โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สังคม

อนาคตเด็กไทย ถูกจำกัดด้วยฐานะทางการเงิน

Reporter Journey

อัพเดต 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Reporter Journey

ในขณะที่โรงเรียนนานาชาติผุดขึ้นทั่วกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ๆ พ่อแม่ต่างแข่งขันกันส่งลูกเข้าเรียนหลักสูตรที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ เพราะเขาต้องการที่จะมอบโอกาสที่ดีที่สุดให้ลูก ให้ลูกได้รับโอกาสที่พวกเขาไม่เคยมี พวกเขายอมเสียเงินหลักแสนต่อปีให้กับการศึกษาของลูก แต่อีกฟากหนึ่งของสังคม กลับยังมีเด็กจำนวนมากที่แม้แต่โอกาสจะเรียนจบมัธยมปลายยังเป็นเรื่องยากเกินเอื้อม

นี่คือช่องว่างที่เห็นได้ชัดในสังคมไทย เด็กที่ครอบครัวสามารถจ่ายค่าเทอมหลักแสนต่อปี เทียบกับเด็กในพื้นที่ชนบทที่ต้องดิ้นรนกับค่าชุดนักเรียนและอาหารกลางวัน

ประเทศไทยกับระบบการศึกษาที่ไม่ทั่วถึง

แม้ว่าการศึกษาไทยจะถูกกำหนดให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่เด็กทุกคนควรได้รับ แต่สถิติจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ระบุว่ามีเด็กจำนวนไม่น้อยที่หลุดออกจากระบบการศึกษาหลังจากจบมัธยมต้น ปัญหานี้ไม่ได้เกิดจากความไม่ใส่ใจของเด็กหรือผู้ปกครองเพียงอย่างเดียว แต่มีรากลึกมาจาก ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และระบบสนับสนุนที่ไม่มีประสิทธิภาพ

รายงานสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาปี 2567 ระบุว่า มีนักเรียน “ยากจนพิเศษ” มากถึง 1.3 ล้านคน โดยรายได้เฉลี่ยของครอบครัวเด็กยากจนพิเศษนี้อยู่ที่เพียง 1,133 บาท/เดือน หรือประมาณ 37 บาท/วัน เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าค่าครองชีพขั้นต่ำอย่างมาก

ปัจจัยนี้ส่งผลให้เด็กในครอบครัวที่ขาดแคลนมีโอกาสสูงที่จะต้องออกจากโรงเรียนก่อนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะครอบครัวไม่สามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายได้ แม้ว่าจะมีโครงการเรียนฟรี แต่ค่าใช้จ่ายอย่างค่าเดินทาง ค่าอาหารกลางวัน และอุปกรณ์การเรียน ยังคงเป็นภาระหนักสำหรับผู้ปกครอง

เมื่อความอยากจนส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น

สถิติระบุว่า 60.45% ของผู้ปกครองนักเรียนยากจนพิเศษจบแค่ระดับประถมศึกษา หมายความว่าคนรุ่นพ่อรุ่นแม่เองก็เคยประสบปัญหาเดียวกันมาก่อน เมื่อพวกเขาขาดโอกาสทางการศึกษา ส่งผลให้พวกเขามีอาชีพที่มีรายได้ต่ำ ทำให้ลูกหลานไม่มีต้นทุนในการศึกษาต่อ สิ่งนี้เรียกว่า “ความยากจนข้ามรุ่น” ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจไทยติดอยู่ใน “กับดักรายได้ปานกลาง”

ตรงกันข้ามกับหลายประเทศที่เคยมีระดับเศรษฐกิจใกล้เคียงกับไทย เช่น สิงคโปร์ และไต้หวัน สามารถก้าวไปเป็นประเทศพัฒนาแล้วได้ เพราะพวกเขาลงทุนในระบบการศึกษา และพัฒนาแรงงานอย่างต่อเนื่อง

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลย คือประเทศสิงคโปร์ จากประเทศเกาะเล็กๆ ที่ไร้ทรัพยากร สิงคโปร์เลือกลงทุนกับสิ่งที่มีค่าที่สุดนั่นคือ ”ทรัพยากรมนุษย์” พวกเขาปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง บังคับเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่อนุบาล และออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจโลก ทำให้แรงงานของประเทศสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้

ทำไม “บัตรประชาชน” อาจเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหา ?

หนึ่งในแนวทางสำคัญที่จะช่วยให้เด็กได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน คือ การใช้ระบบข้อมูลกลางผ่านบัตรประชาชน

หากรัฐบาลสามารถเชื่อมโยงข้อมูลของเด็กแต่ละคนผ่านบัตรประชาชน และใช้ระบบฐานข้อมูลที่ครอบคลุมทุกด้าน เช่น สถานะของครอบครัว ผลการเรียน และความช่วยเหลือที่ได้รับจากรัฐ ระบบนี้จะช่วยให้สามารถติดตามเด็กที่มีความเสี่ยงจะหลุดออกจากระบบการศึกษา และให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันที

ระบบบัตรประชาชนที่เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลการศึกษา จะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถคัดกรองเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือได้อัตโนมัติ แทนที่จะรอให้ผู้ปกครองหรือเด็กมาสมัครขอทุนเอง ซึ่งจะช่วยลดภาระของครอบครัวที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้

นอกจากนี้ หากเชื่อมโยงระบบการศึกษากับข้อมูลสุขภาพและสวัสดิการรัฐ จะช่วยให้สามารถสนับสนุนเด็กได้ในทุกมิติ ไม่ใช่แค่เรื่องการศึกษา แต่รวมถึงการดูแลสุขภาพ อาหารกลางวัน และการช่วยเหลือด้านอื่นๆ ที่จำเป็น

ไทยจะก้าวไปข้างหน้าหรือจะปล่อยให้เด็กจำนวนมากติดอยู่ในวังวนของความยากจน?

