โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

รองปลัดสธ.ยันดูแลผู้ป่วยในศูนย์พักพิงครบทุกมิติ เผยเสี่ยงปิดบริการทันที

สยามรัฐ

อัพเดต 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วันที่ 27 ก.ค.68 ที่โรงพยาบาลสุรินทร์ นพ.ภูวเดช สุระโคตร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยถึงกระบวนการและขั้นตอนในการรองรับของโรงพยาบาลในพื้นที่แนวปะทะ ว่า กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญในเรื่องการเตรียมความพร้อมให้บริการทั้งในโรงพยาบาลและศูนย์ส่งต่อ รวมถึงในศูนย์อพยพหรือศูนย์พักพิง ได้เตรียมการไว้แล้ว ในการให้บริการกระทรวงสาธารณสุขประชุมร่วมกับฝ่ายความมั่นคง ในพื้นที่ที่ไม่มีความเสี่ยงจะเปิดให้บริการครบถ้วนทุกส่วน แต่ถ้าพื้นที่ที่มีความเสี่ยงหรือเสี่ยงมากขึ้นจะลดการบริการลง และจะย้ายผู้ป่วยที่เคลื่อนย้ายยากไปอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย สำหรับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจะลดบริการลงเปิดเฉพาะส่วนฉุกเฉิน แต่ถ้ามีความเสี่ยงมากจะปิดบริการ ให้หน่วยงานพื้นที่ชั้นในเป็นหน่วยรับส่งต่อ

อีกทั้งมีหน่วยงานภายนอกมาร่วมดูแลด้วย อาทิ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ มูลนิธิจุฬาภรณ์ ที่สนับสนุนบุคลากร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะส่วนการบาดเจ็บที่รุนแรงในหลอดเลือด ส่วนกรมการแพทย์สนับสนุนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือมาสนับสนุนการทำงาน ส่วนการดำเนินงานในพื้นที่มีการจัดเจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลในศูนย์อพยพหรือศูนย์พักพิง ดูแลเรื่องอาหาร สุขาภิบาล นมเด็ก แพมเพิส ส่วนผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วยก็จะมีการแยกออกมา รวมทั้งผู้ที่มีภาวะเปราะบางติดเตียงด้วย กรมสุขภาพจิตจะประเมินตั้งแต่แรก ใครมีสภาวะที่ต้องทำการรักษาหรือฟื้นฟูก็จะมีการให้บริการ

ส่วนโรคระบาดที่อยู่ในศูนย์พักพิงจะมีการแยกออกมารักษาอย่างไร นพ.ภูวเดช เผยว่า กรมควบคุมโรคจะเข้ามาดูแลคัดกรองตั้งแต่แรก มาที่พักพิงจะถูกคัดกรองว่ามีการติดเชื้อหรือติดโรคติดต่อ หากมีความเสี่ยงก็จะแยกออกมาทำการรักษาและมีการสอบสวนโรค และมีการเฝ้าระวัง ส่วนของกลุ่มที่มีความจำเป็นต้องรักษาต่อที่เป็นโรคไตวาย ที่ต้องการฟอกไต มีทั้งเครื่องมือและบุคลากร และรถฟอกไตเคลื่อนที่ ประชาชนที่ต้องรับยาต่อเนื่องก็มีหน่วยบริการหลักให้ยาครบตามจำนวนที่ควรจะได้

เมื่อถามว่า ได้มีการขอกำลังจากพื้นที่ใกล้เคียงบ้างหรือไม่ นพ.ภูวเดช กล่าวว่า ศูนย์อพยพแต่ละจังหวัดยังใช้บุคลากรที่อยู่ภายในจังหวัด มีการบริหารงานการแพทย์เป็นเขตสุขภาพซึ่งแต่ละเขตจะมีการดูแลและส่งอัตราสำรอง ซึ่งได้มีการเตรียมการไว้แล้วหากมีการขยายแนวเขตในพื้นที่เสี่ยง หรือระยะเวลานานขึ้น ได้เตรียมบุคลากรทางการแพทย์จากจังหวัดข้างเคียงที่ไม่มีเหตุการณ์ที่จะเข้ามาเสริม รวมทั้งผู้ป่วยภาวะเครียด มีการพิจารณาให้ยา โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่ได้รับการสูญเสียหรือบาดเจ็บ กลุ่มเปราะบางหรือมีภาวะทางจิตใจ ก็จะมีการเฝ้าระวัง

สำหรับตัวเลขผู้ที่เข้ามารักษาหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้น ตั้งแต่วันแรกมีทั้งประชาชนและทหารที่ได้รับบาดเจ็บทั้งหมดเข้ามาอยู่ในการดูแลของโรงพยาบาล ระยะหลังจะเป็นส่วนของประชาชน อยู่ในสถานะที่เรารับไหวและมีการดูแลอย่างมีคุณภาพ ทุกคนมีความปลอดภัยในพื้นที่

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก สยามรัฐ

ชาวบ้านลุ่มน้ำยม–น่านปลอดภัย! กรมชลฯ ผนึกกำลังควบคุมจราจรน้ำลดผลกระทบ

9 นาทีที่แล้ว

ไทยส่งมอบศพทหารกัมพูชาจำนวน 12 นายกลับแผ่นดินเกิดตามหลักมนุษยธรรม

10 นาทีที่แล้ว

เร่งระบายน้ำ!! กรมชลฯ เฝ้าระวังน้ำยมสุโขทัยยังสูง

19 นาทีที่แล้ว

"รมช.อัครา" กำชับกรมชลฯ บูรณาการบริหารน้ำเป็นระบบ เร่งฟื้นฟู-เยียวยาประชาชน

30 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

ไทยส่งมอบศพทหารกัมพูชา 12 นาย กลับแผ่นดินเกิดตามหลักมนุษยธรรม

สำนักข่าวไทย Online

ชาวบ้านลุ่มน้ำยม–น่านปลอดภัย! กรมชลฯ ผนึกกำลังควบคุมจราจรน้ำลดผลกระทบ

สยามรัฐ

ไทยส่งมอบศพทหารกัมพูชาจำนวน 12 นายกลับแผ่นดินเกิดตามหลักมนุษยธรรม

สยามรัฐ

ฮุน มานี รองนายกกัมพูชา ร่วมพิธีศพ พลตรีดวง ซอมเนียง ผบ.พล.7 ถูกกระสุนปืนใหญ่เสียชีวิต

MATICHON ONLINE

สธ.เผยยอดพลเรือนเสียชีวิต 13 ราย สั่งวางแผนรับอาวุธพิสัยไกล

TNN ช่อง16

เร่งระบายน้ำ!! กรมชลฯ เฝ้าระวังน้ำยมสุโขทัยยังสูง

สยามรัฐ

“น้ำยืน” เสียงปืนใหญ่ดังต่อเนื่อง เพิ่มการลาดตระเวน

สำนักข่าวไทย Online

เจ้าของบ้านผวา งูเหลือมบุกกรงแมว

INN News

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...