หมอยังยกนิ้วให้! ผักชนิดนี้เป็น "ผักเสริมพลังชาย" คนไทยรู้จักดี ราคาถูก มีทุกตลาด
แพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ ยกนิ้วให้! ผัก 1 ชนิดเป็น “ผักเสริมพลังชาย” เผยสรรพคุณเพียบ ดีต่อสุขภาพจริงไม่จกตา
หมอระบบทางเดินปัสสาวะ ดร.หลี่ จิ่นเหิง ชาวไต้หวัน ออกมาแชร์เมนูเบเกิลยอดฮิตจากเกาหลี “เบเกิลชีสกุยช่ายหัวหอม” พร้อมแนะให้ประชาชนรู้ว่า “กุยช่าย” ไม่ได้เป็นแค่ผักกลิ่นแรงเท่านั้น แต่ยังถูกขนานนามว่าเป็น “ผักบำรุงพลังชาย” หรือ “สมุนไพรปลุกพลัง” อีกด้วย
กุยช่ายอุดมไปด้วยสารอาหารและสารพฤกษเคมีหลายชนิด มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ช่วยย่อยอาหาร ปกป้องหลอดเลือดหัวใจ และมีงานวิจัยสนับสนุนว่าดีต่อสุขภาพทางเพศของผู้ชายด้วย
แม้จะมีประโยชน์มาก แต่การบริโภคก็ต้องคำนึงถึงสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล และหลีกเลี่ยงในผู้ที่มีข้อห้ามเฉพาะบางกลุ่ม
ดร.หลี่ จิ่นเหิง อธิบายว่า กุยช่ายอุดมไปด้วยสารประกอบกำมะถัน เช่น อัลลิซิน และ DATS ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ และอาจมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง
นอกจากนี้ กุยช่ายยังมีวิตามินซี วิตามินเค โฟเลต ธาตุเหล็ก สังกะสี โพแทสเซียม รวมถึงใยอาหารและสารฟลาโวนอยด์อย่างเควอซิทิน ซึ่งล้วนส่งเสริมสุขภาพลำไส้ ช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล และเสริมระบบภูมิคุ้มกัน
เรียกได้ว่าเป็นผักสีเขียวที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการอย่างแท้จริง
ดร.หลี่ จิ่นเหิง กล่าวเพิ่มเติมว่า จากงานวิจัยพบว่า สารสกัดจากกุยช่ายมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและเสริมภูมิคุ้มกันได้อย่างดี นอกจากนี้ ยังมีงานวิชาการที่ระบุว่า การบริโภคกุยช่ายร่วมกับผักในกลุ่มหัวหอมและกระเทียม อาจช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
สารซาโปนินและฟลาโวนอยด์ในกุยช่ายยังช่วยในการเผาผลาญคอเลสเตอรอล กระตุ้นการขับถ่าย และป้องกันความเสียหายจากอนุมูลอิสระ จึงเป็นผักที่ดีต่อสุขภาพทั้งผู้หญิงและผู้ชาย และควรเป็นหนึ่งในผักที่รับประทานเป็นประจำในชีวิตประจำวัน
ดร.หลี่ จิ่นเหิง ระบุว่า จากผลการทดลองในสัตว์พบว่า สารสำคัญในกุยช่ายช่วยเพิ่มความแข็งแรงของอสุจิ และกระตุ้นระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ซึ่งอาจส่งผลดีต่อสมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย
นอกจากนี้ สารฟลาโวนอยด์และสารประกอบกำมะถันในกุยช่ายยังช่วยขยายหลอดเลือดและกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ซึ่งมีงานวิจัยบางชิ้นสนับสนุนว่าช่วยบรรเทาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้ จึงไม่แปลกที่กุยช่ายจะถูกขนานนามว่าเป็น “ผักบำรุงพลังชาย” ในภูมิปัญญาชาวบ้าน
istockphoto
แม้กุยช่ายจะอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ แต่ ดร.หลี่ จิ่นเหิง เตือนว่า กลุ่มต่อไปนี้ควรระมัดระวังในการบริโภค ได้แก่
- ผู้ที่มีระบบย่อยอาหารอ่อนแอ
- ผู้ที่ท้องอืดหรือท้องเสียง่าย
- ผู้ป่วยโรคตับอักเสบหรือมีปัญหาการทำงานของตับ
- ผู้ที่มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ หรือมีอาการอัณฑะอับชื้นและคัน
- ผู้ที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัด
เนื่องจากกุยช่ายมีสารอัลลิซินและสารอื่นที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานในปริมาณมากก่อนการผ่าตัดอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออก