สว. ลงพื้นที่ 'แพรกหนามแดง' รับฟังทุกข์ชาวบ้าน 3 จังหวัด จี้รัฐแก้ปัญหา 'ปลาหมอคางดำ' ซ้ำเติม หวังข้อมูลหนุนฟ้องเอกชนนำเข้า
สมุทรสงคราม – คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ วุฒิสภา รับฟังเสียงสะท้อนและความเดือดร้อนของชาวบ้านจาก 3 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ "ปลาหมอคางดำ" ซ้ำเติม หวังข้อมูลหนุนฟ้องเอกชนนำเข้า
วันนี้ ( 17 ก.ค.) คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ วุฒิสภา นำโดย นางอังคณา นีละไพจิตร, นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี และนายเทวฤทธิ์ มณีฉาย ลงพื้นที่ ต.แพรกหนามแดง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม รับฟังเสียงสะท้อนและความเดือดร้อนของชาวบ้านจาก 3 จังหวัด (สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, เพชรบุรี) ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ "ปลาหมอคางดำ" ตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบัน โดยมีอดีต สว.บุญยืน ศิริธรรม, นายปัญญา โตกทอง จากประชาคมคนรักแม่กลอง และเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำกว่า 50 รายเข้าร่วมให้ข้อมูล
ตัวแทนชาวบ้านระบุว่า การแก้ไขปัญหาของภาครัฐที่ผ่านมาเป็นลักษณะ "Event" ไม่ต่อเนื่อง ขาดการสอบถามความต้องการที่แท้จริงของผู้เดือดร้อน ทำให้การแก้ปัญหาไม่ตรงจุด เช่น ช่วงระบาดหนัก ควรเร่งกำจัดในแหล่งน้ำสาธารณะก่อนปล่อยปลานักล่า เพื่อป้องกันปลากะพงถูกปลาหมอคางดำกินเสียเอง นอกจากนี้ โครงการรับซื้อปลาหมอคางดำ กก.ละ 20 บาท ก็ดำเนินการได้ไม่เต็มที่ งบประมาณหมดก่อนกำหนด และเกษตรกรได้รับเงินจริงเพียง กก.ละ 15 บาทเท่านั้น ปัจจุบันชาวบ้านต้องขายปลาหมอคางดำในราคาเพียง กก.ละ 5 บาท
น.ส.บุญยืน ศิริธรรม อดีต สว.สมุทรสงคราม กล่าวว่า การรวมตัวของชาวบ้านในวันนี้ไม่ได้ต้องการเงินช่วยเหลือจากรัฐ แต่ต้องการรายงานของคณะกรรมาธิการฯ ไปประกอบการฟ้องร้องดำเนินคดีกับบริษัทผู้นำเข้า เนื่องจากที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาของภาครัฐเน้นข้อมูลตัวเลข ไม่ได้ลงพื้นที่จริง ทำให้การตั้งงบประมาณไม่สอดคล้องกับปัญหาที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การฟ้องร้องบริษัทนำเข้าเพียงรายเดียวนี้ ไม่ได้ต้องการเงิน แต่ต้องการให้ศาลตัดสินความรับผิดชอบ เพราะจนถึงขณะนี้ยังไม่มีหน่วยงานใดสามารถเอาผิดบริษัทดังกล่าวได้ หวังว่า "จะไม่มีนายทุนเอาเปรียบเกษตรกรหรือชาวบ้านตาดำๆ ได้ ถ้านโยบายรัฐไม่เอื้อ"
ด้านนายปัญญา โตกทอง จากประชาคมคนรักแม่กลอง กล่าวว่า เกษตรกรได้แจ้งปัญหานี้ตั้งแต่เริ่มระบาด แต่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ปล่อยให้ปัญหาลุกลาม ทุกวันนี้ชาวบ้านทำได้เพียงกำจัดในบ่อเลี้ยงของตนเอง แต่ในคลองสาธารณะยังคงมีปลาหมอคางดำจำนวนมากและขยายพันธุ์ต่อเนื่อง จึงอยากให้หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบลงมาดูแลและกำจัดอย่างจริงจัง
นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี สว. กล่าวว่า คณะกรรมาธิการฯ ไม่ได้นิ่งนอนใจ และได้สอบถามกรมประมงถึงงบประมาณแก้ไขปัญหาและเยียวยา แต่ยังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน แม้จะมีงบประมาณกำจัด แต่ส่วนหนึ่งเป็นงบประชาสัมพันธ์ ไม่มีการระบุถึงการเยียวยาความเดือดร้อนของเกษตรกร ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ จะติดตามและผลักดันเรื่องนี้ต่อไป
นางอังคณา นีละไพจิตร สว. ตั้งข้อสังเกตถึงงบประมาณปี 2569 ที่กรมประมงจะใช้แก้ปัญหาปลาหมอคางดำ 450 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการควบคุมและกำจัด 100 ล้านบาท, ปล่อยปลานักล่า 50 ล้านบาท, ประชาสัมพันธ์ 100 ล้านบาท, วิจัย 100 ล้านบาท และป้องกันการกลับมาระบาด 100 ล้านบาท ซึ่งยังเป็นที่น่าสงสัยว่าเพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาใน 20 กว่าจังหวัดที่ได้รับผลกระทบหรือไม่ ซึ่งจะเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายต่อไป
นางอังคณา ย้ำว่า รัฐบาลยังไม่สามารถเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบได้ แม้เกษตรกรจะร้องขอให้ประกาศภัยพิบัติ คณะกรรมาธิการฯ จึงต้องลงพื้นที่เก็บข้อเท็จจริง แม้ว่าเรื่อง
website : mgronline.com
facebook : MGRonlineLive
twitter : @MGROnlineLive
instagram : mgronline
line : MGROnline
youtube : MGR Online VDO