โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที

รู้ก่อนพายุมา! เครื่องมือช่วยติดตามพายุจากทั่วโลก

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา
รวมลิงก์เครื่องมือติดตามพายุแบบเรียลไทม์ที่ทั้งนักพยากรณ์และประชาชนควรรู้

ตามรายงานของสำนักข่าวอัลจาเซียร่า (Al Jazeera) เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2025 ที่ผ่านมา พายุโซนร้อนกำลังแรง “วิภา” (Wipha) ได้เคลื่อนตัวเข้าถล่มพื้นที่ทางตอนใต้ของจีน รวมถึงฮ่องกง ส่งผลให้มีการยกเลิกเที่ยวบินจำนวนมาก และประชาชนในพื้นที่เสี่ยงต้องเผชิญกับลมกระโชกแรงและฝนตกหนัก ในยุคที่ภัยพิบัติจากสภาพอากาศมีแนวโน้มถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้นทำให้เราได้ตระหนักถึงการเตรียมตัวรับมือ เทคโนโลยีการติดตามพายุได้กลายเป็นอาวุธสำคัญในการรับมือและลดผลกระทบ ซึ่งมีหลายแพลตฟอร์มที่ประชาชนทั่วไปสามารถใช้เข้าถึงข้อมูลพายุแบบเรียลไทม์ได้ทันที

ปัจจุบันมีเครื่องมือดิจิทัลจำนวนมากที่ช่วยให้สามารถติดตามพายุได้แบบเรียลไทม์ผ่านภาพดาวเทียม ข้อมูลเรดาร์ และแบบจำลองพยากรณ์ล่วงหน้า เพื่อรับมือกับวาตภัยที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ TNN Tech ได้รวบรวม 6 เว็บไซต์ติดตามพายุที่น่าสนใจมานำเสนอ

1. Windy.com

แพลตฟอร์มแผนที่เชิงโต้ตอบ (Interactive map) ที่รวมชั้นข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยาหลายรูปแบบ เช่น ความเร็วลม ทิศทางลม ความกดอากาศ ปริมาณฝน และอุณหภูมิ สามารถปรับมุมมองเพื่อดูการเคลื่อนที่ของพายุในเวลาเกือบเรียลไทม์ เหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไป นักเดินทาง และนักพยากรณ์อากาศ


2. NOAA Hurricane Tracker

ระบบติดตามพายุจากองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐฯ (NOAA) ที่เผยแพร่ภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูง รวมถึงข้อมูลพายุหมุนเขตร้อนทั่วโลก เหมาะสำหรับนักวิจัย หน่วยงานเตือนภัย และสื่อมวลชนที่ต้องการข้อมูลเชิงลึกที่น่าเชื่อถือ


3. Cyclocane.com

เว็บไซต์ที่รวบรวมรายชื่อพายุหมุนเขตร้อนทั่วโลกในปัจจุบัน พร้อมแผนที่เส้นทางพายุโดยใช้แบบจำลองหลากหลาย รวมถึงข้อมูลย้อนหลังของพายุที่เกิดขึ้นแล้ว เหมาะสำหรับการติดตามสถานการณ์พายุแบบภาพรวม


4. กรมอุตุนิยมวิทยาไทย (ภาพดาวเทียม)

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งให้บริการภาพถ่ายดาวเทียมจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบบเรียลไทม์ ผู้ใช้สามารถดูการก่อตัวของกลุ่มเมฆ ความเข้มข้น และเส้นทางพายุที่เข้าใกล้ประเทศไทยได้อย่างชัดเจน

ลิงก์ http://www.sattmet.tmd.go.th/satmet/mergesat.html

5. Google Maps (มุมมองดาวเทียมบริเวณอินโดจีน)

แพลตฟอร์ม Google Maps แม้จะไม่ใช่แพลตฟอร์มเฉพาะด้านพายุโดยตรง แต่มุมมองดาวเทียมจาก Google Maps มีประโยชน์ในการประเมินสภาพภูมิประเทศ เช่น ความสูงของพื้นที่ ความเสี่ยงจากน้ำหลาก รวมถึงตำแหน่งเมืองหรือหมู่บ้านที่อาจได้รับผลกระทบเมื่อพายุเคลื่อนตัวเข้ามา


6. Zoom Earth ติดตามพายุแบบเรียลไทม์

เครื่องมือแผนที่แบบเรียลไทม์ที่แสดงภาพถ่ายดาวเทียมและเรดาร์พายุแบบต่อเนื่อง มีฟีเจอร์การติดตามพายุเฉพาะตัว เช่น แสดงเส้นทางการเคลื่อนที่ ความเร็วลม และตำแหน่งล่าสุดของพายุ เหมาะสำหรับการติดตามพายุ “วิภา” โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เคลื่อนเข้าสู่จีนและฮ่องกง


ทำไมเทคโนโลยีเหล่านี้สำคัญ?

ข้อมูลจากแหล่งเหล่านี้ อาจช่วยให้ประชาชน นักวิจัย และหน่วยงานด้านภัยพิบัติสามารถประเมินเส้นทางและความรุนแรงของพายุได้ล่วงหน้า สามารถเตรียมรับมือกับเหตุการณ์น้ำท่วม หยุดงาน หรืออพยพได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเก็บข้อมูลย้อนหลังเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มในอนาคต

พายุ “วิภา” เป็นสัญญาณของอะไร?

จากข้อมูลที่รวบรวมได้จากเว็บไซต์ข้างต้น และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากพายุวิภาทำให้เรามองเห็นภาพว่าพายุวิภาอาจเป็นหนึ่งเหตุการณ์ที่ตอกย้ำว่า พายุวิภานับเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ตอกย้ำว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพายุในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พายุมาเร็วกว่าปกติ หรือรุนแรงแม้ในฤดูกาลที่ไม่ใช่จุดสูงสุด การเข้าถึงข้อมูลผ่านเทคโนโลยีจึงไม่ใช่แค่เรื่องของนักพยากรณ์อากาศอีกต่อไป แต่คือเครื่องมือเอาตัวรอดในยุคที่ ธรรมชาติไม่ธรรมดาอีกต่อไป และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ที่มาของภาพwww.windy.com

ปัจจุบัน วันที่ 22 กรกฏาคม 2025 สถานการณ์พายุวิภาในไทย ตามการรายงานของเว็บไซต์ www.windy.com ระบุว่า พบว่าประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดเข้ามาด้วยความเร็วประมาณ 21 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยลมลักษณะนี้นำความชื้นจากทะเลเข้าสู่แผ่นดิน ส่งผลให้เกิดฝนตกในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะภาคตะวันตกและภาคใต้ ขณะเดียวกันบริเวณตอนบนของเวียดนามและลาวตอนกลางมีศูนย์กลางพายุกำลังแรงก่อตัวขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งอาจเป็นดีเปรสชันหรือพายุโซนร้อนที่กำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่ฝั่ง การที่พายุเคลื่อนเข้าพื้นที่ภูเขาอาจทำให้พายุอ่อนกำลังลง แต่ยังคงส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศของไทย โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคเหนือ ที่อาจเผชิญกับฝนตกหนักและลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ในช่วง 1-2 วันนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TNN ช่อง16

เปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์วอลเล็ต สบม. ผ่าน “เป๋าตัง” ลงทุนเริ่มต้นเพียง 100 บาท

17 นาทีที่แล้ว

เกาหลีเหนือประกาศสร้างเรือพิฆาตใหม่อีกลำ คาดเสร็จตุลาคมปีหน้า

40 นาทีที่แล้ว

“โอปอล-สุชาตา” สุดปลื้มได้ลุยภารกิจรอบโลก ขอบคุณ “แทนซาเนีย” ต้อนรับสุดยิ่งใหญ่เตรียมเผยเซอร์ไพรส์เร็วๆนี้

47 นาทีที่แล้ว

“พายุวิภา” เตือน 23 กรกฎาคม 2568 จังหวัดไหนบ้างฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่

51 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอทีอื่น ๆ

รถ EV แบตเตอรี่ Solid-state จะได้เกิดไหม หรือสุดท้ายจะได้แค่ฝัน ?

TNN ช่อง16

หลุดรหัส iOS 26 Bata 4 ก่อนเวอร์ชั่นทดลองและแพลตฟอร์มอื่นๆ

sanook.com

โครงการสตอร์มฟิวรี (Project STORMFURY) ตำนานผู้กล้าท้าทายพลังพายุเฮอริเคน

TNN ช่อง16

รีวิว HUAWEI Pura 80 Pro ท้าชนทุกแสงด้วยเซ็นเซอร์ 1 นิ้ว ซูม 100 เท่า

Siamphone

รีวิว HUAWEI Pura 80 Pro มือถือกล้องเทพโดดเด่นจนเรียกว่า น่าน่าใช้ไปเลย

sanook.com

รวม Notebook สายทำงานและเรียนราคาคุ้มไม่เกิน 15,000 บาท ปี 2025

sanook.com

เฉลยแล้ว LDAC บนมือถือบอกอะไร เบื้องหลังเสียงดีเพราะเครื่องหมายนี้!

sanook.com

“การ์ทเนอร์” ชี้เทคโนโลยี “Earth Intelligence” มีผลต่อทุกอุตสาหกรรม

เดลินิวส์

ข่าวและบทความยอดนิยม

อัปเดตล่าสุดเส้นทาง “พายุวิภา” เคลื่อนลงอ่าวตังเกี๋ย คาดเคลื่อนขึ้นฝั่งเวียดนาม 22 ก.ค. 68

TNN ช่อง16

พายุวิภา-น้ำโขงหนุน หนองคายเฝ้าระวัง ภาคกลางเตรียมรับมวลน้ำ

TNN ช่อง16

อิทธิพลจาก “พายุวิภา” เปิดรายชื่อจังหวัด 22 กรกฎาคม 2568 ฝนตกหนักถึงหนักมาก

TNN ช่อง16
ดูเพิ่ม
Loading...