โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ผู้ส่งออกไทยเร่งรัฐเจรจาลดภาษีทรัมป์ หลังส่งผลกระทบการส่งออก 2 ล้านล้านบาท แนะใช้เวียดนามโมเดล

สยามรัฐ

อัพเดต 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ผู้ส่งออกไทยเร่งรัฐเจรจาลดภาษีทรัมป์ หลังส่งผลกระทบการส่งออก 2 ล้านล้านบาท แนะใช้เวียดนามโมเดล

วันที่ 9 ก.ค.68 สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) จัดส่งข้อเสนอแนะแนวทางการเจรจาและมาตรการรับมือกรณีสหรัฐฯ เตรียมเรียกเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariff) จากไทยในอัตรา 36% ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.68 ไปให้กระทรวงพาณิชย์ และทีมไทยแลนด์นำไปใช้ในการเจรจาต่อรอง โดยหวังผลเจรจาต่อรองจะสามารถลดการเรียกเก็บภาษีในอัตราไม่เกิน 20% เท่ากับประเทศคู่แข่ง

นายธนากร เกษตรสุวรรณ ประธาน สรท. กล่าวว่า ได้ส่งข้อเสนอแนะไปให้ทางกระทรวงพาณิชย์ที่เป็นฝ่ายปฏิบัติการ และทีมไทยแลนด์ที่มีนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เป็นหัวหน้าทีม เป็นเรื่องที่ท้าทายและหวังว่าครั้งนี้จะสามารถปิดดีลได้เรียบร้อยภายในวันที่ 1 ส.ค.68 เพื่อให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ เนื่องจากสินค้าไทยที่ส่งไปสหรัฐฯ จะถูกเรียกเก็บในอัตรา 36% สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้ต้นทุนส่งออกสินค้าไทยไปยังสหรัฐฯ สูงขึ้นจนไม่สามารถแข่งขันได้ ซึ่งจะกระทบการส่งออกของไทยไปยังสหรัฐฯ ที่มีมูลค่าราว 2 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 20% ของการส่งออกทั้งหมดของประเทศไทย

โดยสินค้าที่ไทยจะเสียเปรียบคู่แข่งมากที่สุด ประกอบด้วย เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อาหารสำเร็จรูป ข้าว ยางพาราและผลิตภัณฑ์ และสินค้าอุปโภคบริโภคอื่น เป็นต้น ซึ่งหลายอุตสาหกรรมใช้แรงงานเข้มข้นที่อาจนำไปสู่การเลิกจ้างแรงงานจำนวนมาก รวมถึงสินค้าเกษตรหลายรายการจะไม่สามารถแข่งขันได้ จะมีผลให้เกิดแรงกดดันต่อราคาผลผลิตภายในประเทศและกระทบต่อรายได้เกษตรกรและครัวเรือนไทยจำนวนมากในที่สุด ซึ่งสะท้อนถึงโอกาสที่ปัญหาจะขยายวงกว้างออกไปไม่เพียงแต่ภาคการผลิตเพื่อส่งออกเท่านั้น แต่การลงทุนจากต่างประเทศจะลดลงอย่างมากในช่วงหลายปีต่อจากนี้ ซึ่งทำให้ระบบเศรษฐกิจในประเทศเกิดภาวะชะงักงัน และไม่สามารถแข่งขันทางการค้ากับคู่แข่งสำคัญได้อีกในระยะยาว

นายสุภาพ สุวรรณพิมลกุล รองประธาน สรท. กล่าวว่า การเจรจาเรื่องนี้คงต้องใช้เวียดนามโมเดลที่สามารถปิดดีลไปได้แล้ว ดังนั้นในการเจรจารอบนี้จะต้องให้ได้ข้อยุติ เพราะคงไม่มีโอกาสที่จะเจรจารอบที่สามอีกแล้ว การต่อรองครั้งนี้เพื่อแลกกับยอดเกินดุล 4 หมื่นล้านดอลลาร์ถือว่าคุ้มค่า เพราะจะครอบคลุมทั้งเรื่องการค้าและการลงทุน ถึงแม้จะมีผู้ที่ได้รับผลกระทบตามมาก็ตาม แต่ภาครัฐก็ต้องมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาต่อไป หากเราถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราที่สูงกว่าคู่แข่ง นักลงทุนก็จะย้ายไปที่อื่น ทั้งที่เป็นรายใหม่และรายเดิม หากภาครัฐให้การสนับสนุนผู้ประกอบการในเรื่องสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง ก็จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถประคองธุรกิจต่อไปได้ แม้การผลิตจะไม่มีกำไรหรือขายขาดทุน แต่ยังสามารถหล่อเลี้ยงให้เกิดการจ้างงาน และรักษาออเดอร์เอาไว้ ถ้ามีสายป่านยาวพอที่จะเลี้ยงธุรกิจให้ไปต่อได้ก็เป็นอีกทางออกหนึ่งที่สำคัญ

นายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร สรท. กล่าวว่า กรณีนี้ส่งผลกระทบในวงกว้าง ไม่ใช่แค่เรื่องการส่งออกเท่านั้น แต่จะกระทบไปถึงเรื่องอื่น ๆ ด้วย เช่น การจ้างงาน การลงทุน ถึงแม้ประธานาธิบดีทรัมป์จะหมดวาระการดำรงตำแหน่งไปแล้วก็ตาม ปัญหาก็ไม่ได้หมดไปทันที การเรียกเก็บภาษีในอัตราที่สูงครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในวงกว้าง ทั้งด้านการค้าการลงทุน ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูอย่างน้อย 5-10 ปี

สำหรับข้อเสนอของ สรท.ครั้งนี้ประกอบด้วย

1.ข้อเสนอสำหรับการเจรจาลดอัตราภาษีกับสหรัฐฯ

- สนับสนุนการปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐอเมริกาเป็น 0% ให้มากที่สุด โดยเฉพาะในรายการสินค้าที่ไทยสามารถยอมรับได้

- ขยายเวลาการให้สิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมการลงทุนสำหรับการลงทุนทางตรง (FDI) จากสหรัฐฯ

- เร่งจัดซื้อสินค้ากลุ่มพลังงานจากสหรัฐฯ ให้มากขึ้นแทนการซื้อจากแหล่งอื่น

2.ข้อเสนอสำหรับการหาตลาดศักยภาพอื่นทดแทน

- สนับสนุนงบประมาณในปี 2569-2570 สำหรับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ทั้งในต่างประเทศ อาทิ การพาผู้ประกอบการไปเข้าร่วมออกงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ และการจัดกิจกรรม Business Matching และในประเทศ อาทิ กิจกรรม Incoming Mission ให้มากขึ้นและต่อเนื่อง

- เพิ่มงบประมาณโครงการ SMEs Proactive ให้ผู้ประกอบการส่งออก SMEs สามารถบุกตลาดอื่นได้มากขึ้น โดยเฉพาะในงานแสดงสินค้าที่ภาครัฐไม่สามารถพาผู้ประกอบการไทยไปเข้าร่วม

- ร่วมมือกับสถาบันการเงินของรัฐ เช่น ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สำหรับจัดหาวงเงินหมุนเวียนและสนับสนุนค่าธรรมเนียมป้องกันความเสี่ยงทางการค้าในการบุกตลาดใหม่ และ 2.4) เร่งรัดการเจรจาการค้าเสรีทุกกรอบที่อยู่ระหว่างการเจรจาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว รวมถึงเพิ่มเติมการเจรจากับคู่ค้าสำคัญอื่นเพิ่มเติม และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3.ข้อเสนออื่นเพิ่มเติม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออก และเพื่อปกป้องผู้ประกอบการในประเทศจากการนำเข้าสินค้าแหล่งอื่น

3.1 ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน พิจารณาเงื่อนไขการปรับลดต้นทุนให้ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ

- เร่งหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อลดต้นทุนและบรรเทาภาระหนี้จากการประกอบธุรกิจ และดำเนินมาตรการกำกับดูแลค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับอ่อนค่าเมื่อเทียบกับคู่แข่งสำคัญ เป็นต้น

- พิจารณาชะลอการขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำและปรับลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ อาทิ ค่าไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง และต้นทุนโลจิสติกส์เพื่อการส่งออก

- พิจารณานำต้นทุนค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทั้งการนำเข้าวัตถุดิบและการส่งออกสินค้า อาทิ ค่าระวาง ค่าประกันภัยการขนส่งสินค้า และค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม หักภาษีได้ 200% จากที่จ่ายจริง

- เร่งรัดกระบวนการคืนภาษีธุรกิจ อาทิ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม อากรวัตถุดิบนำเข้าที่ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ภาษีสรรพสามิตที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้า เป็นต้น รวมถึงการลดค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นจากการขออนุญาตและการดำเนินการในขั้นตอนการส่งออกให้กับผู้ประกอบการ พร้อมทั้งพัฒนาระบบ Digitalization ตลอดกระบวนการส่งออกนำเข้าให้มีความสมบูรณ์

