“คยปท.” บุกทำเนียบฯ พรุ่งนี้ ร้องแก้ปัญหาราคาปาล์ม ยาง ผวาภาษีทรัมป์ทุบราคาตกต่ำ
นายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางพารา ปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย (คยปท.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า กำลังอยู่ระหว่างการเดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยในวันพรุ่งนี้ (29 ก.ค.68) จะยื่นหนังสือที่ทำเนียบรัฐบาล ถึงนายกรัฐมนตรี และช่วงบ่ายจะเดินทางเข้าพบ ดร.เพิก เลิศวังพง ประธานบอร์ด และรักษาการผู้ว่าการ กยท. ถึงเรื่อง แนวทางแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำกว่าต้นทุนทุนการผลิต มาจากปัญหาเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประเทศไทย กระทบเกษตรกรชาวสวนยางได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา
“ประเทศไทยกำลังเผชิญกับกับกับกับภาษีสหรัฐอเมริกา ในอัตราสูงถึง 36% และหนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูง ซึ่งสมาคมธนาคารไทยได้ระบุว่าเศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับ "วิกฤตช้อนวิกฤต" ดังนั้น คณะกรรมการภาคีเครือข่ายฯ จึงได้จัดการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางแก้ไขวิกฤตการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคส่วนยางพาราที่ต้องแข่งขันกับยางสังเคราะห์ซึ่งสามารถใช้ทดแทนยางธรรมชาติได้เกือบ100% และในปัจจุบันยังมีการขยายพื้นที่ปลูกยางธรรมชาติเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ ส่งผลให้ประเทศไทยมีคู่แข่งในอนาคตเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก คณะกรรมการภาคีเครือข่ายฯ (คยปท.) จึงมีความวิตกกังวลเป็นอย่างยิงและได้พิจารณาแนวทางแก่ไขวิกฤตการณ์นี้เพื่อความอยู่รอดของยาชีพเกษตรกรยางพาราและปาล์มน้ำมัน ดังนั้นข้อเสนอ
การปรับปรงพันธุ์ยางพารามาจากปัญหาเรื่องพันธ์ยางที่ประเทศไทยปลูกอยู่ในปัจจุบันนั้น ประมาณร้อยละ 70 เป็นพันธุ์ RRIM ซึ่งให้ผลผลิตประมาณ 220 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ซึ่งไม่คุ้มค่ากับการลงทุนปลูกยางพันธุ์นี้ ซึ่งประเทศมาเลเซียซึ่งเป็นเจ้าของพันธุ์ รัฐบาลได้ประกาศยกเลิกการส่งเสริมการปลูกพันธุ์นี้มาเกือบ 30 ปีแล้ว แต่ประเทศไทยยังคงมีการปลูกถึงร้อยละ 70 ของพื้นที่ปลูกยางทั้งหมด
ดังนั้นจึงขอให้เร่งรัดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งกำกับดูแลพระราชบัญญัติควบควบคุมยาง พ.ศ. 2542 ตามมาตรา 5 ที่สามารถดำเนินการเปลี่ยนพันธ์ยางได้ ให้เร่งรัดดำเนินการโดยด่วนเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเปลี่ยนมาปลูกยางพันธุ์ PRIT 3904 และ 251 ซึ่งให้น้ำยางสูงถึง 400 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี เพื่อทดแทนยางพันธุ์เก่า ส่วนยางพันธุ์เก่า ทางคณะกรรมการภาคีเครือข่าย (คยปท.) เสนอใช้ "อิทธิพลพลัส" ซึ่งผ่านการวิจัยมาแล้ว ทาบริเวณรอยกรีดยางเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำยางได้อีกหนึ่งเท่าตัว โดยไม่ทำให้เปลือกยางแห้ง และห้ามนำเข้าน้ำยางข้นทุกชนิด เนื่องจากมีผลกระทบต่อราคาในประเทศ
นอกจากประเด็นข้างต้นแล้ว มีปัญหาการจัดเก็บเงินเซสส์ ของการยางแห่งประเทศไทยที่ลดลง อย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ( 2565-2567) รวม 1,106 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์ วิกฤตราคายางที่ทำให้เกษตรกรลดพื้นที่ปลูกยางลงและหันไปปลูกปาล์มน้ำมันและทุเรียนแทน หากสถานการณ์นี้ยังคงดำเนินต่อไปโดยไม่มีการแก้ไข จะส่งผลให้เงินเซสส์ ที่จัดเก็บได้ลดลงจนไม่เพียงพอต่อการบริหารงานตามมาตรา 49 (1)-(6) ของพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558
ด้วยเหตุนี้ทางภาคีเครือข่ายฯ จึงขอเสนอ เพิ่มเติมให้ท่านรัฐมนตรีพิจารณาตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 โดยเพิ่มเติมขอบเขตให้ครอบคลุมถึงปาล์มน้ำมัน และเปลี่ยนชื่อเป็นพระราชบัญญัติยางและปาล์มน้ำมัน แห่งประเทศไทย พ.ศ. …. เพื่อก่อให้การบริหารจัดการพืชเศรษฐกิจทั้งสองชนิดเป็นไปอย่างบูรณาการ และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อต่อไปในอนาคตการแก้ไขปัญหายางพารา และปาล์มน้ำมันจะได้มีเสถียรภาพ เพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตให้แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน