โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

มธ.ชวนขบคิด “Pride” มากกว่าสีสัน และควรเป็นนโยบายที่ปกป้องชีวิตจริง

สยามรัฐ

อัพเดต 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

แม้ขบวนพาเหรด Pride ของกรุงเทพฯ จะกลายเป็นภาพจำที่คุ้นตาในหลายเมืองทั่วโลก แต่ทว่า "เมืองแห่งความหลากหลาย" ไม่ควรถูกนิยามด้วยแสงสีหรือการเฉลิมฉลองเพียงชั่วคราว แต่ควรถูกถามต่อว่า เมืองเหล่านั้นปลอดภัยและเป็นธรรมกับทุกเพศสภาพในชีวิตจริงเพียงใด? อีกทั้งหนึ่งในมุมสำคัญของการสร้าง Pride ที่แท้จริง คือการรับมือกับความรุนแรงและอคติที่ยังฝังแน่นในสังคม แม้จะมีความพยายามผลักดันกฎหมายเท่าเทียม แต่ในทางปฏิบัติ LGBTQ+ ทั่วโลกยังเผชิญความเสี่ยงสูงต่อการถูกละเมิด และถูกทำร้ายมากกว่าคนทั่วไป

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชวนสังคมเปิดมุมมองทั้งในศาสตร์ทางด้านนิติศาสตร์และสถาปัตยกรรมระหว่าง รศ. ดร.อานนท์ มาเม้า อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ และ ผศ. วราลักษณ์ คงอ้วน อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง เพื่อชวนคิดลึกไปกว่างานรื่นเริง ว่าความหมายของ Pride ที่แท้จริงควรฝังอยู่ใน “นโยบายเมือง” ที่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของทุกคนและทุกเพศอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบระบบบริการสาธารณะที่เข้าถึงได้ และความปลอดภัยในชีวิตประจำวันที่เป็นของทุกคน เพราะ “Pride” ที่แท้จริงไม่ควรจำกัดเพียงแค่ในเดือนใดเดือนหนึ่งของปี หากแต่ควรปรากฏอยู่ในทุกก้าวของการใช้ชีวิตที่เปิดกว้าง ยุติธรรม และเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคน

รศ.ดร.อานนท์ มาเม้า กล่าว่า กฎหมายควรเป็นมากกว่าตัวอักษรในกระดาษ หากต้องเป็นเครื่องมือที่ยืนอยู่ข้างประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มักถูกผลักออกจากระบบอย่างเงียบ ๆ เช่น ชุมชน LGBTQ+ หากรัฐธรรมนูญคือสัญญาประชาคมที่กำหนดทิศทางของประเทศ ความเท่าเทียมทางเพศก็ต้องได้รับการยืนยันในทั้งตัวบทกฎหมายและทางการปฏิบัติในหลายกรณี แต่ความเป็นจริงในเมืองไทยวันนี้เผยให้เห็นช่องว่างที่น่ากังวล ระหว่างความก้าวหน้าของสังคมกับการเคลื่อนไหวเชิงนโยบายที่ยังล่าช้าและไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึงสิทธิของกลุ่ม LGBTQ+ ที่แม้รัฐธรรมนูญไทยจะรับรอง “ความเสมอภาค” ไว้ชัดเจน แต่ในทางปฏิบัติกลับมีเพียงไม่กี่กฎหมายที่ลงลึกและปกป้องสิทธิของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศเหล่านี้อย่างแท้จริง

“ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะรัฐไทยยังมีท่าทีรับฟังที่ไม่ทันท่วงทีพอ ในยุคที่พลวัตทางสังคมเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว หลายข้อเสนอเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองของ LGBTQ+ ล้วนเกิดจากแรงผลักดันของภาคประชาชน ไม่ใช่จากความริเริ่มของรัฐ ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อถึงมือผู้มีอำนาจ มักพบกับคำถามที่อิงอยู่กับ “ศีลธรรมอันดี” หรือ “ค่านิยมไทย” ทั้งที่หลักการพื้นฐานในรัฐธรรมนูญเองก็ระบุชัดว่าการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมย่อมขัดต่อหลักความเสมอภาคและศักดิ์ศรีของมนุษย์” รศ. ดร.อานนท์ ตั้งข้อสังเกต

