โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

แพทย์เตือน “เหงื่อออกมากผิดปกติ” เสี่ยงป่วยโรคทางสุขภาพ

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 14 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ศัลยแพทย์ทรวงอกจากศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กล่าวว่า ปกติในช่วงฤดูร้อนหรืออากาศร้อน ร่างกายคนปกจิจะขับเหงื่อออกมา เพื่อช่วยควบคุมอุณหภูมิ แต่สำหรับบางคนอาจมีเหงื่อออกมากเกินความจำเป็นและเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยไม่ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของร่างกาย เรียกว่า “ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ (Hyperhidrosis)” และหลายกรณีเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน

ประเภทของภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ

  • ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติแบบปฐมภูมิ (Primary Focal Hyperhidrosis)

จะมีลักษณะเหงื่อออกมากเฉพาะจุด เช่น ที่มือ รักแร้ และเท้า ภาวะนี้มักเกิดขึ้นเอง โดยไม่มีโรคอื่นเกี่ยวข้อง จะพบได้ประมาณ 1-3 % ของจำนวนประชากร และพบในเด็กชายและเด็กหญิงเท่า ๆ กัน อาการโดยรวมมักจะเริ่มแสดงในวัยเด็กหรือวัยรุ่น

  • ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติแบบทุติยภูมิ (Secondary Hyperhidrosis)

จะมีลักษณะเหงื่อออกมากร่วมกับภาวะทางสุขภาพอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง (Hypertension) หรือ ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism)

อาการของภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ

มีเหงื่อออกมากอย่างต่อเนื่องตลอดเวลายกเว้นตอนนอน และอาการจะแย่ลงเมื่ออยู่ในที่อากาศร้อนหรือเมื่อเด็กเครียด ตำแหน่งที่พบมากสุด ได้แก่ มือและเท้า เด็ก

ส่วนใหญ่มักสังเกตเห็นอาการครั้งแรกเมื่อเหงื่อออกที่มือเริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เขียนหนังสือลำบาก จับกระดาษหรือของใช้แล้วเปียกเหงื่อหรือใช้หน้าจอสัมผัสโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่น ๆ ยากขึ้น และเริ่มรู้สึกอายเมื่อต้องใช้มือหรือเท้า ร่วมทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ

การรักษาภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ

สามารถรักษาได้ตั้งแต่เด็ก โดยมีทางเลือกในการรักษาหลายวิธี ได้แก่

1.การใช้ยาทาภายนอก

2.การใช้ยารับประทาน

3.การฉีดโบท็อกซ์ (Botox)

4.การใช้กระแสไฟฟ้าต่ำเพื่อรักษา (Iontophoresis)

5.การผ่าตัด (Sympathectomy) เป็นการตัดเส้นประสาทที่ส่งสัญญาณไปยังต่อมเหงื่อ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ (เป็นทางเดียวที่หายขาดได้)

6.การผ่าตัดในปัจจุบัน สามารถผ่าตัดผ่านกล้องเล็กเหลือแผลมีขนาด 2-3 มิลลิเมตรเท่านั้น ซึ่งแทบจะมองไม่เห็นแผลเป็น เพื่อทำให้ฟื้นตัวไวและกลับมาใช้ชีวิตใหม่ได้อีกครั้ง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

เปิดพิกัด 5 ที่เที่ยว ตื่นตา"ไดโนเสาร์”สุดว๊าว ตะลุยโลกดึกดำบรรพ์ จูราสสิคเวิลด์

35 นาทีที่แล้ว

น้ำท่วมอุตรดิตถ์ 3 อำเภอ เริ่มคลี่คลาย เร่งสำรวจความเสียหาย

40 นาทีที่แล้ว

'นิด้าโพล' เผย 42.37% ให้ 'แพทองธาร' นายกรัฐมนตรี ประกาศลาออก

56 นาทีที่แล้ว

เช็กพื้นที่ฝนตกหนักวันนี้ 13 กรกฎาคม 2568 จังหวัดไหนบ้างดูเลย

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่นๆ

เตือน ตัดเล็บบ่อยเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคโดยไม่รู้ตัว

News In Thailand

สาววัยแค่ 20 ปี ป่วยสโตรก พูดไม่ได้ สูญเสียการทรงตัว เหตุละเลย 1 สัญญาณเตือนที่มือ ตอนกดโทรศัพท์ แต่คิดว่าไม่เป็นไร

News In Thailand

เตือน! ฝีดาษวานร 2568 แนวโน้มลดลงแต่ไม่ควรประมาท พบผู้ป่วยแล้ว 40 ราย

PPTV HD 36

ศัลยแพทย์ดัง เผย 4 ผงขาว ทำร่างกายพังไม่รู้ตัว

News In Thailand

5 ข้อดีของการคาร์ดิโอ เสริมความแข็งแรงหัวใจและปอด เน้นเผาผลาญแคลอรี

PPTV HD 36

ป้องกันบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาด้วยหลัก P.R.I.C.E ตามเวชศาสตร์การกีฬา

PPTV HD 36

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...