โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

MOODY: ทำไมคนเรา ‘อยากรู้อยากเห็นเรื่องชาวบ้าน’ จริงไหมที่การใส่ใจเรื่องราวคนอื่น ทำให้ชีวิตเรามีสีสันมากขึ้น

BrandThink

เผยแพร่ 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ลองสังเกตเล่นๆ ดูว่า ในแต่ละวันเราใช้เวลาในการส่องชีวิตคนอื่นไปเท่าไหร่บ้าง?

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพื่อนร่วมงานที่แต่งตัวแปลกไปจากปกติ คนข้างบ้านที่ดูเหมือนทะเลาะกับแฟน หรือกระทั่งข่าวดาราคนไหนที่เลิกกับใคร

คำถามคือ พฤติกรรมเหล่านี้สะท้อนอะไรเกี่ยวกับจิตใจมนุษย์ และจริงไหมที่ว่า ความอยากรู้อยากเห็นเรื่องของคนอื่น ทำให้ชีวิตเรามีสีสันมากขึ้น

MOODY ว่าหลายคนคงตอบพร้อมกันว่า จริง! แล้วในทางจิตวิทยาอธิบายเรื่องนี้ไว้ยังไงบ้าง?

ก่อนอื่นเลยคงต้องบอกว่า คำตอบอาจไม่ได้มีแค่ขาวหรือดำ เพราะนักจิตวิทยาและนักประสาทวิทยาได้ศึกษาประเด็นนี้ไว้อย่างน่าสนใจ และพบว่าความอยากรู้อยากเห็นไม่ใช่พฤติกรรมไร้สาระ แต่เป็นกลไกสำคัญของการเรียนรู้ การอยู่รอด และการเชื่อมโยงทางสังคม

นักจิตวิทยาวิวัฒนาการ ‘โรบิน ดันบาร์’ (Robin Dunbar) เคยตั้งข้อเสนอว่า ภาษาในมนุษย์อาจวิวัฒน์ขึ้นมาเพื่อการ ‘ใส่ใจคนอื่น’ โดยเฉพาะ โดยเขาเปรียบเทียบว่าการนั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนข่าวสารในกลุ่มเปรียบเหมือนการ ‘เกาหลังให้กัน’ คือ การเก็บหมัดและสิ่งสกปรกออกจากขนของสมาชิกในฝูงของลิงหรือชิมแปนซี

พฤติกรรมนี้เรียกว่า ‘การกรูมมิ่งทางสังคม’ (Social grooming) ซึ่งในความหมายตรงตัวก็คือความสัมพันธ์แบบ ‘ฉันเกาให้เธอ เธอเกาให้ฉัน’ แม้ว่าการกรูมมิ่งจะมีประโยชน์ในด้านสุขอนามัย เช่น ทำความสะอาดขนและผิวจากแมลงและสิ่งสกปรก แต่มันก็ยังเป็นการสร้างมิตรภาพไปในตัว

มนุษย์เองก็มีพฤติกรรมการกรูมมิ่งทางสังคม เช่น การทำผมให้กัน การจัดเสื้อผ้าให้กัน แต่ตามที่ดันบาร์กล่าว เราได้ค้นพบวิธีที่ง่ายกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าสำหรับการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ นั่นคือ ‘การพูดคุยเรื่องไร้สาระ’ กล่าวอีกนัยหนึ่ง สำหรับมนุษย์ การนินทาทำหน้าที่เดียวกันกับการกรูมมิ่งร่วมกันของชิมแปนซี ในการสร้างเครือข่ายทางสังคม

แม้แต่ในด้านภาษา ยังบีบบังคับให้ทุก ‘ประโยค’ ต้องมี ‘ประธาน’ ซึ่งก็คือใครหรืออะไร ทุกประโยคยังมี ‘กริยา’ ว่าประธานนั้นทำอะไร หรือกำลังจะทำ หรือกำลังทำอยู่ตอนนี้ และในประโยคส่วนใหญ่ก็จะมี ‘กรรม’ ด้วย ซึ่งถือเป็นโครงสร้างของการนินทานั่นเอง

นอกจากนี้ นักประสาทวิทยายังค้นพบว่า เมื่อเรารู้สึกอยากรู้อยากเห็น สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ‘รางวัล’ อย่างระบบโดปามีน (Dopaminergic system) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความสุขจากการกิน การมีเซ็กซ์ หรือสิ่งที่เราพึงพอใจต่างๆ

ไม่เพียงเท่านั้น สมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจดจำข้อมูล ก็จะทำงานมากขึ้นเมื่อเราอยู่ในสภาวะที่อยากรู้อยากเห็น ทำให้เราจดจำสิ่งที่เรียนรู้ในช่วงนั้นได้ดีกว่าเดิม กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความอยากรู้เรื่องของคนอื่นอาจช่วยให้สมองเราทำงานดีขึ้นโดยไม่รู้ตัว

นักจิตวิทยาได้แบ่งความอยากรู้อยากเห็นออกเป็นหลายประเภท เช่น ความอยากรู้เชิงรับรู้ (Perceptual curiosity) ที่ทำให้เราอยากตรวจสอบเสียงแปลกๆ หรือสิ่งแวดล้อมใหม่ ความอยากรู้เชิงความรู้ (Epistemic curiosity) ที่ผลักดันให้เราเรียนและหาคำตอบในสิ่งที่ไม่เข้าใจ หรือความอยากรู้เชิงสังคม (Social curiosity) ที่ทำให้เราอยากรู้ว่าคนอื่นคิดอะไร รู้สึกอย่างไร รวมถึงความอยากรู้ที่เกิดขึ้นเพราะเราต้องการหลีกหนีความน่าเบื่อ