ปัจจุบันแม้จะมีกฎหมายบางฉบับ เช่น พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ที่ใช้มาแล้วกว่า 10 ปี และเคยรับรองสิทธิของบุคลากรข้ามเพศในการแสดงออกตามอัตลักษณ์ แต่ในทางปฏิบัติก็ยังมีปัญหามากมาย เช่น การที่หน่วยงานบางแห่งโต้แย้งคำสั่งของคณะกรรมการ ส่งผลให้สิทธิที่ควรได้รับการคุ้มครองกลายเป็นเรื่องยากลำบากในทางความเป็นจริง อย่างไรก็ดี การปฏิรูปกฎหมายไทยให้ทันกับยุคสมัยจึงต้องไม่หยุดแค่การบัญญัติกฎหมายใหม่ แต่ต้องรวมถึงการทบทวนกระบวนการบังคับใช้และกลไกการรับฟังเสียงของประชาชนอย่างจริงจัง รัฐต้อง “จมูกไว” ต่อสัญญาณและกระแสของสังคม พร้อมเปิดพื้นที่ให้สิทธิของคนทุกกลุ่มสามารถเบ่งบานได้อย่างเป็นธรรม ไม่ใช่เฉพาะในหน้ากระดาษ แต่ต้องจับต้องได้จริงในชีวิตของทุกคน

ผศ.วราลักษณ์ คงอ้วน กล่าวว่า การออกแบบเมืองในมุมของสถาปัตยกรรม ไม่ได้มีเป้าหมายเพียงเพื่อความสวยงามหรือประสิทธิภาพในการใช้งาน แต่ต้องพิจารณาความหลากหลายของผู้คนเป็นหัวใจสำคัญ องค์ประกอบพื้นฐานของเมือง เช่น โครงสร้างพื้นฐาน ระบบคมนาคม พื้นที่สาธารณะ หรือสภาพแวดล้อม ต้องตอบโจทย์ผู้ใช้งานในทุกมิติ ทั้งด้านเพศสภาพ วัย ความสามารถทางร่างกาย และฐานะทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เมืองเป็นสถานที่ที่ใครก็อยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบทางลาดสำหรับผู้ใช้วีลแชร์ การจัดแสงสว่างที่เพียงพอเพื่อความปลอดภัย หรือแม้แต่ที่นั่งในสวนสาธารณะที่คำนึงถึงผู้สูงอายุ ทุกองค์ประกอบล้วนสะท้อนแนวคิด “การเข้าถึงได้ ความปลอดภัย และความเท่าเทียม” อย่างแท้จริง

เมืองที่ดีเริ่มต้นจากการวางผังเมืองที่คำนึงถึงความหลากหลาย ไม่ใช่แค่การจัดการพื้นที่ให้เหมาะกับการใช้ประโยชน์ แต่ต้องเปิดโอกาสให้ทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงทรัพยากรของเมืองได้อย่างเท่าเทียม เพราะเมื่อเราพูดถึงความยั่งยืน เราไม่ได้พูดถึงแค่สิ่งแวดล้อม แต่พูดถึงชีวิตของคนทุกกลุ่มที่ต้องเติบโตไปพร้อมกันในเมืองเดียวกัน อย่างกรณี การออกแบบพื้นที่สาธารณะ เช่น ห้องน้ำทุกเพศ หรือห้องสมุดชุมชน ให้ตอบโจทย์ความหลากหลายโดยไม่ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึก “ถูกแยก” หรือ “ถูกตีตรา” นั้น เป็นโจทย์ละเอียดอ่อนที่ต้องอาศัยความเข้าใจบริบททางสังคมและวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง อย่างไรก็ตาม การจะออกแบบให้ “แยกให้เห็น” อย่างเคารพความแตกต่าง ขณะเดียวกันก็ “รวมให้กลมกลืน” อย่างไม่ทำให้ใครรู้สึกเป็นอื่น จำเป็นต้องเริ่มจากการเรียนรู้พื้นที่และชุมชนนั้นอย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่การวางผังให้สวยงาม แต่ต้องเข้าใจว่าคนในพื้นที่พร้อมหรือไม่ พร้อมอย่างไร และต้องการสิ่งใดจริง ๆ