3.2 เพิ่มความเข้มงวดมาตรการปรามการนำเข้าสินค้าไม่ได้มาตรฐานที่เข้ามาตีตลาดในประเทศ และสินค้าสวมสิทธิ์

- เริ่มบังคับใช้กฎ 24 Hours Rule เพื่อให้สินค้าที่จะส่งออกมายังประเทศไทย ต้องแจ้งข้อมูลล่วงหน้า 24 ชั่วโมง ก่อนบรรทุกสินค้าลงเรือ ณ ท่าเรือต้นทาง

- ตรวจสอบสินค้านำเข้า และสินค้าที่ผ่านเขตปลอดอากร 100% เพื่อป้องกันสินค้าด้อยคุณภาพเข้าประเทศ เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์ส่งออก และเพื่อป้องกันสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานที่กำหนดโดยประเทศปลายทางแล้วตกค้างในประเทศไทย

- เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้านำเข้าและคัดกรองสินค้าด้อยคุณภาพ เพื่อคุ้มครองทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการในประเทศ โดยสินค้านำเข้าและโรงงานผู้ผลิตต้องได้รับการรับรองมาตรฐานของประเทศไทยก่อนบรรทุกลงเรือมายังประเทศไทย

- ผู้ส่งออกจากต่างประเทศที่ขายสินค้าผ่านช่องทาง E-Commerce Platform ต้องระบุตัวตนและตรวจสอบโดย Platform ให้ชัดเจน และไม่มีร้านค้าที่ขายสินค้ารายการเดียวกันซ้ำซ้อนกัน เป็นต้น

#ผู้ส่งออกไทย #ภาษีทรัมป์ #ข่าววันนี้ #ภาษีสหรัฐ #สยามรัฐ #สยามรัฐออนไลน์

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก สยามรัฐ

ทล.เปิดทดลองวิ่งมอเตอร์เวย์ M81 วันที่ 10-14 ก.ค.68 อำนวยความสะดวกปชช.ช่วงวันหยุดยาว

30 นาทีที่แล้ว

ปตท. มอบเงิน 25 ล้าน สนับสนุน "ส.กีฬาฟุตบอลฯ"

40 นาทีที่แล้ว

‘ทักษิณ’ บอก ‘ฮุน เซน‘ ลืมชื่อกันไปแล้ว เชื่อ คลิปหลุดตั้งใจอัด โอด‘น่าเจ็บใจทำได้ยังไง’ มอง ไม่ได้ทำลายเราแต่ทำลายตัวเอง

45 นาทีที่แล้ว

"เดลินิวส์ คัพ 2025" บู๊กันดุเดือด! "ราชสีมาวิทยาลัย" เฉือนชนะ "กีฬาเทศบาลนครนครสวรรค์" หวุดหวิด 2-1 "สวนกุหลาบ" คืนฟอร์มเก่งเชือด "โพธินิมิต" คว้า 3 แต้มแรก

50 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

ดั่งต้องมนต์เมืองอุบลฯ ททท.จัดงานวิจิตร หนุนไทยเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวภูมิภาค

MATICHON ONLINE

Broker ranking 9 Jul 2025

Manager Online

Charles House Flow น้ำแร่ขวดหรู ดูแพงแต่แฝงความประหยัด แถมเมดอินสุรินทร์

SMART SME

“ทักษิณ’ ชี้คุยภาษีสหรัฐฯ เวลายังไม่หมด หาทางต่อได้ ลั่นเราขอความแฟร์ แนะใจเย็นๆ

สยามรัฐ

“ทักษิณ” ยอมรับช็อกฮุนเซนปล่อยคลิปเสียง มองไทย-กัมพูชา ไม่อยู่ในสถานะประกาศสงครามต่อกัน

การเงินธนาคาร

"รมว.คลัง" สั่งเอกชนทำการบ้าน เจาะผลกระทบภาษีสหรัฐ พร้อมมาตรการรองรับ ส่ง 11 ก.ค.นี้

สยามรัฐ

กรมพัฒนาที่ดิน ผนึก 5 หน่วยงาน ผลิตน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำ หวังตัดวงจรการระบาด

MATICHON ONLINE

EA ฉลุย! ผู้ถือหุ้นกู้ 9 รุ่น อนุมัติขยายระยะเวลาไถ่ถอนออกไป 5 ปี

PostToday

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...