หุ้นไทยถูกจริง..แต่น่าลงทุนจริงหรือ.!?
สัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นไทยปรับขึ้นกว่า 5%ท่ามกลางปัจจัยความไม่แน่นอนเกี่ยวกับภาษีทรัมป์และเสถียรภาพทางการเมือง รวมถึงภาวะเศษฐกิจที่ชะลอตัว แต่ความน่าสนใจของบริษัทจดทะเบียนลดลงมาก เห็นได้จากผลประกอบการและ Valuation ที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง
ความสามารถการทำกำไรของบจ.ลดลง ส่งผลให้ ROE เฉลี่ยลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดระยะ 20 ปีที่ผ่านมา
ปี 2567 มีเพียง 391 บริษัทจาก 794 บริษัท มีกาไรสุทธิเพิ่มขึ้น (เทียบปีก่อนหน้า) เกินกว่าครึ่งจากทั้งหมดแต่มีบริษัทเพียง 1 ใน 4 (86 บริษัท) ที่ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น..!!??
ขณะที่ Valuationหุ้นไทยอยู่ระดับต่ำและมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ตัวเลขปี 2568 เห็นได้ชัดว่ามีบริษัทกว่า 60% ที่ PBV ต่ำกว่า 1 เท่า สะท้อนความไม่เชื่อมั่นต่อศักยภาพการเติบโตของบริษัทจดทะเบียน..
ช่วงที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นไทย เคลื่อนไหวสอดคล้องกับ Forward EPSโดยดัชนีเฉลี่ยอยู่ที่ 1,200 จุด ขณะที่ Forward EPS เฉลี่ยอยู่ที่ 91.85 บาท
ที่น่าสนใจปัจจุบัน Forward P/Eเฉลี่ยอยู่ที่ 11.63 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรอบ 5 ปี ค่อนข้างมาก จากช่วง 5 ปีค่าเฉลี่ย Forward P/E อยู่ที่ 17.31 เท่า
แต่ที่น่าเป็นห่วงคือการระดมทุนผ่าน IPO รอบ 5 ปี ปรับตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ
จากปี 2564 จำนวน 41 บริษัท มูลค่าระดมทุน 131,296 ล้านบาท, ปี 2565 จำนวน 42 บริษัท มูลค่าระดมทุน 110,688 ล้านบาท ปี 2566 จำนวน 40 บริษัท มูลค่าระดมทุน 40,544 ล้านบาท, ปี 2567 จำนวน 32 บริษัท มูลค่าระดมทุน 25,504 ล้านบาท และครึ่งแรกปี 2568 จำนวน 5 บริษัท มูลค่าระดมทุน 5,760 ล้านบาท
ตัวเลขมูลค่าการซื้อขายตามกลุ่มนักลงทุน นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน พบว่า สถาบันในประเทศ ขายสุทธิ 12,640 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ขายสุทธิ 13,140 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติ ขายสุทธิ 78,246 ล้านบาท มีเพียงนักลงทุนทั่วไปที่ซื้อสุทธิ 104,027 ล้านบาท
สะท้อนให้เห็นว่า..แม้ตลาดหุ้นไทยดูเมือนถูกจริง..แต่ดูเหมือนนักลงทุนยังไม่ค่อยเชื่อมั่นที่จะลงทุนมากนัก..!!
ที่ผ่านมา..ตลท.มีการยกระดับมาตรการฟื้นความเชื่อมั่นนักลงทุน..
-ปรับปรุงและเพิ่มมาตรการกำกับดูแลซื้อขายและการคุ้มครองผู้ลงทุน เช่น Short Sell Uptick, Dynamic Price Band และขึ้นทะเบียน HFT
-ปรับปรุงและเพิ่มเติมเกณฑ์บจ. เช่น คุณสมบัติบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียน
-ผลักดันการปรับปรุงกฎกระทรวงเรื่อง Treasury Stock
-ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลภาคตลาดทุน เช่น การลงนามเอ็มโอยูระหว่างสานักงานปปง. สำนักงานก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์ฯ
-ส่งเสริมการเพิ่มความเท่าเทียมกันในการซื้อขายผ่าน Co-Location
-Capped Weight หุ้นรายตัวในดัชนี SET50/SET100 ไม่เกิน 10%
-จำกัดเฉพาะหุ้น SET100 ที่ผู้ลงทุนกลุ่ม HFT ซื้อขายได้