ตัวอย่างเช่น ห้องน้ำทุกเพศที่ดูเผิน ๆ อาจเป็นทางออกที่ inclusive แต่หากไม่คำนึงถึงจำนวน ความปลอดภัย หรือความสะอาด ก็อาจกลายเป็นจุดเปราะบางที่ลดคุณภาพชีวิตมากกว่าจะสร้างความเท่าเทียม การออกแบบที่ดีจึงต้องวางอยู่บนฐานของ ฟังก์ชันที่ชัดเจนและไม่ละเลยหน้าที่ดั้งเดิมของพื้นที่นั้น เช่น ห้องน้ำต้องปลอดภัย สะอาด เข้าถึงง่าย ไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำชาย หญิง หรือแบบไม่ระบุเพศ ขณะที่ห้องสมุดก็ต้องมีบรรยากาศสงบ เงียบ มีพื้นที่สำหรับเด็ก ผู้สูงวัย หรือกลุ่มผู้ใช้งานเฉพาะ โดยไม่แยกออกจนทำให้ใครรู้สึกว่า “ไม่ใช่พื้นที่ของฉัน”

“ในมุมของสถาปัตย์ ความหลากหลายทางเพศอาจไม่ใช่ปัจจัยหลักในการออกแบบเชิงกายภาพ แต่เป็นสิ่งที่ต้องแทรกอยู่ในวิธีคิดและกระบวนการออกแบบอย่างแยบยล นักออกแบบจึงไม่ใช่แค่ผู้ออกแบบรูปทรงหรือวัสดุ แต่ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี เป็นนักแปลความต้องการของสังคม และเป็นผู้ประสานระหว่าง “ความเป็นจริง” กับ “อุดมคติ” ให้เกิดสมดุลระหว่างสิ่งที่คนต้องการ กับสิ่งที่เมืองควรมี โดยไม่ปล่อยให้ใครต้องถูกมองข้ามในพื้นที่ที่ควรเป็นของทุกคน” ผศ.วราลักษณ์ กล่าว

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก สยามรัฐ

"บิ๊กโต๋" สั่งตรวจสอบข้อเท็จจริงชาวอังกฤษ ผู้ต้องหาคดีลักลอบขนยาเสพติด

18 นาทีที่แล้ว

“เอกนัฏ” การันตีคุณภาพ “โฮมสเตย์ไทย” รองรับการท่องเที่ยววัฒนธรรมท้องถิ่น กระตุ้นเศรษฐกิจเมืองรอง

18 นาทีที่แล้ว

จัดอย่างใหญ่! "โคราชมาราธอน 2025" สนามวิ่งมาตรฐานโลก บนเส้นทางแลนด์มาร์คเมืองย่าโม 16 พ.ย.นี้

20 นาทีที่แล้ว

เสาร์ที่ 5 นี้ พบกับอาการตกหลุมรักครั้งแรกของใครบางคน ในซีรีส์ #BFriendSeries

20 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

ตม.ยันไม่มีเจ้าหน้าที่บังคับสาวให้ลอบขนยาเสพติดไปจอร์เจีย

สำนักข่าวไทย Online

เปิดภาพเส้นทางมรสุมเข้าไทย รับมือฝนตกหนัก เตือน 12 จังหวัด ต้องระวัง

มุมข่าว

กทพ. แจ้งปิดช่องเก็บค่าผ่านทางพิเศษทางขึ้น ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษสุขุมวิท เพื่อดำเนินงานติดตั้งระบบทางข้ามอัจฉริยะ วันที่ 3 - 6 ก.ค. 2568 ช่วงเวลา 21.00 - 04.00 น.

สวพ.FM91

“กัมพูชา” เปิดรายได้ “นครวัด” โวครึ่งปีแรกทะลุ26ล้านดอลลาร์แล้ว!

เดลินิวส์

ชัวร์ก่อนแชร์ : Over Sharing แชร์เวอร์ อาจเจอดี !

ชัวร์ก่อนแชร์

ชาวเว็บตูนเศร้า ‘Kakao Webtoon’ ประกาศยุติให้บริการ 1 ส.ค. 69 นี้

เดลินิวส์

‘AirPods’ หายที่ดูไบ แต่เจอที่ปากีฯ หนุ่มยูทูบเบอร์วัย 24 ปี บินตามถึงบ้านขโมย!

Khaosod

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ สภาพอากาศพรุ่งนี้ ฝนถล่มหนัก 3 ภาคอ่วม เปิดชื่อ 53 จังหวัดโดนเต็มๆ

Khaosod

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...