ป้องกันบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาด้วยหลัก P.R.I.C.E ตามเวชศาสตร์การกีฬา
เล่นกีฬาเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ แต่มาพร้อมกับความเสี่ยงที่จะเกิดอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ไม่ว่าจะเป็นจากการล้มการกระแทกหรือการใช้งานกล้ามเนื้อหนักเกินไป หากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้น หรือส่งผลกระทบต่อการเล่นกีฬาในอนาคตได้
วิธีดูแลเบื้องต้นขณะออกกำลังกายตามหลัก P.R.I.C.E
- P = Protection (ปกป้องส่วนที่ได้รับบาดเจ็บ) ป้องกันบริเวณที่อาการบาดเจ็บให้คงสภาพ ป้องกันการกระแทกหรือกระทบกระเทือนเพิ่ม อาจทำได้โดยบุคคลากรทางการแพทย์ ซึ่งใช้ผ้าพัน หรืออุปกรณ์พยุงชั่วคราว
6 เทคโนโลยีทำเลสิก แก้ปัญหาสายตา เลือกแบบไหนให้เหมาะกับคุณ
วิธีดูแลผู้ป่วย “อัลไซเมอร์” อย่างเข้าใจ มีประสิทธิภาพ ลดเครียดผู้ดูแล
- R = Rest (พักการใช้งาน) หยุดการเคลื่อนไหวบริเวณที่บาดเจ็บทันที เพื่อลดอาการบวมและอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักหรือฝืนใช้งานกล้ามเนื้อส่วนนั้น
- I = Ice (ประคบเย็น) ใช้ถุงน้ำแข็ง หรือ Cold Pack ประคบตรงจุดที่บาดเจ็บ ครั้งละ 15-20 นาที ทุก 2-3 ชั่วโมง ในช่วง 48 ชั่วโมงแรก
ข้อควรระวัง: ห้ามประคบเย็นโดยตรงบนผิวหนัง ควรใช้ผ้าห่อก่อนเสมอ
- C = Compression (พันผ้ายืด) ใช้ผ้ายืดพันรอบบริเวณที่บาดเจ็บเพื่อช่วยลดอาการบวม
ข้อควรระวัง: ไม่ควรรัดแน่นเกินไป เพราะอาจทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก
- E = Elevation (ยกส่วนที่บาดเจ็บสูงขึ้น) ยกบริเวณที่บาดเจ็บให้อยู่สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อลดการไหลเวียนของเลือดไปยังจุดที่ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งช่วยลดอาการบวมและเร่งการฟื้นตัว
เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์เวชศาสตร์การกีฬา?
แม้หลัก P.R.I.C.E จะช่วยบรรเทาอาการได้ดี แต่หากอาการบาดเจ็บไม่ดีขึ้นหลังใช้หลัก P.R.I.C.E หรือมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์เวชศาสตร์การกีฬาทันที
- อาการปวดรุนแรงขึ้นแม้จะหยุดพัก
- ข้อบวมผิดปกติข้อผิดรูปหรือขยับไม่ได้
- มีเสียงดัง "กร๊อบแกร๊บ" ขณะบาดเจ็บ
- มีอาการชา หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ไม่สามารถเดินหรือขยับข้อได้ตามปกติ
การดูแลจากแพทย์ ช่วยฟื้นตัวไวขึ้น!
- การใช้ยา:เพื่อลดอาการปวดและลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ
- กายภาพบำบัด:ใช้เทคนิคทางกายภาพเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อและข้อต่อ
- การฉีด PRP Therapy (Platelet-Rich Plasma):เป็นการกระตุ้นการซ่อมแซมเซลล์โดยใช้พลาสมาของผู้ป่วยเอง
- อุปกรณ์พยุงและฟื้นฟู:เช่นสนับเข่า, ผ้ายืด, หรือเฝือกอ่อนตามความจำเป็น
- แนะนำการออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟู:ปรับโปรแกรมออกกำลังกายให้เหมาะสมกับร่างกายและอาการบาดเจ็บ
- การผ่าตัดรักษา:ในรายที่จำเป็นและมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
- การรักษาอย่างเหมาะสม จะช่วยให้คุณกลับมาเล่นกีฬาได้ไวขึ้น และลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บซ้ำ!
ดูแลอาการบาดเจ็บจากกีฬาให้ถูกวิธี ฟื้นตัวเร็ว ป้องกันการบาดเจ็บซ้ำ หากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีสัญญาณเตือนอื่นๆ ให้รีบพบแพทย์เวชศาสตร์การกีฬา การรักษาที่ถูกต้อง ช่วยให้ฟื้นตัวไว และลดโอกาสเกิดการบาดเจ็บเรื้อรัง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโลเกษตร