โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

“วรวงศ์” โต้ “ธาริษา” ปมความเป็นอิสระ ธปท.-ชี้ใกล้รัฐบาลไม่เท่ากับไร้ความน่าเชื่อถือ

สยามรัฐ

อัพเดต 2 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 2 วันที่แล้ว

“วรวงศ์” โต้ “ธาริษา” ปมความเป็นอิสระ ธปท.-ชี้ใกล้รัฐบาลไม่เท่ากับไร้ความน่าเชื่อถือ

วันที่ 10 ก.ค.68 นายวรวงศ์ รามางกูร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ตอบโต้กรณีที่ ดร.ธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2568

นายวรวงศ์ กล่าวว่า ก่อนอื่น ผมต้องขอขอบคุณ ดร.ธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ให้ข้อเสนอแนะ ซึ่งผมเห็นพ้องตรงกันกับท่านว่า ผู้ว่าการ ธปท. ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและเสถียรภาพการเงินของประเทศ จึงต้องพิจารณาคัดเลือกอย่างรอบคอบ แคนดิเดททั้งสองท่านผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการคัดเลือกซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิมากมาย เป็นผู้มีความสามารถดีเยี่ยม ทั้งสองท่านเหมาะสมกับตำแหน่งทุกประการ

“ส่วนตัวผมยึดมั่นในหลักความเป็นอิสระของธนาคารกลางเสมอมา และเชื่อว่าความเป็นอิสระนั้นสามารถเดินร่วมรัฐบาลได้อย่างเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องขัดแย้งกัน” นายวรวงศ์กล่าว

อย่างไรก็ตาม ตนไม่เห็นพ้องด้วยกับบางข้อความในจดหมาย โดยเฉพาะกรณีที่ ดร.ธาริษา ระบุว่า หากผู้ว่าการ ธปท. คนใหม่ “ใกล้ชิดรัฐบาล” จะทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนเสื่อมถอย ซึ่งถือเป็นการตั้งธงข้อสรุปล่วงหน้าโดยขาดหลักฐาน และเป็นการเหมารวมโดยไม่ยุติธรรม

“ความใกล้ชิดกับรัฐบาล ไม่ได้หมายความว่าจะขาดความเป็นอิสระในการดำเนินนโยบายเสมอไป ตัวอย่างเช่น คุณเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท. ท่านปัจจุบัน ก็เคยเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่ยังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับสากลว่าเป็นผู้ดำเนินนโยบายการเงินที่เป็นอิสระจากรัฐบาลอย่างแท้จริง” นายวรวงศ์กล่าว

นอกจากนี้ นายวรวงศ์ยังชี้ว่า การทำงานร่วมกันระหว่าง ธปท. และรัฐบาลภายใต้เป้าหมายเศรษฐกิจร่วมกัน ไม่ได้ลดความเป็นอิสระ หากแต่สามารถส่งเสริมเสถียรภาพเศรษฐกิจและเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้ ปัจจุบัน รัฐบาลนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร มียอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ในปี 2567 สูงถึง 1.13 ล้านล้านบาท และในไตรมาสแรกของปี 2568 ยังเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 97 จากปีก่อนหน้า แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุน หาก ธปท. มีเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับรัฐบาล จะยิ่งเพิ่มความเชื่อมั่นเป็นทวีคูณ

โต้ มายาคติ “ค่าเงินอ่อน-ดอกเบี้ยต่ำ” คือเศรษฐกิจไม่ดี

นายวรวงศ์ยังแสดงความเห็นว่า การยกตัวอย่างของ ดร.ธาริษา ที่มองว่าค่าเงินบาทอ่อนและดอกเบี้ยต่ำสะท้อนภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ เป็นการสร้างมายาคติที่คลาดเคลื่อน พร้อมย้ำว่า ประเทศไทยเป็น “เศรษฐกิจขนาดเล็กและเปิด (Small open economy)” ซึ่งพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวสูง การรักษาอัตราแลกเปลี่ยนให้อยู่ในระดับเหมาะสมจึงเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ขยายตัว

“ประเทศไทยเป็นประเทศขนาดเศรษฐกิจเล็กและเปิด (Small open economy) เงินเฟ้อไทยจึงเกิดขึ้นจากปัจจัยด้านอุปทาน (Supply) ที่มาจากต่างประเทศ เช่น ราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น-ลง ซึ่งอยู่นอกเหนือความสามารถของนโยบายการเงินที่จะควบคุมได้” นายวรวงศ์อธิบายเพิ่มเติม

โดยในอดีต ดร.ธาริษา เคยใช้นโยบายดอกเบี้ยสูงและเงินบาทแข็ง ส่งผลให้ Nominal GDP เติบโตลดลงเหลือเฉลี่ยร้อยละ 3 กว่า ต่อปี เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้าของ ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล ที่เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5 ต่อปี” นายวรวงศ์กล่าว พร้อมระบุว่าเมื่อคิดในรูปของ Real GDP ช่วง ดร.ธาริษา ขยายตัวเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 0.6 ต่อปี ขณะที่สมัย ม.ร.ว.ปรีดียาธร อยู่ที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี ส่วนในปัจจุบันภายใต้รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ทุกไตรมาส