ที่น่าสนใจคือ ความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ไม่ได้จำกัดแค่สิ่งดีๆ เท่านั้น แต่รวมถึงเรื่องที่ไม่น่าพึงพอใจหรืออันตรายด้วย งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า เรามักจะอยากรู้ ‘เรื่องไม่ดี’ ไม่แพ้กัน เช่น ข่าวอุบัติเหตุ ความลับฉาว หรือความล้มเหลวของคนอื่น ความอยากรู้ในด้านมืดนี้ (Morbid curiosity) เชื่อกันว่าอาจเป็นผลจากวิวัฒนาการที่ทำให้เรารู้ทันอันตราย เรียนรู้จากความผิดพลาด และเอาตัวรอดในโลกที่ไม่ปลอดภัยเสมอไป

แต่มากกว่านั้นคือ ความอยากรู้อยากเห็นยังมีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตอย่างลึกซึ้ง มีงานวิจัยพบว่า ผู้ที่มีระดับความอยากรู้อยากเห็นสูงมักมีความยืดหยุ่นทางจิตใจ (Psychological resilience) ดีกว่า มีระดับความวิตกกังวลน้อยกว่า และรับมือกับความเครียดได้ดี พวกเขาไม่ค่อยตกอยู่ในกับดักของการคิดวนซ้ำ หรือการกลัวสิ่งที่ยังไม่เกิด แต่กลับเปิดรับความท้าทายด้วยความสงสัยใคร่รู้ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการเปลี่ยนความเครียดให้กลายเป็นโอกาสเรียนรู้

นอกจากนี้ ยังพบว่าความอยากรู้อยากเห็นอาจมีผลในการป้องกันการเสื่อมถอยของสมอง งานวิจัยด้านประสาทพลาสติกซิตี้ (Neuroplasticity) ชี้ว่า การเปิดรับสิ่งใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ทักษะใหม่ การตั้งคำถาม หรือการทดลองประสบการณ์ที่ไม่คุ้นเคย สามารถช่วยให้สมองของเราคงความยืดหยุ่นและตอบสนองได้ดีแม้อายุมากขึ้น

ในที่สุดแล้ว คำถามที่ว่า “ทำไมคนเราถึงอยากรู้เรื่องของคนอื่น” อาจไม่ควรถูกตัดสินเพียงแค่มุมศีลธรรม แต่อาจต้องเข้าใจผ่านเลนส์ของจิตวิทยาและวิวัฒนาการ เพราะความอยากรู้อยากเห็น แม้จะเป็นเรื่องของคนอื่น อาจไม่ใช่เรื่องไร้สาระแต่อย่างใด หากแต่เป็นกลไกสำคัญในการเอาตัวรอด เชื่อมโยงความสัมพันธ์ และเติบโตทางปัญญาได้หากอยากรู้อยากเห็นอย่างมีสติ และไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน

ดังนั้น ความอยากรู้อยากเห็นเรื่องของชาวบ้านอาจไม่ใช่เพียงความบันเทิงชั่วครู่ แต่เป็นประตูสู่การเข้าใจตนเองและโลกในแบบที่เราคาดไม่ถึงก็เป็นได้

อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งที่เกิดอยากรู้อยากเห็นเรื่องชาวบ้านขึ้นมา ลองกระซิบถามตัวเองดูว่า “เราอยากรู้เพื่อเรียนรู้ เพื่อเข้าใจ หรือเพื่ออะไรกันแน่”

เพราะคำถามสั้นๆ นี้ อาจช่วยให้ความอยากรู้ของเรา ไม่ได้ทำร้ายใคร รวมถึงตัวเราเองด้วยนะ

แล้วถ้าอยากส่องเรื่องคนอื่นแบบน่ารักๆ แบบ MOODY ในภาพประกอบล่ะก็ ไปโหลด Line Sticker ‘MOODY รักงานที่สุดในโลก’ กัน!

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก BrandThink

MIND: ผลสำรวจเผย คู่รักที่ความสัมพันธ์ยั่งยืน มักเป็นเพื่อนกันมาก่อน มากกว่าคู่ที่เริ่มต้นจากคนแปลกหน้า

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

SOCIETY: รู้หรือไม่? ข้าราชการไทยเคยเริ่มงาน 11 โมง และเกษียณอายุที่ 55 ปี

8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

CEA ผนึกความร่วมมือ สยามพิวรรธน์ ดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์และวัฒนธรรมไทยสู่เวทีโลก

สยามรัฐ

MGI เปิดจักรวาล “HELLO UNIVERSE” 77 สาวงาม พบกันครั้งแรก

สยามรัฐ

ชุดไทย จ่อขึ้นทะเบียนยูเนสโก กัมพูชา ส่งประเพณีแต่งงานสู้ แต่สอดไส้ใส่ชุดไทย

คมชัดลึกออนไลน์
วิดีโอ

#ยารักษามะเร็ง ตำรับแรกในไทย สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ประสบผลสำเร็จในการผลิตยา ชนิดมุ่งเป้า #อิมครานิบ100

BRIGHTTV.CO.TH

7 THINGS WE LOVE ABOUT RICK OWENS ดีไซเนอร์ระดับไอคอนและเจ้าพ่อสายดาร์ก

THE STANDARD

รศ.ดร.ทวิดา เปิดแผน กทม. ใช้เครื่องมืออะไร? รับมือน้ำท่วม-ฝุ่น-แผ่นดินไหว

กรุงเทพธุรกิจ

BLACKPINK เล่นซิงเกิลใหม่ “JUMP” บนเวทีคอนเสิร์ต World Tour ที่โกยางเป็นครั้งแรก

LSA Thailand

วิธีแต่งหน้าผิด ๆ ทริคเมคอัพอย่าหาทำ ถ้าไม่เลิกหน้าดูแก่ไม่รู้ตัว !

SistaCafe

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...