หากประเทศไทยยังปล่อยให้เด็กจำนวนมากต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาเพียงเพราะ "ความยากจน" ปัญหานี้จะไม่ใช่แค่เรื่องของเด็กเพียงคนเดียว แต่จะเป็นโดมิโนที่ล้มต่อกันไปถึงเศรษฐกิจ แรงงาน และอนาคตของทั้งประเทศ

ลองนึกภาพว่า ถ้าเราสามารถปฏิรูประบบการศึกษา ทำให้เด็กทุกคนเรียนต่อได้จนถึงระดับมัธยมปลายหรือปริญญาตรีได้ พัฒนาแรงงานให้มีทักษะที่ตลาดต้องการ ประเทศไทยจะไม่ใช่เพียงแค่ประเทศที่มีแรงงานราคาถูกอีกต่อไป แต่เราจะมีแรงงานที่แข่งขันกับนานาชาติได้ และที่สำคัญ เราจะสามารถ "ก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง" ได้อย่างแท้จริง

แต่ถ้าเรายังปล่อยให้ช่องว่างทางการศึกษากว้างขึ้นเรื่อยๆ ปล่อยให้เด็กบางคนต้องเดินออกจากห้องเรียนเพราะพ่อแม่ไม่มีเงินซื้อชุดนักเรียน ไม่มีเงินสำหรับค่าเดินทางให้ลูกนั่งรถไปเรียน นั่นคือสังคมที่เราอยากเห็นจริงหรือ?

เราจะต้องทนเห็นเด็กอีกกี่คนที่ต้องเลือกระหว่าง “เรียนต่อ” หรือ “ออกไปช่วยพ่อแม่ทำงานดี”?

นี่คืออนาคตของประเทศไทยที่เรากำลังค่อย ๆ ก้าวเดินเข้าไปหา อนาคตที่เด็กไทยเกิดน้อยลง จำนวนนักเรียนลดน้อยลง แต่ธุรกิจโรงเรียนนานาชาติและจำนวนนักเรียนนานาชาติค่อย ๆ ปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางสถานการณ์ที่เด็กไทยหลายคนหลุดจากระบบการศึกษา

อ้างอิง
Thaipublica
รายงานฉบับพิเศษ สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาปี 2567 และทิศทางสำคัญในปี 2568

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Reporter Journey

เจรจาระหว่าง ญี่ปุ่น-สหรัฐฯ อาจถึงทางตัน

9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

จีนกลายเป็นเบอร์ 1 ท่องเที่ยวของชาวเกาหลีใต้ ถีบไทยรั้งท้าย

10 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสังคมอื่น ๆ

มอบ ‘จิราพร‘ เข้าร่วมประชุมผู้นำ BRICS ครั้งที่ 17 ที่ประเทศบราซิล 6-7 ก.ค. นี้

สวพ.FM91

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัย! ระวังมิจฉาชีพแอบอ้าง “เที่ยวไทยคนละครึ่ง 2568” ส่ง SMS หลอกขอ OTP

สวพ.FM91

‘อย.’ ผนึกกำลัง 3 ยักษ์ อี-คอมเมิร์ซ เปิดตัว API – AI กวาดจับผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายออนไลน์

เดลินิวส์

ขับรถหนีด่าน!! ถูกตามรวบพร้อมของกลางยาบ้า-ไอซ์ รับสารภาพเสพยาก่อนขับ

77kaoded

กล้องจับภาพ หนุ่มเครียดเรื่องงาน ส่งข้อความลาเมีย โดดสะพาน

สยามนิวส์

เร่งพิสูจน์ร่างคนจีน ตกตึก 6 ชั้นดับสยอง หลังเกิดคนจีนเผ่นหนีออกทั้งตึก ตรวจสอบชั้น 6 ทั้งชั้น คล้ายกับฐานปฏิบัติการแก๊งคอลเซ็นเตอร์

สยามนิวส์

แต่งงานกับพี่ได้ไหมคะ พี่อยากใช้ชีวิตกับน้องตลอดไปแล้ว ประโยคขอแต่งงานโปรต้า ขอ ครูเบียร์ ความรักสุกงอม

สยามนิวส์

ตำรวจพัทยาวุ่น! พบศพชายจีนตกตึกดับสยอง คาดเกี่ยวข้องแก๊งคอลเซ็นเตอร์

77kaoded

ข่าวและบทความยอดนิยม

พ่อแม่ทั่วโลกอยากมีลูกสาวมากขึ้น เกิดอะไรกับลูกชายในยุคสมัยนี้ ?

Reporter Journey

‘มุมมืด’ ชีวิตเด็กฮ่องกง

Reporter Journey

เรื่องจริงไม่เหมือนในมังงะ เด็กที่ญี่ปุ่นกำลังเข้าถึงกีฬาน้อยลงเรื่อยๆ

Reporter Journey
ดูเพิ่ม
Loading...