นอกจากนั้น จากข้อมูลพบว่า สมัย ดร.ธาริษา ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการ ธปท. ค่าเงินบาทแข็งค่าจาก 37.66 เป็น 30.55 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่หนี้ครัวเรือนต่อ GDP พุ่งจากร้อยละ 43.5 เป็น 57.9

เศรษฐกิจยังขยายตัวต่อเนื่อง แต่จับตา “เงินเฟ้อติดลบ”

นายวรวงศ์กล่าวอีกว่า เศรษฐกิจไทยยังอยู่ในช่วงขยายตัว โดยตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2567 จนถึงปัจจุบัน มีอัตราการเติบโตต่อเนื่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ติดต่อกัน 3 ไตรมาส และคาดว่าไตรมาส 2 ของปี 2568 ก็จะยังขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากังวลคือภาวะเงินเฟ้อติดลบ ที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง 3 เดือน อยู่ในช่วงระหว่าง -0.57% ถึง -0.22% โดยแม้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (YoY) จะติดลบ แต่เงินเฟ้อพื้นฐานยังเป็นบวกเล็กน้อย และเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปรายเดือนเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM) ยังคงมีลักษณะลดลงสลับกับเพิ่มขึ้นบ้างจึงยังไม่ถือว่าเข้าสู่ภาวะ “เงินฝืด” อย่างสมบูรณ์

ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือนมิถุนายนที่ติดลบถึง -4.0% ประกอบกับความไม่แน่นอนทางการค้าในครึ่งปีหลัง เป็นสัญญาณปัจจัยลบที่ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

“ผมอยากเห็นธนาคารแห่งประเทศไทย พิจารณาผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม เพื่อเปิดโอกาสให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง” นายวรวงศ์กล่าวทิ้งท้าย

#ธนาคารแห่งประเทศไทย #ธปท #ผู้ว่าการธปท #วรวงศ์รามางกูร #ธาริษาวัฒนเกส #เศรษฐกิจไทย #ค่าเงินบาท #เงินเฟ้อไทย #นโยบายการเงิน #BOI #ลงทุนในไทย #ข่าวเศรษฐกิจ #สยามรัฐออนไลน์ #สยามรัฐ

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก สยามรัฐ

คปภ. ผนึกกำลังธุรกิจประกันภัย ร่วมบริจาคโลหิต ตั้งเป้า 10 ล้านซีซี เสริมกำลังเลือดสำรองสภากาขาดฯ ปิติบุญใหญ่ยิ่ง บริจาคโลหิตเพียง 1 ครั้ง สามารถช่วยชีวิตได้ถึง 3 คน

26 นาทีที่แล้ว

กู้ภัยฯใช้ช้อนกินข้าวช่วยเด็กมือติดท่อสระว่ายน้ำย่านตำบลราชาเทวะ

32 นาทีที่แล้ว

รถบรรทุกพ่วงยางระเบิดพุ่งชนท้ายรถเมล์และรถอื่นๆ บนถนนสุขสวัสดิ์เจ็บ 55 คน

37 นาทีที่แล้ว

'บิ๊กต๋อง'เปิดตัวสายตรวจทางอากาศอัจฉริยะในงานประเพณีแห่เทียนพรรษาประจำปี 2568

44 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

Recap ทรัมป์แจกจดหมายภาษี 24 ชาติ ยุโรป-ญี่ปุ่นร้อนตาย บิทคอย์แตะ 116,000 | คุยกับบัญชา | 11 ก.ค. 68

BTimes

SMEs เสี่ยงปิดกิจการต่อเนื่อง เฉลี่ยปิดตัวเพิ่มปีละ 7%

Positioningmag

เอกชนหวั่นภาษีทรัมป์ฉุดส่งออกติดลบชงมาตรการบรรเทาผลกระทบ

The Better

สภาอุตฯ จี้คลังเจรจาลดภาษีสหรัฐ ชง 4 มาตรการด่วนอุ้มผู้ส่งออกไทย

PostToday

ราคาทองวันนี้ (12 ก.ค.) เปิดตลาด ปรับขึ้น 100 บาท/บาททองคำ ราคาทองรูปพรรณ ขายออกบาทละ 52,250

การเงินธนาคาร

ราคาทองวันนี้ 12 ก.ค. ขยับขึ้น 100 บาท ทองรูปพรรณขายออก 52,250 บาท

สยามรัฐ

อัปเดตราคาทองวันนี้ 12 กรกฎาคม 2568

สยามนิวส์

ราคาทองวันนี้ 12 ก.ค. ปรับขึ้น 100 บาท

เดลินิวส์

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...