน และ 6) ศูนย์พักพิงชั่วคราวเทศบาลเมืองน่าน มีผู้เข้าพักแล้ว จำนวน 20 คน
อย่างไรก็ตาม ทีม พม.จังหวัดน่าน ได้รับมอบหมายจากศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย น้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่มจังหวัดน่าน ด้านการจัดการศูนย์พักพิงชั่วคราว โดยได้ดำเนินการเปิดศูนย์พักพิงชั่วคราว จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1) ศูนย์บริการคนพิการทั่วไปตำบลเปือ อำเภอเชียงกลาง รองรับได้ 30 คน 2) บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดน่าน ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมืองน่าน รองรับได้ 30 คน และ3) ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดน่าน ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมืองน่าน รองรับได้ 40 คน และได้ลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจกลุ่มเปราะบางที่เข้าพักที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวในพื้นที่อำเภอเมืองน่าน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ 1) ศูนย์พักพิงชั่วคราววัดสวนตาล อำเภอเมืองน่าน และ 2) ศูนย์พักพิงชั่วคราวเทศบาลเมืองน่าน อำเภอเมืองน่าน
ส่วน ศบปภ. พม.จังหวัดเชียงราย รายงานว่ามีพื้นที่ประสบภัย จำนวน 8 อำเภอ 23 ตำบล 114 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบประมาณ 400 ครัวเรือน ยังไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ซึ่งศบปภ.พม.จังหวัดเชียงราย ได้จัดส่งข้อมูลกลุ่มเปราะบางในพื้นที่อำเภอเทิง และอำเภอขุนตาล ให้กับทหารหน่วยพัฒนาเคลื่อนที่ 35 (นพค.35) เพื่อเป็นข้อมูลในการช่วยเหลือและอพยพช่วยกลุ่มเปราะบาง พร้อมจัดข้อมูลกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ประสบภัยเพื่อประกอบการให้ความช่วยเหลือ , เข้าร่วมประชุมการติดตามสถานการณ์อุทกภัยและดินถล่มจังหวัดเชียงราย ในเวลา 08.00 น. ของทุกวัน , เข้าร่วมประชุมติดตามสถานการณ์อุทกภัยและดินถล่ม จากอิทธิพลพายุโซนร้อน "วิภา" กับกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ , แจ้งเตือนการเฝ้าระวังสถานการณ์และเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ ด้วยการเตรียมกระเป๋าฉุกเฉิน (Emergency Bag) , ชี้เป้ากลุ่มเปราะบาง หากเกิดสถานการณ์รุนแรงที่ต้องมีการอพยพ ผ่านอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) และเครือข่ายกระทรวง พม.ในพื้นที่ , เตรียมการจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว กระทรวง พม. จำนวน 6 แห่ง สามารถรองรับผู้ประสบภัย จำนวน 210 คน , เตรียมการจัดตั้งศูนย์พักพิงจังหวัด หากมีสถานการณ์รุนแรง , เตรียมบุคลากร ยานพาหนะ สนับสนุนการดูแลกลุ่มเปราะบางในศูนย์พักพิงชั่วคราว กระทรวง พม. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หรืออำเภอ และร่วมกับกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและดินถล่ม
สำหรับ ศบปภ. พม.จังหวัดแพร่ ถึงแม้ขณะนี้ ยังไม่มีพื้นที่ประสบภัย แต่ พม. จังหวัดแพร่ ได้จัดข้อมูลกลุ่มเปราะบางในแผนที่เสี่ยงภัย (Risk Map) ให้กับ อปท. เพื่อเป็นข้อมูลในการชี้เป้าพิกัดที่อยู่ของกลุ่มเปราะบาง ในสถานการณ์ที่ต้องอพยพ โดยมีเครือข่ายอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในพื้นที่ ช่วยเหลือ และเตรียมข้อมูลกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ประสบภัยเพื่อประกอบการให้ความช่วยเหลือ , แจ้งเตือนการเฝ้าระวังสถานการณ์และเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ ด้วยการเตรียมกระเป๋าฉุกเฉิน (Emergency Bag) , ประชุมสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดแพร่ เพื่อมอบหมายหน้าที่ ซักซ้อมการปฏิบัติ กรณีเกิดสถานการณ์รุนแรง , จัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว สังกัดกระทรวง พม. จำนวน 2 แห่ง คือ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดแพร่ และศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดแพร่ สามารรองรับผู้ประสบภัยได้ จำนวน 60 คน , เตรียมจัดตั้งศูนย์พักพิงจังหวัด ณ โรงยิม 1,000 ที่นั่ง อบจ.แพร่ หากมีสถานการณ์รุนแรง และเตรียมบุคลากร ยานพาหนะ สนับสนุนการดูแลกลุ่มเปราะบางในศูนย์พักพิงชั่วคราว
อย่างไรก็ตาม หากพี่น้องประชาชนประสบปัญหาความเดือดร้อนจากผลกระทบของพายุ“วิภา” กระทรวง พม. พร้อมให้ความช่วยเหลือ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังประสบภัย โดยสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ สายด่วน พม. โทร. 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง