โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

“แม่ฟ้าหลวง” พระสมัญญาในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่มาจากประชาชน

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (ภาพจาก : มติชน)

แม่ฟ้าหลวง พระสมัญญาในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่มาจากประชาชน

“แม่ฟ้าหลวง”เป็นคำที่ได้ยินบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงราย ที่ปรากฏชื่อนี้ในสถานที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น อำเภอแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง หรือ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย

คำว่า “แม่ฟ้าหลวง” นี้สำคัญยิ่ง เพราะเป็นคำที่ชาวไทยภูเขากลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ (ประกอบด้วย อีก้อ มูเซอ เย้า กะเหรี่ยง ลีซอ ม้ง) เรียก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ“สมเด็จย่า” ด้วยความเคารพและเทิดทูนยิ่ง และถวายเป็นพระสมัญญาในพระองค์

แม่ฟ้าหลวง พระสมัญญาจากใจชาวไทยภูเขา

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงอุทิศพระองค์ในการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดารหรือห่างจากตัวเมืองเป็นประจำ ทั้งยังทรงมีพระราชกรณียกิจช่วยเหลือประชาชนชาวไทยมากมาย

อย่างในจังหวัดเชียงราย นอกจากพระองค์จะเสด็จฯ เยี่ยมชาวไทยภูเขาแล้ว ยังทรงริเริ่มโครงการต่างๆ มากมาย อาทิ “โครงการสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี” ไว้ให้ชาวเชียงรายหรือบุคคลอื่น ๆ แวะเวียนมาพักผ่อนหย่อนใจ หรือ “โครงการแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) จังหวัดเชียงราย”ที่มีขึ้นเพื่อดูแลรักษาสุขภาพของผู้คนที่ห่างไกลเมือง

น้ำพระทัยของสมเด็จย่ามีมากล้น ดังในหนังสือ “สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี”ที่บรรยายไว้ว่า“ทรงเป็นพระบรมราชชนนีพระองค์เดียวในโลกนี้เท่านั้นที่มีความห่วงใยในความเป็นอยู่ของพสกนิกรที่อาศัยอยู่ตามชนบท และได้เอาพระทัยใส่ทุ่มเทพระปรีชาสามารถ พระราชทานความช่วยเหลืออย่างถึงที่สุด”

พระองค์มิทรงเห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยใดๆ ทรงทุ่มเทพระองค์เพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ ชาวไทยภูเขากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ จึงถวายพระสมัญญาแด่พระองค์ว่า “แม่ฟ้าหลวง”มีความหมายว่า “แม่ที่สวรรค์เบื้องบนประทานมาให้”เปรียบเสมือนตอนที่พระองค์เสด็จฯ มาเยี่ยมเยียนประชาชน

ดอร่า ฮ. เลย์ตัน ชาวต่างชาติผู้เคยเห็นสมเด็จย่าเสด็จฯ เยี่ยมเยียนพสกนิกร พูดถึงเรื่องนี้ว่า

…เมื่อใดที่แม่ฟ้าหลวงเสด็จเยี่ยม เมื่อนั้นประชาชนชาวป่าดอยย่อมแน่ใจว่าสิ่งดีกำลังจะเกิดแก่เขาแล้ว ข้าราชการเจ้าหน้าที่จะเมตตาเขา และเข้าใจเขาดีขึ้น คนแก่จะได้รับพระราชทานผ้าห่มช่วยให้อบอุ่น เด็กๆ จะได้มีโรงเรียน หนังสือ และข้าวของ ตลอดจนเครื่องแบบนักเรียน บางทีอาจได้โรงเรียนสักหลังหนึ่งในที่ที่ไม่เคยมีโรงเรียนมาก่อนเลย

ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ซึ่งแม่ฟ้าหลวงนำมาพระราชทานก็คือ ความรัก ความเข้าใจ ความสนพระราชหฤทัยต่อประชาชนบ้านป่าเมืองดอยที่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว ถูกตัดขาดจากกระแสธารแห่งวัฒนธรรมและชีวิตแบบไทย

ยามที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จลงจากฟากฟ้า ฉลองพระองค์และพระภูษาก็ยับเปื้อน เพราะเสด็จมาไกลนัก เมื่อย่างพระบาทออกจากเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง ก้าวลงสู่พื้นดินของหมู่บ้านไกลโพ้น ซึ่งมีแต่โคลนตมหรือไม่ก็ฝุ่นธุลีนั้น สมเด็จฯ ได้ทรงพาประเทศไทยมาสู่หมู่บ้านทุรกันดาร และชาวบ้านป่าก็ได้สำนึกว่าตนนั้นเป็นประชาชนของแผ่นดินไทย”

“แม่ฟ้าหลวง” จึงมีความหมายยิ่งใหญ่และลึกซึ้ง เป็นพระสมัญญาที่เปี่ยมไปด้วยเรื่องราวและความรู้สึกของชาวไทยที่มีต่อสมเด็จย่า

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี. [ม.ป.ท.]:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2539. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2568. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:179170.

กรมศิลปากร. หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเชียงราย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 2544.

https://www.facebook.com/sdadmfu/posts/english-belowพิธีทานหาแม่ฟ้าหลวงในวัฒนธรรมล้านนา-คำว่า-ทานหา-หมายถึง-การอุทิศเคร/1266072815310726/

https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/create-web/10000/history/10000-3137.html

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 18 กรกฎาคม 2568

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : “แม่ฟ้าหลวง” พระสมัญญาในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่มาจากประชาชน

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ศิลปวัฒนธรรม

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรเคยประดิษฐานที่วัด 3 แห่งในกรุงเทพฯ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

19 กรกฎาคม 2409 : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวช

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

ชุดน้ำชายามบ่ายสุดพิเศษ ‘Atelier Tea Reverie’

Manager Online

“อเมริกา” จ่อขึ้นค่าธรรมเนียมวีซ่า คนไทยอาจต้องจ่ายกว่า 14,000 บาท

Manager Online

เปิดจองตั๋วพรุ่งนี้ 19 ก.ค. รถไฟท่องเที่ยว KIHA - Royal Blossom ทุกเส้นทาง

ฐานเศรษฐกิจ

‘ส่ง Reels ก็เหมือนกับสวัสดีวันจันทร์’ การมี Reels-Friend เพื่อรักษาความสัมพันธ์ของชาวเจน Y

The MATTER

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรเคยประดิษฐานที่วัด 3 แห่งในกรุงเทพฯ

ศิลปวัฒนธรรม

19 กรกฎาคม 2409 : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวช

ศิลปวัฒนธรรม

“อุทยานแห่งชาติกุยบุรี” สุดยอดการท่องเที่ยวแนวซาฟารีของเมืองไทย

Manager Online

MCPURA ซูเปอร์สปอร์ต มาทั้งคูเป้ และเปิดประทุน

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

“พระชั้นสมเด็จ” สมัยรัชกาลที่ 2 ทำอะไร จึงพลาดตำแหน่ง “สมเด็จพระสังฆราช”

ศิลปวัฒนธรรม

“แม่ฟ้าหลวง” พระสมัญญาในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่มาจากประชาชน

ศิลปวัฒนธรรม

“สุนทรภู่” กวีมีชื่อยุคต้นรัตนโกสินทร์ มีภรรยา-ลูก กี่คน?

ศิลปวัฒนธรรม
ดูเพิ่ม
Loading...